icon-facebook icon-line icon-blockdit icon-twitter icon-instagram

Download Now

ดาวน์โหลด qr-code
iconดาวน์โหลดแอปฯ MorDee
background
Bubble
Bubble
Bubble
Bubble

ข้อควรระวัง ในการกิน ยาลดกรด

ข้อควรระวัง ในการกิน ยาลดกรด icon

วันนี้แอปฯ หมอดี อยากชวนทุกคนมาเช็กพฤติกรรมเสี่ยงที่ทำให้เกิดกรดในกระเพาะอาหาร รวมทั้งทำความรู้จักกับ “ยาลดกรด” ด้วยสาระสุขภาพจาก ผศ.พญ.ชลธิชา เอื้อสมหวัง แพทย์แผนกอายุรกรรม บนแอปฯ หมอดี


ยาลดกรด (Antacids) เป็นยาที่ใช้รักษาอาการปวดท้องจากกรดเกินในกระเพาะอาหาร เนื่องจากความเป็นกรดนี้จะเป็นตัวการที่กัดกร่อนกระเพาะอาหารหรือลำไส้เล็กให้เกิดแผล หรือ ภาวะกรดไหลย้อน โดยยาลดกรดเป็นยาที่ช่วยปรับความเป็นกรดด่างในกระเพาะอาหารให้อยู่ในสมดุล ซึ่งตัวยามีสภาวะเป็นด่าง ออกฤทธิ์ลดกรดโดยการสะเทิน (ทำให้เป็นกลาง) กับกรดในกระเพาะอาหาร เมื่อความเป็นกรดในกระเพาะอาหารลดลงจึงทำให้อาการปวดท้องหรือแสบท้องบรรเทาลงได้

 

พฤติกรรมเสี่ยง ที่อาจต้องทำให้คุณต้องกินยาลดกรด

7 พฤติกรรมเสี่ยง ที่อาจทำให้คุณต้องกินยาลดกรด

ลองมาเช็กกันให้แน่ใจก่อนนะ ว่าเคยชินกับพฤติกรรมแบบนี้หรือไม่?

หากเช็กแล้วว่าใช่ ก็มีแนวโน้มว่าต้องไปถามหายาลดกรดแล้วล่ะ!

1. ชอบรับประทานอาหารรสจัด เช่น รสเปรี้ยว รสเผ็ด 

2. มักจะรับประทานอาหารไม่ตรงเวลา 

3. ชอบดื่มกาแฟมาก และมักดื่มกาแฟตอนท้องว่าง

4. รับประทานยาแก้ปวดชนิดระคายเคืองกระเพาะอาหารตอนท้องว่างอยู่บ่อยๆ 

5. สูบบุหรี่จัด ดื่มแอลกอฮอล์มาก 

6. ดื่มน้ำอัดลมบ่อยมาก 

7. มีความเครียดสะสม หรือมักวิตกกังวลเป็นประจำ


หากมีพฤติกรรมข้อใดข้อหนึ่งเป็นระยะเวลานาน อาจเป็นสาเหตุของอาการปวดแสบท้อง ซึ่งเป็นอาการของโรคแผลในกระเพาะอาหารหรือกรดไหลย้อนได้ การรักษาสามารถกินยาลดกรดเพื่อลดกรดเกินในกระเพาะอาหาร ควบคู่ไปกับการปรับลดพฤติกรรมเสี่ยง 7 ข้อข้างต้น เพื่อทำให้สุขภาพดีขึ้นได้


ข้อควรระวังของการใช้ยาลดกรด

1. ควรแจ้งประวัติการแพ้ยาและอาการแพ้อื่นๆ แก่แพทย์หรือเภสัชกรก่อนการใช้ยา

2. ผู้ที่มีปัญหาโรคตับ โรคไต หรือมีภาวะหัวใจล้มเหลว ควรปรึกษาแพทย์ก่อนการใช้ยาทุกครั้ง เพื่อป้องกันการสะสมของยาภายในร่างกาย

3. หญิงมีครรภ์หรือกำลังให้นมบุตรควรปรึกษาแพทย์ก่อนการใช้ยา

4. ผู้ที่เป็นโรคความดันโลหิตสูง ตับแข็ง หรือสภาวะอื่นๆ ที่ต้องรับประทานอาหารประเภทโซเดียมต่ำ ควรปรึกษาแพทย์ก่อนการใช้ยาเนื่องจากยาลดกรดบางชนิดอาจมีส่วนผสมของเกลือ (โซเดียม) อยู่ปริมาณมาก

5. เด็กอายุต่ำกว่า 12 ปี ควรขอคำแนะนำจากแพทย์หรือเภสัชกรก่อนการใช้ยา

6. ไม่ควรรับประทานยาลดกรดพร้อมกับยาชนิดอื่นภายใน 2-4 ชั่วโมงเพราะอาจดูดซึมฤทธิ์ยาตัวอื่นจนทำให้ยาออกฤทธิ์ได้ไม่เต็มที่

7. ไม่ควรรับประทานยาชนิดนี้ติดต่อกันนานเกิน 2 สัปดาห์ ยกเว้นแพทย์สั่ง

 

การรับประทาน “ยาลดกรด” ควรรับประทานภายใต้การกำกับดูแลของแพทย์หรือเภสัชกรจึงจะดีที่สุด

 

หากมีข้อสงสัยเกี่ยวกับยาลดกรด สามารถแพทย์หรือเภสัชกรผ่านแอปฯ หมอดี ได้ใน 5 ขั้นตอนง่าย ๆ ดังนี้

1. ดาวน์โหลดแอปฯ หมอดี คลิก>> https://mordee.app.link/mordee จากนั้นเลือกเมนูโปรไฟล์ เพื่อลงทะเบียนเข้าใช้งาน

2. ไปที่หน้าแรกของแอปฯ กดแถบค้นหา แล้วเลือกแผนกหรืออาการที่ต้องการปรึกษา โดยหากต้องการปรึกษาเกี่ยวกับยาลดกรด อาจเลือก แผนกโรคทั่วไป แผนกเภสัชกรรม หรือเลือกปรึกษาแพทย์ตามอาการ ปวดท้อง

3. เลือกแพทย์หรือเภสัชกรที่ต้องการปรึกษา แล้วทำนัดหมาย โดยเลือกวันและเวลาที่ต้องการ แล้วเลือกรูปแบบการปรึกษาเป็น วิดีโอคอล โทร หรือ แชต จากนั้นทำการชำระเงิน หรือกรอกโค้ดส่วนลด (ถ้ามี)

4. เข้าห้องสนทนาในแอปฯ เพื่อทำการปรึกษา เมื่อถึงเวลานัดหมาย

5. รอสรุปผลการปรึกษา พร้อมใบสั่งยาจากแพทย์ (หากมี) โดยสามารถสั่งซื้อยา แล้วรอรับยาที่บ้านได้

 

สอบถามเพิ่มเติมได้ที่ Line ID: @mordeeapp

 

#หมอดี #MorDee #หมอประจำบ้านในมือคุณ #TrueHEALTH

#ยาลดกรด #ยาประจำบ้าน #ปวดท้อง #ลดกรด

#ปวดท้อง #ยาลดกรด #โรคกระเพาะ

share:

บทความอื่นๆ ที่คุณอาจสนใจ

ดูทั้งหมด
  • ผลข้างเคียงและข้อควรระวัง ก่อนใช้ “ยาคลายเครียด”
    Pharmacy

    ผลข้างเคียงและข้อควรระวัง ก่อนใช้ “ยาคลายเครียด”

    ยาคลายเครียด หรือ ยากล่อมประสาท ช่วยทำให้การทำงานของสมองในส่วนที่ควบคุมความเครียดทำงานได้ดีขึ้น ช่วยให้นอนหลับง่ายขึ้น และลดความวิตกกังวลได้ แต่การใช้ยาคลายเครียดในปริมาณมากเกินไปหรือใช้ติดต่อกันเป็นระยะเวลานาน อาจทำให้เกิดอันตรายต่อร่างกายได้

  • รู้ทัน กันโรคมะเร็งได้!
    Oncology

    รู้ทัน กันโรคมะเร็งได้!

    มะเร็งไม่เป็นถือว่าโชคดี แต่ถ้าเป็นแล้วก็ไม่น่ากลัวอย่างที่คิด มาพบคำตอบจากคุณหมอว่า มะเร็ง คืออะไร? เหตุใดฟังแล้วเหมือเจอคำพิพากษาประหารชีวิต? แล้วเป็นเช่นนั้นจริงหรือไม่?

  • ปวดท้องตรงนี้ ! เสี่ยงเป็นโรคอะไรบ้าง ?
    General Health

    ปวดท้องตรงนี้ ! เสี่ยงเป็นโรคอะไรบ้าง ?

    วันนี้มีสาระสุขภาพจาก นพ.ณัฐภัทร จันใจวงค์ แพทย์แผนกโรคทั่วไป บนแอปฯ หมอดี มาฝากกัน โดยจะชี้ให้เห็นกันชัด ๆ ว่าอาการปวดท้องที่เราหลายคนมักเป็นกันนั้น มีนัยยะของโรคอะไรซ่อนอยู่หรือเปล่า? ถ้าปวดท้องธรรมดา เช่น ท้องอืด ท้องเฟ้อ ก็พอกินยาบรรเทาได้ แต่ถ้าปวดท้องรุนแรงล่ะ! เสี่ยงต่อการเป็นโรคอะไรได้บ้าง?

  • วิธีสังเกต “ ผื่นคัน ผื่นแพ้ ” 6 แบบ ที่ไม่ควรมองข้าม
    Beauty & Anti-aging

    วิธีสังเกต “ ผื่นคัน ผื่นแพ้ ” 6 แบบ ที่ไม่ควรมองข้าม

    ผื่นคัน ผื่นแพ้ เป็นลักษณะอาการทางผิวหนัง ที่เกิดจากสภาวะของร่างกายปรับตัวเข้ากับสิ่งแวดล้อมไม่ได้ ไม่ว่าจะเป็นอากาศที่เปลี่ยนไป หรือสิ่งแวดล้อมที่ปรากฏในรูปแบบของสารเคมีในชีวิตประจำวัน เช่น สารซักล้างเสื้อผ้า ล้วนเป็นสาเหตุของความระคายเคืองผิวและทำให้เกิดผื่นคันได้

ยอมรับนโยบายการใช้คุกกี้

การตั้งค่าคุกกี้
นโยบายการใช้คุกกี้นี้ จะอธิบายถึงประเภท เหตุผล และลักษณะการใช้คุกกี้ รวมถึงวิธีการจัดการคุกกี้ ของเว็บไซต์ทั้งหมด โดยท่านสามารถดูรายการคุกกี้และตั้งค่าการยอมรับการใช้งาน ดูรายละเอียดเพิ่มเติม