icon-facebook icon-line icon-blockdit icon-twitter icon-instagram

ดาวน์โหลดเลย

ดาวน์โหลด qr-code
iconดาวน์โหลดแอปฯ MorDee
background
Bubble
Bubble
Bubble
Bubble

มะเร็งปอด มีทางรอด ถ้ารู้ทันอาการและวิธีการรักษา

มะเร็งปอด มีทางรอด ถ้ารู้ทันอาการและวิธีการรักษา icon

“มะเร็งปอด” เป็นสาเหตุของการเสียชีวิตอันดับต้นๆ ของผู้ป่วยโรคมะเร็งในประเทศไทย เพราะส่วนใหญ่ผู้ป่วยจะรู้ตัวได้ก็ต่อเมื่อเข้าสู่ระยะลุกลาม ทั้งที่ในความจริงแล้ว มะเร็งปอดสามารถรักษาหายได้ หากตรวจพบตั้งแต่ระยะเริ่มต้น ดังนั้น จึงควรสังเกตสัญญาณเตือนของโรคมะเร็งปอดกันให้ดี หากคุณมีพฤติกรรมเสี่ยง และมีอาการเสี่ยง ให้รีบพบแพทย์ทันที

 

เช็กด่วน7อาการ! สัญญาณเตือนมะเร็งปอด

เช็กด่วน 7 อาการ! สัญญาณเตือนมะเร็งปอด

1. มีอาการไอเรื้อรังเกิน 2 สัปดาห์ หรือไอมีเสมหะปนเลือด 
2. หายใจลำบาก หรือหายใจถี่ มีเสียงหวีด
3. ปอดติดเชื้อบ่อย
4. เหนื่อยง่าย อ่อนเพลีย 
5. เจ็บหน้าอกตลอดเวลา
6. เบื่ออาหาร 
7. น้ำหนักลดไม่ทราบสาเหตุ 

 

สาเหตุที่ทำให้เกิดมะเร็งปอด ?

สาเหตุที่ทำให้เกิดมะเร็งปอด ?  

เกิดจากการที่เซลล์ในเนื้อปอด มีการแบ่งตัวมากผิดปกติจนไม่สามารถควบคุมได้ แล้วเติบโตและลุกลามรวมกันเป็นเนื้องอก ทำให้ไปขัดขวางการทำงานของปอด การสูบบุหรี่ยังคงเป็นปัจจัยหลัก โดยพบว่า 

 

- 85% ของผู้ป่วยมะเร็งปอดมีประวัติการสูบบุหรี่ เนื่องจากควันบุหรี่มีสารก่อมะเร็งมากกว่า 60 ชนิด สามารถทำให้เกิดมะเร็งได้ในอวัยวะหลายๆ แห่ง สารในบุหรี่สามารถทำลายเซลล์ปอด ทำให้เกิดความผิดปกติของเซลล์ โดยความเสี่ยงจะเพิ่มขึ้นตามจำนวนมวนและจำนวนปีที่สูบบุหรี่

 

แต่ยังมีอีกหลายปัจจัยที่อาจเพิ่มความเสี่ยงโรคมะเร็งปอด เช่น   

- การได้รับสารพิษและมลภาวะในสิ่งแวดล้อม เช่น ควันบุหรี่ ควันธูป ควันท่อไอเสียรถยนต์

- การทำงานในอุตสาหกรรมที่มีสารก่อมะเร็ง เช่น แอสเบสตอส หรือ แร่ใยหิน เส้นใยละเอียดที่มีขนาดเล็กและฟุ้งกระจายได้ง่ายในอุตสาหกรรมสิ่งทอ อุตสาหกรรมฉนวนกันความร้อน สิ่งเหล่านี้จะทำให้เกิดการระคายเคืองเยื่อหุ้มปอด และเกิดมะเร็งปอดได้

- หากมีประวัติในครอบครัวเป็นมะเร็งปอดตั้งแต่อายุน้อย ๆ สมาชิกในครอบครัวมีความเสี่ยงที่สูง แม้ไม่ได้สูบบุหรี่

 

ใครบ้าง? ที่ควรตรวจคัดกรองมะเร็งปอด

ใครบ้าง? ที่ควรตรวจคัดกรองมะเร็งปอด


- ผู้ที่มีอายุมากกว่า 50-80 ปี ที่สูบบุหรี่จัด รวมถึงผู้ที่หยุดสูบบุหรี่มาแล้ว แต่ไม่ถึง 15 ปี

- ผู้ที่ได้รับควันบุหรี่ จากคนในครอบครัว หรือคนใกล้ชิด (ควันบุหรี่มือสอง)

- ผู้ที่อยู่ในสภาพแวดล้อมอุตสาหกรรม ใกล้ชิดสารเคมี หรือสารก่อมะเร็งที่มีความเสี่ยง

- ผู้ที่มีประวัติคนในครอบครัว ญาติสายตรง เป็นมะเร็งปอด 

 

โรคมะเร็งปอด สามารถตรวจคัดกรองได้โดยการเอกซเรย์คอมพิวเตอร์ชนิดปริมาณรังสีน้อย (Low Dose CT Scan หรือ LDCT) ซึ่งสามารถตรวจพบจุดเล็ก ๆ หรือก้อนในปอดได้ หากพบว่า เริ่มมีก้อน หรือ จุดในปอด สามารถตรวจชิ้นเนื้อเพิ่มเติมได้ ซึ่งหากพบมะเร็งปอดตั้งแต่ระยะเริ่มต้น และรักษาตั้งแต่เนิ่น ๆ สามารถหายขาดได้ แต่หากปล่อยให้ก้อน หรือ จุดในปอดโตขึ้น มะเร็งปอดจะลุกลาม ยากต่อการรักษา และเป็นอันตรายถึงชีวิต 

 

เหตุผลที่ทำให้การตรวจคัดกรองมะเร็งปอดมีความสำคัญ คือ หากแพทย์ตรวจพบเซลล์มะเร็งตั้งแต่ระยะแรกๆ คนไข้ก็จะยิ่งมีโอกาสหายจากโรคได้มากกว่าการตรวจเจอเซลล์มะเร็งในระยะลุกลามแล้ว

 

โรคมะเร็งปอดมีวิธีการรักษาอย่างไร?

ผู้ป่วยมีทางเลือกในการรักษาหลายวิธี คือ 

 

- การผ่าตัด (Surgery) หากมะเร็งปอดมีขนาดเล็กและเป็นระยะเริ่มต้น จะใช้การผ่าตัดเพื่อผ่าเอาก้อนมะเร็งที่ปอดและต่อมน้ำเหลืองที่ช่องอกออก


- การฉายรังสี (Radiotherapy) เป็นการใช้พลังงานรังสีที่มีความเข้มข้นฉายไปยังตำแหน่งของเซลล์มะเร็งปอดเพื่อทำลายกลุ่มก้อนเซลล์มะเร็ง ใช้เฉพาะจุดเพื่อควบคุมการลุกลาม


- การใช้ยาภูมิคุ้มกันบำบัด (Immunotherapy) เป็นการกระตุ้นการตอบสนองของระบบภูมิคุ้มกันในร่างกายต่อสิ่งแปลกปลอม เพื่อให้เซลล์ภูมิคุ้มกันนี้ช่วยกำจัดเซลล์มะเร็ง


- การให้ยาเคมีบำบัด (Chemotherapy) เป็นรูปแบบยาฉีดเข้าเส้นเลือด ช่วยกำจัดและยับยั้งการเจริญเติบโตของเซลล์มะเร็งที่มีอยู่ทั่วร่างกาย 


- การรักษาแบบเฉพาะเจาะจง (Targeted therapy) เป็นการรักษาโดยการใช้ยาที่ออกฤทธิ์เฉพาะเจาะจงต่อเซลล์มะเร็ง โดยไม่ส่งผลกระทบต่อเซลล์อื่น ๆ ในร่างกาย


- การรักษาด้วยการผสมผสาน โดยทั่วไปการรักษามะเร็งปอดจะใช้มากกว่าหนึ่งวิธีขึ้นไป แต่จะใช้วิธีใดขึ้นอยู่กับระยะ ความรุนแรงของโรค และสุขภาพของผู้ป่วย โดยแพทย์เฉพาะทางด้านมะเร็งจะประเมินการรักษาอย่างละเอียดเพื่อให้ผลการรักษาเป็นไปตามเป้าหมายที่วางไว้

 

หากท่านเป็นอีกหนึ่งคนที่ใช้ชีวิตท่ามกลางปัจจัยเสี่ยงของโรคมะเร็งปอด หรือพบอาการผิดปกติที่เป็นสัญญาณของโรคนี้ อย่ารอช้าที่จะไปพบแพทย์ เพื่อให้แพทย์ทำการตรวจวินิจฉัยอย่างถูกต้อง เหมาะสม และถ้าท่านใดยังมีข้อสงสัยในแง่ของการตรวจวินิจฉัยหรือรายละเอียดของการรักษา ท่านสามารถขอคำปรึกษาจากทีมแพทย์ของแอปฯ หมอดี ได้ตลอดเวลา 

 

สาระสุขภาพโดย พญ.ปัทมาภรณ์ เนตรมุกดา แพทย์ผู้เชี่ยวชาญบนแอปฯ หมอดี

 

ปรึกษาแพทย์เกี่ยวกับโรคมะเร็งปอด ผ่านแอปฯ หมอดี ผ่านแอปฯ หมอดี ได้ง่ายๆ ด้วย 5 ขั้นตอนดังนี้
1. ดาวน์โหลดแอปฯ คลิก>> https://mordee.app.link/mordee จากนั้นเลือกเมนูโปรไฟล์ เพื่อลงทะเบียนเข้าใช้งาน
2. ไปที่หน้าแรกของแอปฯ กดแถบค้นหา เลือก แผนกมะเร็ง
3. เลือกแพทย์ที่ต้องการปรึกษา แล้วทำนัดหมาย โดยเลือกวันและเวลาที่ต้องการ แล้วเลือกรูปแบบการปรึกษาเป็น วิดีโอคอล โทร หรือ แชต จากนั้นทำการชำระเงิน หรือกรอกโค้ดส่วนลด (ถ้ามี)
4. เข้าห้องสนทนาในแอปฯ เพื่อทำการปรึกษาแพทย์ เมื่อถึงเวลานัดหมาย
5. รอสรุปผลการปรึกษาจากแพทย์ พร้อมใบสั่งยา(หากมี) โดยสามารถสั่งซื้อยา แล้วรอรับยาที่บ้านได้

 

สอบถามเพิ่มเติมได้ที่ Line ID: @mordeeapp


#MorDee #หมอดี #หมอประจำบ้านในมือคุณ #TrueHEALTH

#มะเร็ง #มะเร็งปอด

แชร์บทความ:

บทความอื่นๆ ที่คุณอาจสนใจ

ดูทั้งหมด
  • น้ำใบเตย ดับกระหาย คลายโรค
    โภชนาการ

    น้ำใบเตย ดับกระหาย คลายโรค

    น้ำใบเตย นอกจากรสชาติอร่อย ชื่นใจ ช่วยคลายร้อนได้ดีแล้ว ยังมีสรรพคุณที่มีประโยชน์ต่อสุขภาพมากมาย พบคำตอบได้จากคุณหมอบนแอปฯ หมอดี

  • ปวดท้องตรงนี้ ! เสี่ยงเป็นโรคอะไรบ้าง ?
    โรคทั่วไป

    ปวดท้องตรงนี้ ! เสี่ยงเป็นโรคอะไรบ้าง ?

    วันนี้มีสาระสุขภาพจาก นพ.ณัฐภัทร จันใจวงค์ แพทย์แผนกโรคทั่วไป บนแอปฯ หมอดี มาฝากกัน โดยจะชี้ให้เห็นกันชัด ๆ ว่าอาการปวดท้องที่เราหลายคนมักเป็นกันนั้น มีนัยยะของโรคอะไรซ่อนอยู่หรือเปล่า? ถ้าปวดท้องธรรมดา เช่น ท้องอืด ท้องเฟ้อ ก็พอกินยาบรรเทาได้ แต่ถ้าปวดท้องรุนแรงล่ะ! เสี่ยงต่อการเป็นโรคอะไรได้บ้าง?

  • เคล็ดลับเด็ด! แก้คอเคล็ดด้วยตัวเอง
    กระดูกและข้อ

    เคล็ดลับเด็ด! แก้คอเคล็ดด้วยตัวเอง

    หากคุณเป็นคนหนึ่งที่คอเคล็ด ปวดคอ หันซ้ายหันขวาลำบากอยู่บ่อย ๆ พบวิธีบรรเทาอาการเบื้องต้นกับคุณหมอ จากแอปฯ หมอดี ที่นี่กันดีกว่า

  • งูสวัด เครียด ภูมิต่ำเมื่อไร เสี่ยงแน่!
    โรคทั่วไป

    งูสวัด เครียด ภูมิต่ำเมื่อไร เสี่ยงแน่!

    รู้หรือไม่? อีสุกอีใส สามารถเป็นซ้ำได้ แต่จะมาในรูปแบบของโรคงูสวัด แล้วโรคนี้กำเริบขึ้นได้อย่างไร? วันนี้ แพทย์ผิวหนังจากแอปฯ หมอดี จะมาอธิบายเจาะลึกกัน

ยอมรับนโยบายการใช้คุกกี้

การตั้งค่าคุกกี้
นโยบายการใช้คุกกี้นี้ จะอธิบายถึงประเภท เหตุผล และลักษณะการใช้คุกกี้ รวมถึงวิธีการจัดการคุกกี้ ของเว็บไซต์ทั้งหมด โดยท่านสามารถดูรายการคุกกี้และตั้งค่าการยอมรับการใช้งาน ดูรายละเอียดเพิ่มเติม