icon-facebook icon-line icon-blockdit icon-twitter icon-instagram

ดาวน์โหลดเลย

ดาวน์โหลด qr-code
iconดาวน์โหลดแอปฯ MorDee
background
Bubble
Bubble
Bubble
Bubble

เข้าใจ โรคซึมเศร้า ควรรับมืออย่างไร?

เข้าใจ โรคซึมเศร้า ควรรับมืออย่างไร? icon

เข้าใจ โรคซึมเศร้า ควรรับมือกับใจตัวเองอย่างไร? คนรอบข้างควรช่วยแบบไหน?

 

จากข่าวที่ปรากฏตามสื่อต่างๆ ในช่วงนี้ ทำให้หลายคนหันมาใส่ใจเรื่องของสุขภาพจิตกันมากขึ้น โดยเฉพาะเรื่องที่เกี่ยวกับ “โรคซึมเศร้า” ซึ่งเป็นโรคที่ต้องการการดูแลรักษาอย่างเข้าใจ ทั้งจากตัวผู้ป่วยเอง และคนรอบข้าง 

 

พญ.อุปัสรา อรรณนพพร จิตแพทย์ ประจำแอปฯ หมอดี แนะนำว่า

หากมีความเสี่ยงเป็นโรคซึมเศร้า ควรพบแพทย์เพื่อวินิจฉัยโรคและทำการบำบัด ซึ่งจริงๆ แล้วการไปพบจิตแพทย์ไม่ใช่เรื่องแปลก ไม่ได้หมายความว่าคุณเป็นบ้า แต่คือการรักตัวเอง เป็นการพบแพทย์เพื่อรักษาโรคเช่นเดียวกับโรคอื่นๆ แค่เปลี่ยนจากการรักษาสุขภาพกาย มารักษาสุขภาพใจเท่านั้น

 

ที่สำคัญ โรคซึมเศร้าอาจเกิดจากความผิดปกติของสารเคมีในสมอง ที่ทำให้มีอารมณ์เศร้า คิดลบ หรือบางครั้งหนักจนไม่อยากมีชีวิตอยู่ ทำให้ต้องได้รับยาเพื่อรักษา และได้รับการดูแลโดยแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ ไม่สามารถปล่อยทิ้งไว้รอให้หายเองได้
 
เครียด เศร้า คิดลบ อย่าปล่อยไว้ไม่เยียวยา มาลองเช็กกันดูว่า ตัวเราเองนั้นมีภาวะซึมเศร้าโดยไม่รู้ตัวแล้วหรือยัง? แล้วถ้าเข้าข่ายควรรับมือกับใจตัวเองอย่างไร หรือถ้าคนใกล้ตัว คนรักของคุณเป็นโรคซึมเศร้า คุณควรช่วยดูแลแบบไหนบ้าง?

 

เช็กลิสต์เพื่อตอบตัวเองเบื้องต้นว่า...
คุณเป็นโรคซึมเศร้าโดยไม่รู้ตัวแล้วหรือเปล่า?

1) มีอารมณ์ซึมเศร้า
2) ไม่อยากทำอะไรเลย ความสนใจในกิจกรรมแทบทั้งหมด รวมถึงความสนใจในงานอดิเรกต่าง ๆ ลดลงมาก
3) น้ำหนักลดหรือเพิ่มจากปกติจนน่าตกใจ ควบคู่กับอาการเบื่ออาหารหรือว่ามีความอยากอาหารมากกว่าเดิม
4) นอนไม่หลับ หรือว่าง่วงตลอดเวลาจนทำให้นอนมากเกินไป รู้สึกอยากนอนตลอดทั้งวันทั้งคืน
5) กระวนกระวาย อยู่ไม่สุข หรือเชื่องช้า ซึมเกินกว่าปกติ
6) อ่อนเพลีย ไร้เรี่ยวแรง ราวกับไม่มีทั้งแรงกาย แรงใจ ที่จะคิดหรือทำสิ่งต่างๆ
7) รู้สึกว่าตนเองไร้ค่า ดีไม่พอ ทำอะไรก็ไม่ดีสักอย่าง ทั้ง ๆ ที่ไม่มีใครตำหนิ ก็รู้สึกแย่
8) สมาธิลดลง ใจลอย หรือลังเลใจไปหมด รู้สึกว่าความมั่นใจลดลงอย่างมาก
9) คิดเรื่องการจบชีวิต มีความรู้สึกว่าอยากจบชีวิต

หากมีอาการในข้อ 1 หรือข้อ 2 และมีอาการตามเช็กลิสต์ด้านบนรวมแล้วตั้งแต่ 5 อาการขึ้นไป โดยรู้สึกถึงอาการเหล่านี้อยู่ตลอดเวลา แทบทุกวัน ยาวนานเกิน 2 สัปดาห์ ไม่ใช่เป็นๆ หายๆ คุณอาจเสี่ยงเป็นโรคซึมเศร้าได้

คุณเป็นโรคซึมเศร้าโดยไม่รู้ตัวแล้วหรือเปล่า?

อย่างไรก็ตาม โดยปกติแล้วเมื่อมีอาการผิดปกติทางสุขภาพจิต โรคเครียด ซึมเศร้า วิตกกังวล หรืออื่น ๆ มักจะปรากฏอาการเบื้องต้นที่ใกล้เคียงกัน ทำให้ผู้ที่มีอาการหรือคนใกล้ชิด ไม่สามารถวิเคราะห์โรคและหาวิธีรักษาที่เหมาะสมที่สุดได้ การพบจิตแพทย์จึงมีความจำเป็นมาก เพราะจิตแพทย์จะสามารถวิเคราะห์ถึงสาเหตุ หาแนวทางแก้ไข และให้คำแนะนำกับผู้ป่วยรวมถึงคนใกล้ชิดได้อย่างเฉพาะเจาะจง เพื่อให้เกิดประสิทธิภาพในการรักษามากที่สุด

 

การรับมือกับใจตัวเอง เมื่อเสี่ยงต่อโรคซึมเศร้า

การรับมือกับ “ตัวเอง” ก็เป็นสิ่งที่สำคัญมาก และยังเรียกได้ว่าเป็นสิ่งที่ทำยากมากอีกด้วย ผู้ที่ป่วยเป็นโรคซึมเศร้า ต้องรับมือกับสภาพอารมณ์และจิตใจของตัวเองอย่างหนัก นอกจากต้องต่อสู้กับตัวตนภายในแล้ว ก็ยังต้องปรับสมดุลในการใช้ชีวิตประจำวันให้ได้อีกด้วย ไม่ว่าจะเป็นบทบาทในครอบครัว หน้าที่การงาน และเรื่องอื่น ๆ ที่เป็นปัจจัยความเครียดที่เกิดจากสิ่งเร้าภายนอก

 

สำหรับใครที่เผชิญเรื่องหนัก ๆ ที่เสี่ยงต่อการเกิดความเครียด หรือรู้สึกว่าตนเองมีความเสี่ยงต่อการเป็นโรคซึมเศร้า วิธีเบื้องต้นที่ได้ผลคือการหาทางทำให้จิตใจสงบ ผ่อนคลาย อาจจะเป็นการฟังเพลง หรือใช้เวลาจดจ่อไปกับงานอดิเรกที่ตัวเองชอบก็ช่วยได้เยอะค่ะ ยิ่งเป็นกิจกรรมที่ได้เคลื่อนไหวร่างกายก็ยิ่งดี เพราะว่าฮอร์โมนที่เป็นสารแห่งความสุข จะหลั่งออกมามากขึ้นกว่าปกติระหว่างออกกำลังกายนั่นเอง

 

อีกสิ่งหนึ่งที่สำคัญไม่แพ้กัน นั่นคือ การหาคนที่คอยรับฟัง สามารถฟังอย่างตั้งใจ ไม่ตัดสินและเป็นกลาง การหาเพื่อนที่ดีไว้คอยรับฟังสิ่งที่เราระบายเมื่อเกิดอารมณ์ด้านลบ เป็นสิ่งจำเป็นต่อทุกคน และทุกคนก็สามารถเป็นผู้รับฟังที่ดีให้กับคนอื่น ๆ ได้เช่นกัน 

 

ทั้งนี้ สำหรับชาวโซเชียล ควรหลีกเลี่ยงการเสพข่าวสารด้านลบ หรือเรื่องที่กระตุ้นให้เกิดความเศร้า พักตัวเองจากหน้าจอบ้าง แล้วไปทำงานอดิเรก หรือร่วมกิจกรรมกลุ่มแบบที่ตนเองชื่นชอบดีกว่า

 

เรื่องสุดท้ายที่สำคัญที่สุด นั่นก็คือ “การรักตัวเอง” หยุดเปรียบเทียบตัวเองกับผู้อื่น รักตัวเอง ดูแลตัวเองมากขึ้น เมื่ออยู่ในภาวะอารมณ์ที่แย่ที่สุด คุณก็ยังกอดตัวเองได้นะคะ 

การรับมือกับใจตัวเอง เมื่อเสี่ยงต่อโรคซึมเศร้า

 

แต่ในยามที่ใจไม่ไหวจริงๆ และไม่รู้จะระบายกับใคร หาทางออกไม่ได้ ความเศร้ารายล้อมรอบตัว แอปฯ “หมอดี” มีแผนกสุขภาพใจ และแผนกจิตเวช ที่มีจิตแพทย์และนักจิตบำบัดพร้อมให้คำแนะนำดี ๆ ได้ทุกเมื่อ ซึ่งการเข้ารับการรักษาด้านสุขภาพจิต สุขภาพใจ ไม่ใช่เรื่องน่าอาย ไม่ใช่เรื่องแปลก ที่สำคัญ “โรคซึมเศร้าสามารถหายขาดได้ หากผู้ป่วยรีบเข้ารับการรักษากับคุณหมอตั้งแต่เริ่มมีอาการ” นะคะ

 

รับมืออย่างไร เมื่อคนใกล้ตัวมีภาวะซึมเศร้า
การรับมือกับโรคซึมเศร้า ต้องได้รับความร่วมมือจากหลายฝ่าย ไม่ว่าจะด้วยตัวผู้ป่วยเอง แพทย์ นักจิตบำบัด คนใกล้ชิด รวมไปถึงทุกคนในสังคมก็ควรตระหนักถึงวิธีรับมือกับผลกระทบที่อาจเกิดตามมาเช่นกัน 

ถ้าสมาชิกในครอบครัว คนรัก หรือคนใกล้ตัวป่วยเป็นโรคซึมเศร้า ควรรับมือและช่วยเหลืออย่างไร?
+ ให้ความรักและใส่ใจต่อคนรอบข้าง ยิ่งคนที่ป่วยเป็นโรคซึมเศร้ายิ่งต้องแคร์เป็นพิเศษ เพราะว่าเขาอ่อนไหวง่ายกว่าปกติ
+ ทำให้ผู้ป่วยรู้ว่าเราพร้อมจะซัพพอร์ตเขาเสมอ ชี้ให้เห็นข้อดีของผู้ป่วย และพูดขอบคุณหรือให้กำลังใจเขาบ่อย ๆ ได้ยิ่งดี
+ ชวนผู้ป่วยไปทำกิจกรรมกลุ่มที่ได้กระชับความสัมพันธ์ซึ่งกันละกัน
+ เมื่อผู้ป่วยต้องการระบายเรื่องที่ติดอยู่ในใจ ควรรับฟังอย่างตั้งใจ ไม่ตัดสิน และพยายามไม่แสดงความคิดเห็น
+ พาผู้ป่วยหรือคนที่สงสัยว่าป่วย ไปพบแพทย์และนักจิตบำบัด ดูแลให้ผู้ป่วยทานยาตามแพทย์สั่งอย่างสม่ำเสมอ
+ เก็บวัตถุมีคมและสิ่งที่น่าจะเป็นอันตราย เช่น มีด กรรไกร เช่น วัตถุที่แตกได้ หรือสารเคมีอันตราย ให้ห่างจากผู้ป่วย ซ่อนไว้ไม่ให้เห็นได้ยิ่งดี
+ คอยอยู่ใกล้ ๆ อย่าให้ผู้ป่วยรู้สึกว่าเผชิญเรื่องร้ายอยู่คนเดียว พร้อมกับหลีกเลี่ยงคำพูดต้องห้าม เช่น อย่าคิดมาก เดี๋ยวก็ดีเอง ห้ามประชดหรือใช้คำพูดเชิงต่อว่า เช่น จะเศร้าไปถึงไหนกัน 
+ ปฏิบัติกับผู้ป่วยเหมือนเดิม ระวังอย่าให้ผู้ป่วยคิดว่าตัวเองผิดปกติหรือแปลกแยกจากคนอื่น และสังเกตอาการ/อารมณ์ของผู้ป่วยบ่อยๆ
+ อย่ากดดันหรือเร่งรัดผู้ป่วยจนเกินไป เช่น โน้มน้าวให้เขาพัฒนาตัวเองจนเขารู้สึกว่าตัวเองดีไม่พอ
+ เข้าใจและปล่อยให้เป็นไปธรรมชาติ เพราะโรคทางจิตเวชต้องใช้ระยะเวลาในการรักษาพอสมควร แต่ละคนก็ใช้เวลามาก-น้อยต่างกันไป

รับมืออย่างไร เมื่อคนใกล้ตัวเป็นโรคซึมเศร้า


ความเข้าใจต่อผู้ป่วยโรคซึมเศร้าเป็นเรื่องสำคัญ การพบจิตแพทย์ไม่ใช่เรื่องแปลก 
หากสงสัยว่าคนใกล้ตัวเสี่ยงต่อภาวะซึมเศร้า สามารถแนะนำให้ทำนัดปรึกษาจิตแพทย์ แบบออนไลน์ ได้ง่ายๆ ผ่านแอปฯ หมอดี เพียงทำตาม 5 ขั้นตอนดังนี้


1. ดาวน์โหลดแอปฯ หมอดี คลิก>> https://mordee.app.link/mordee จากนั้นเลือกเมนูโปรไฟล์ เพื่อลงทะเบียนเข้าใช้งาน
2. ไปที่หน้าแรกของแอปฯ กดแถบต้นหา เลือกแผนก “จิตเวช” (เพื่อพบจิตแพทย์) หรือแผนก “สุขภาพใจ” (เพื่อพบนักจิตบำบัด)
3. เลือกจิตแพทย์หรือนักจิตบำบัดที่ต้องการปรึกษา แล้วทำนัดหมาย โดยเลือกวันและเวลาที่ต้องการ แล้วเลือกรูปแบบการปรึกษาเป็น วิดีโอคอล โทร หรือ แชต จากนั้นทำการชำระเงิน หรือกรอกโค้ดส่วนลด (ถ้ามี) 
4. เข้าห้องสนทนาในแอปฯ เพื่อทำการปรึกษา เมื่อถึงเวลานัดหมาย
5. รอสรุปผลการปรึกษา พร้อมใบสั่งยาจากแพทย์ (หากมี) โดยสามารถสั่งซื้อยา แล้วรอรับยาที่บ้านได้

สอบถามเพิ่มเติมได้ที่ Line ID: @mordeeapp

#หมอดี #MorDee #หมอประจำบ้านในมือคุณ #TrueHEALTH 
#จิตเวช #โรคซึมเศร้า #ภาวะซึมเศร้า #สุขภาพจิต

#ซึมเศร้า #โรคซึมเศร้า

แชร์บทความ:

บทความอื่นๆ ที่คุณอาจสนใจ

ดูทั้งหมด
  • ยุงลาย เป็นพาหะโรคร้ายอะไรบ้าง?
    โรคทั่วไป

    ยุงลาย เป็นพาหะโรคร้ายอะไรบ้าง?

    รู้ไหม? ยุงลาย ทำให้เกิดโรคร้ายอะไรได้บ้าง? วันนี้ คุณหมอจากแอปฯ หมอดี จะชวนมาทำความรู้จักโรคอันตรายที่มาพร้อมยุงลาย ให้ได้ทราบกัน

  • ต่อมลูกหมากโต ปัญหาใหญ่  กวนใจชายวัยกลางคน
    สุขภาพทางเพศ

    ต่อมลูกหมากโต ปัญหาใหญ่ กวนใจชายวัยกลางคน

    โรคต่อมลูกหมากโต คืออะไร? มีสาเหตุและอาการอย่างไร? ทำความรู้จักกันมากขึ้นได้ กับแพทย์ผู้เชี่ยวชาญด้านทางเดินปัสสาวะ ประจำแอปฯ หมอดี

  • 3 โรคฮิตที่ทำให้ คันตา รีบรักษา ก่อนอันตราย!
    ตา

    3 โรคฮิตที่ทำให้ คันตา รีบรักษา ก่อนอันตราย!

    มีอาการคันตาบ่อย ๆ หรือระคายเคืองตาเป็นประจำ เกิดได้จากหลายสาเหตุ โดยคุณหมอบนแอปฯ หมอดี ยกตัวอย่างโรคที่ทำให้คันตาบ่อยไว้ดังนี้

  • บริการฉีดวัคซีนถึงบ้าน Home Vaccination จากแอปฯ หมอดี สุขภาพดี ยกบ้าน
    โรคทั่วไป

    บริการฉีดวัคซีนถึงบ้าน Home Vaccination จากแอปฯ หมอดี สุขภาพดี ยกบ้าน

    Home Vaccination คือ บริการฉีดวัคซีนให้ถึงบ้าน โดยที่คุณไม่ต้องเดินทางไปโรงพยาบาล หรือรอคิวนาน ๆ  แต่สามารถรอรับบริการฉีดวัคซีนโดยบุคลากรทางการแพทย์อยู่ที่บ้านหรือที่ทำงานได้เลยชิล ๆ สามารถจองออนไลน์ได้ง่ายๆ ผ่านแอปฯ หมอดี โดยราคาที่ปรากฏในแอปฯ เป็นราคาที่ครอบคลุมค่าใช้จ่ายทั้งหมด จ่ายครั้งเดียวจบ ไม่มีบวกเพิ่ม แตกต่างจากการบริการแบบในโรงพยาบาล ที่คุณอาจจะต้องจ่ายค่าใช้จ่ายอื่นๆ เพิ่มนอกจากค่าวัคซีน เช่น ค่าบริการทางการแพทย์ ค่าอุปกรณ์ทางการแพทย์ และอื่น ๆ 

ยอมรับนโยบายการใช้คุกกี้

การตั้งค่าคุกกี้
นโยบายการใช้คุกกี้นี้ จะอธิบายถึงประเภท เหตุผล และลักษณะการใช้คุกกี้ รวมถึงวิธีการจัดการคุกกี้ ของเว็บไซต์ทั้งหมด โดยท่านสามารถดูรายการคุกกี้และตั้งค่าการยอมรับการใช้งาน ดูรายละเอียดเพิ่มเติม