สาเหตุของโรค?
ไม่ใช่ความผิด หรือเพราะพฤติกรรมของว่าที่คุณแม่ แต่เพราะ “รก” ผลิตฮอร์โมนมาทำให้ร่างกายดื้อต่ออินซูลิน ซึ่งอินซูลินนี้จะทำหน้าที่ลดระดับน้ำตาลในเลือด ดังนั้น ยิ่งรกโตขึ้น อายุครรภ์มากขึ้น ระดับน้ำตาลในเลือดก็จะยิ่งสูงขึ้นตาม
ผลกระทบต่อแม่และลูก?
ทำให้คุณแม่เสี่ยงต่อภาวะภาวะแท้งคุกคาม ภาวะครรภ์เป็นพิษ ภาวะคลอดติดไหล่ และเสี่ยงเป็นเบาหวานหลังคลอดต่อไป ส่วนลูกน้อยในครรภ์ ก็เสี่ยงมีน้ำหนักน้อยหรือมากผิดปกติ มีภาวะน้ำตาลต่ำในทารกแรกเกิด และเสี่ยงต่อโรคอ้วนและเบาหวานได้
รักษาได้ไหม?
รักษาได้ ด้วยการดูแลใน 3 ส่วน คือ
- คุมอาหาร : คุมอาหารกลุ่มแป้งอย่างถูกวิธี โดยไม่ใช่อดแป้ง แต่ควรเลือกแป้งที่มีดัชนีน้ำตาลต่ำ และกำหนดสัดส่วนแป้งในแต่ละมื้อให้พอดีกับความต้องการของร่างกาย
- ตรวจน้ำตาล : ให้ตรวจน้ำตาลปลายนิ้วด้วยตนเองอย่างสม่ำเสมอ โดยควรอยู่ในระดับ 70-95 มก./ดล. ก่อนอาหาร และระดับ 110-140 มก./ดล. หลังรับประทานอาหาร 1 ชม.
- ฉีดยาอินซูลิน : โดยให้ฉีดอย่างต่อเนื่อง เพื่อรักษาระดับน้ำตาลในเลือดให้ปกติ และปรับยาอย่างสม่ำเสมอตามนัด ภายใต้การแนะนำของแพทย์
บทความโดย พ.ญ.นิษฐา ปรุงวิทยา อายุรแพทย์โรคต่อมไร้ท่อฯ (เบาหวาน) แพทย์เฉพาะทาง บนแอปฯ หมอดี
แม้การเป็นเบาหวานระหว่างตั้งครรภ์จะก่อให้เกิดความเสี่ยงได้ทั้งกับแม่และเด็ก แต่ก็มักหายได้หลังคลอด เพียงแต่ต้องการการควบคุมให้อยู่ในเกณฑ์ที่ดีระหว่างตั้งครรภ์ โดยอาศัยการตรวจติดตามสม่ำเสมอ ว่าที่คุณแม่คนไหนกังวลใจ สามารถปรึกษาหมอได้ง่าย ๆ ผ่านแอปฯ หมอดี ลดความเสี่ยงติดเชื้อโควิดจากการเดินทางไปรพ. ทำนัดหมายเพื่อพบหมอได้เลยในวันและเวลาที่คุณสะดวก
5 ขั้นตอนรับคำปรึกษาจาก พ.ญ.นิษฐา ปรุงวิทยา ได้ง่าย ๆ ผ่านแอปฯ หมอดี
- ดาวน์โหลดแอปฯ คลิก>> https://mordee.app.link/mordee จากนั้นเลือกเมนูโปรไฟล์ เพื่อลงทะเบียนเข้าใช้งาน
- ไปที่หน้าแรกของแอปฯ พิมพ์ชื่อ นิษฐา ปรุงวิทยา ในแถบค้นหา
- ทำนัดหมายกับ พ.ญ.นิษฐา ปรุงวิทยา โดยเลือกวันและเวลาที่ต้องการ แล้วเลือกรูปแบบการปรึกษาเป็น วิดีโอคอล โทร หรือ แชต จากนั้นทำการชำระเงิน หรือกรอกโค้ดส่วนลด (ถ้ามี)
- เข้าห้องสนทนาในแอปฯ เพื่อทำการปรึกษาแพทย์ เมื่อถึงเวลานัดหมาย
- รอสรุปผลการปรึกษาจากแพทย์ พร้อมใบสั่งยา(หากมี) โดยสามารถสั่งซื้อยา แล้วรอรับยาที่บ้านได้
สอบถามเพิ่มเติมได้ที่ Line ID: @mordeeapp