icon-facebook icon-line icon-blockdit icon-twitter icon-instagram

ดาวน์โหลดเลย

ดาวน์โหลด qr-code
iconดาวน์โหลดแอปฯ MorDee
background
Bubble
Bubble
Bubble
Bubble

ยาแก้แพ้ ชนิดไม่ง่วงซึม ดีกว่าชนิดง่วงอย่างไร?

ยาแก้แพ้ ชนิดไม่ง่วงซึม ดีกว่าชนิดง่วงอย่างไร? icon

โรคภูมิแพ้ จะมีอาการอย่าง จาม น้ำมูกไหล คันตา มีผื่นผิวหนัง เกิดขึ้นเมื่อร่างกายสัมผัสกับสารก่อภูมิแพ้ เช่น ฝุ่น ควัน ละอองเกสร อาหาร ขนสัตว์ เป็นต้น


 

วิธีการแก้ไขที่ได้ผลก็คือ การกินยาแก้แพ้ที่เรียกว่า ยาต้านฮิสตามีน (Antihistamine) นั่นเอง
ซึ่งยาแก้แพ้ในท้องตลาดจะแบ่งเป็น 2 ประเภท ได้แก่

 

ยาแก้แพ้ชนิดง่วง
ยาแบบนี้เป็นยาเก่า ตัวยาถูกดูดซึมเข้าผ่านสมอง จึงส่งผลต่อระบบประสาทส่วนกลางทำให้เกิดอาการง่วง นอกจากนั้นยังอาจมีผลข้างเคียงทำให้เกิดอาการปากแห้ง คอแห้ง เสมหะและน้ำมูกเหนียวข้น รวมถึงปัสสาวะขัดในผู้ชายได้ 

ที่สำคัญคือ มีผลข้างเคียงทำให้ง่วงซึม มึนงง อาจทำให้เสียสมาธิในการทำงาน เสี่ยงต่อการเกิดอุบัติเหตุหากต้องทำงานกับเครื่องจักรหรือขับรถ และในผู้สูงอายุอาจทำให้หกล้มได้ จึงไม่เป็นที่แนะนำสำหรับการรักษาภูมิแพ้

ยกตัวอย่างยากลุ่มนี้ที่คุ้นเคยกัน เช่น ยาเม็ดสีเหลือง คลอเฟนิลามีน (chlorpheniramine)

 

ยาแก้แพ้ชนิดไม่ง่วง

ยาชนิดนี้เป็นยาที่ถูกดูดซึมผ่านเข้าสมองน้อย จึงไม่มีผลทำให้ง่วงซึม มึนงง สามารถทำงานหรือใช้ชีวิตได้ตามปกติ และในปัจจุบันได้มีการพัฒนาตัวยารุ่นใหม่ให้ไม่ถูกดูดซึมผ่านเข้าสมอง และมีความจำเพาะต่อการออกฤทธิ์มากขึ้น

ยากลุ่มนี้จึงสามารถใช้ได้อย่างปลอดภัยกว่ากลุ่มแรก และมีประสิทธิภาพที่ดีในการรักษา เหมาะกับการรักษาอาการภูมิแพ้ได้ทั้งชนิดเรื้อรังและชนิดครั้งคราวตามฤดูกาล

 

ยกตัวอย่างตัวยากลุ่มนี้เช่น Bilastine เป็นยาต้านฮีสตามีนโมเลกุลใหม่ ออกฤทธิ์ไวภายใน 30 นาที ลดอาการแพ้ต่อเนื่องนาน 24 ชั่วโมง และไม่มีผลข้างเคียงจากการใช้ยา

พิเศษ

ปรึกษาแพทย์เกี่ยวกับอาการ #ภูมิแพ้อากาศ ฟรี ผ่านแอปฯ หมอดี พร้อมรับยาแก้แพ้แบบไม่ง่วง
เพียงเลือกปรึกษาคลินิกภูมิแพ้ แล้วกรอกโค้ด ‘BILAX1’

 

ขั้นตอนการรับคำปรึกษาจากแพทย์ ผ่านแอปฯ หมอดี โดยไม่มีค่าใช้จ่าย

1. ดาวน์โหลดแอปฯ หมอดี คลิก>> https://mordee.app.link/mordee จากนั้นเลือกเมนูโปรไฟล์เพื่อลงทะเบียนเข้าใช้งาน
2. กดเลือกเมนู หน้าแรก แล้วกดแถบค้นหา จากนั้นเลือกคลินิก ภูมิแพ้
3. เลือกแพทย์ที่ต้องการปรึกษา เลือกวันและเวลาที่ต้องการนัดหมาย แล้วเลือกรูปแบบการปรึกษา เป็นวิดีโอคอล โทร หรือแชต แล้วกรอกโค้ดส่วนลด ‘BILAX1’ ในขั้นตอนการชำระเงินเพื่อใช้บริการ ฟรี
4. เข้าห้องสนทนาในแอปฯ เพื่อทำการปรึกษาแพทย์ เมื่อถึงเวลานัดหมาย
5. รอสรุปผลการปรึกษาจากแพทย์ พร้อมใบสั่งยา (ถ้ามี) โดยสามารถสั่งซื้อยา แล้วรอรับยาที่บ้านได้

สอบถามเพิ่มเติมได้ที่ Line OA: @mordeeapp

#MorDee #หมอดี #หมอประจำบ้านในมือคุณ #TrueHEALTH
#หาหมอออนไลน์ #พบหมอออนไลน์

 

อ้างอิงเนื้อหาจาก
1. การบรรยายพิเศษ Pharmacy Care ครั้งที่ 4 โดยเภสัชกรรมสมาคมแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์  ร่วมกับบริษัท เอ. เมนาธินี (ประเทศไทย) จำกัด
2. หน่วยคลังข้อมูลยา คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล https://pharmacy.mahidol.ac.th/dic/knowledge_full.php?id=27 
3. องค์การอาหารและยา https://oryor.com/media/checkSureShare/media_specify/881  
 

TH-BIX-122022-068

แชร์บทความ:

บทความอื่นๆ ที่คุณอาจสนใจ

ดูทั้งหมด
  • รู้ทัน กันโรคมะเร็งได้!
    มะเร็ง

    รู้ทัน กันโรคมะเร็งได้!

    มะเร็งไม่เป็นถือว่าโชคดี แต่ถ้าเป็นแล้วก็ไม่น่ากลัวอย่างที่คิด มาพบคำตอบจากคุณหมอว่า มะเร็ง คืออะไร? เหตุใดฟังแล้วเหมือเจอคำพิพากษาประหารชีวิต? แล้วเป็นเช่นนั้นจริงหรือไม่?

  • ชวนสังเกต โรควิตกกังวล แพนิก โรคที่บางคนเป็น แต่ไม่รู้ตัว
    สุขภาพใจ

    ชวนสังเกต โรควิตกกังวล แพนิก โรคที่บางคนเป็น แต่ไม่รู้ตัว

    โรควิตกกังวล อาการแพนิก เป็นปฏิกิริยาที่ร่างกายสร้างขึ้นเพื่อตอบสนองต่อความเครียด ทำให้ตื่นตัวและรับมือกับปัญหาที่เกิดขึ้นได้ ซึ่งโรควิตกกังวล อาการแพนิก นับเป็นโรคยอดฮิตชนิดหนึ่ง ที่กำลังคุกคามสุขภาพของคนวัยทำงานในยุคปัจจุบัน ลองสังเกตดู คุณอาจจะไม่รู้ตัวด้วยซ้ำว่ากำลังเป็นโรคนี้อยู่

  • เดี๋ยวสุขเดี๋ยวเศร้า หรือเราจะเป็น ไบโพลาร์ เช็กอาการด่วน!
    สุขภาพใจ

    เดี๋ยวสุขเดี๋ยวเศร้า หรือเราจะเป็น ไบโพลาร์ เช็กอาการด่วน!

    บางเวลารู้สึกมีความสุขกับทุกเรื่องที่ทำ แต่บางเวลากลับรู้สึกดำดิ่ง หดหู่ หมดไฟ ไม่มีเป้าหมายในการใช้ชีวิต ใครเป็นแบบนี้ไม่ควรละเลย เพราะอาจเป็นสัญญาณเตือนว่า...คุณเข้าข่าย “ไบโพลาร์” หรือโรคอารมณ์สองขั้ว

  • ปวดท้องน้อยขวา เขาว่าไส้ติ่งอักเสบ ปวดท้องน้อยด้านซ้าย เป็นอะไร?
    อายุรกรรม

    ปวดท้องน้อยขวา เขาว่าไส้ติ่งอักเสบ ปวดท้องน้อยด้านซ้าย เป็นอะไร?

    อาการปวดท้องน้อยด้านขวาที่เราเคยได้ยินบ่อย ๆ มักจะเสี่ยงต่อการเป็นโรคไส้ติ่งอักเสบ แต่ถ้าปวดท้องน้อยด้านซ้ายล่ะ คุณรู้หรือไม่ว่าเสี่ยงต่อการป่วยเป็นอะไรบ้าง? วันนี้คุณหมอจากแอปฯ หมอดีมีคำตอบมาฝากกัน ใครที่ปวดท้องตรงนี้บ่อย ๆ อย่าชะล่าใจ เพราะท้องน้อยด้านซ้าย เป็นจุดรวมอวัยวะสำคัญหลายอย่างเลยทีเดียว 

ยอมรับนโยบายการใช้คุกกี้

การตั้งค่าคุกกี้
นโยบายการใช้คุกกี้นี้ จะอธิบายถึงประเภท เหตุผล และลักษณะการใช้คุกกี้ รวมถึงวิธีการจัดการคุกกี้ ของเว็บไซต์ทั้งหมด โดยท่านสามารถดูรายการคุกกี้และตั้งค่าการยอมรับการใช้งาน ดูรายละเอียดเพิ่มเติม