icon-facebook icon-line icon-blockdit icon-twitter icon-instagram

ดาวน์โหลดเลย

ดาวน์โหลด qr-code
iconดาวน์โหลดแอปฯ MorDee
background
Bubble
Bubble
Bubble
Bubble

เดี๋ยวสุขเดี๋ยวเศร้า หรือเราจะเป็น ไบโพลาร์ เช็กอาการด่วน!

เดี๋ยวสุขเดี๋ยวเศร้า หรือเราจะเป็น ไบโพลาร์ เช็กอาการด่วน! icon

บางเวลารู้สึกมีความสุขกับทุกเรื่องที่ทำ แต่บางเวลากลับรู้สึกดำดิ่ง หดหู่ หมดไฟ ไม่มีเป้าหมายในการใช้ชีวิต ใครเป็นแบบนี้ไม่ควรละเลย เพราะอาจเป็นสัญญาณเตือนว่า...คุณเข้าข่าย “ไบโพลาร์” หรือโรคอารมณ์สองขั้ว

ไบโพลาร์ เป็นโรคที่เกี่ยวกับสารเคมีในสมอง สามารถเกิดขึ้นเองได้ตามภาวะของอารมณ์ ความเครียด ความทุกข์ ความสูญเสีย แบ่งเป็น 2 ระยะคือ ระหว่างช่วงอารมณ์ซึมเศร้า (Depression) สลับกับช่วงที่อารมณ์ดีหรือหงุดหงิดมากกว่าปกติ (Mania) ระยะเวลาในแต่ละช่วงอาจอยู่เป็นสัปดาห์หรือเดือน ความผิดปกติทางอารมณ์ทั้งสองแบบของไบโพลาร์จะเปลี่ยนแปลงไปมา สลับกันอย่างรุนแรง หากไม่ได้รับการรักษาที่ถูกวิธี อาจส่งผลกระทบต่อชีวิต ทั้งในเรื่องการงาน เรื่องความสัมพันธ์กับคนใกล้ชิด และปัญหาที่เกิดจากภาวะจิตใจ ถ้าปล่อยไว้นาน ๆ อาจจะมีโรคซึมเศร้าแทรกได้

 

คุณวีรวิชญ์ เหล่าวีระธรรม นักสุขภาพจิต ประจำแอปฯ หมอดี ได้ให้คำแนะนำสำหรับการสังเกตจุดเริ่มต้นของ “ไบโพลาร์” ไว้ว่า...
สัญญาณเตือนไบโพลาร์ หรือ โรคอารมณ์ 2 ขั้ว มีดังนี้

1. ช่วงอารมณ์ดีผิดปกติ (Mania episode) 
- ร่าเริง หรือคึกเป็นพิเศษ
- รู้สึกมั่นใจตัวเอง
- ไม่หลับ ไม่นอน
- สมาธิสั้น
- พูดเร็ว พูดเยอะ
- แรงเยอะ บ้าพลัง

 

2. ช่วงซึมเศร้า (Depression episode)
- คิดช้า ไม่มีสมาธิ
- คิดลบ มองโลกในแง่ร้าย
- ท้อแท้ สิ้นหวัง หดหู่
- ไม่อยากเจอใคร
- นอนไม่หลับ
- หมดไฟ ไม่มีเป้าหมายในชีวิต

 

เมื่อไหร่ที่สังเกตตัวเองหรือคนรอบข้างแล้วพบว่าเสี่ยงมีอาการแบบนี้ อาจจะเป็นไบโพลาร์ได้ โดยมีอารมณ์เปลี่ยนแปลงไปมา สลับกันอย่างรุนแรง ควรรีบปรึกษาจิตแพทย์ เพื่อปรึกษาพูดคุย และทำการรักษาที่ถูกต้อง เช่น รับยา หรือรับการบำบัดทางจิตใจ 

 

นอกจากนี้ สาเหตุของโรคไบโพลาร์ ยังอาจเกิดจากการทำงานที่ผิดปกติของสมองโดยมีสารสื่อประสาทที่ไม่สมดุล และจากสภาพแวดล้อมของผู้ป่วย เช่น การเลี้ยงดูในวัยเด็ก หรือ ความเครียดในชีวิตประจำวันที่กระตุ้นให้โรคแสดงอาการ รวมถึงอาจเกิดจากโรคบางอย่าง เช่น ความผิดปกติของไทรอยด์ฮอร์โมน 

 

อาการของโรคไบโพลาร์จะสลับไปมา ระหว่างอารมณ์ดีหรือก้าวร้าวผิดปกติ กับ อารมณ์ซึมเศร้าผิดปกติ โดยไม่ขึ้นอยู่กับสถานการณ์ใดๆ ในช่วงที่อารมณ์ซึมเศร้า ผู้ป่วยมักเบื่อหน่าย ท้อแท้ ไม่อยากทำอะไร อ่อนเพลีย มองทุกอย่างในแง่ลบ บางรายมีความคิดอยากตาย ซึ่งอาจนำไปสู่การฆ่าตัวตายจริงๆ ได้ สำหรับช่วงเวลาขึ้น-ลงของอารมณ์ในผู้ที่ป่วยเป็นโรคไบโพลาร์นั้น ไม่มีรูปแบบที่แน่นอนตายตัว อาจเป็นภายในหนึ่งวัน สัปดาห์ เดือน หรือ ปีก็ได้


การวินิจฉัยโรคไบโพลาร์ อาจทำได้จากการซักประวัติและการพูดคุยกับผู้ป่วย ประกอบกับการตรวจร่างกายและการตรวจสุขภาพจิตด้วยแบบสอบถาม รวมทั้งโรคประจำตัวอื่นๆ


การรักษาโรคไบโพลาร์ สามารถใช้ยาหรือทำจิตบำบัด ซึ่งผู้ป่วยส่วนใหญ่จะหายจากอาการผิดปกติและสามารถกลับไปใช้ชีวิตตามปกติได้เหมือนเดิมภายในประมาณ 2-8 สัปดาห์


ด้านการปฏิบัติตัว ควรปฏิบัติตัวตามคำแนะนำของแพทย์ นอนหลับพักผ่อนให้เพียงพอ หากิจกรรมคลายเครียด ทำให้จิตใจสบาย รับประทานยาตามแพทย์สั่งและไม่ควรหยุดยาเอง สังเกตอาการตัวเอง ถ้ามีอาการผิดปกติควรรีบไปพบแพทย์ แจ้งคนใกล้ชิดถึงอาการเริ่มแรกของโรคไบโพลาร์ เพื่อช่วยสังเกตและพาไปพบแพทย์


ญาติและบุคคลใกล้ชิด ควรเข้าใจอารมณ์และพฤติกรรมผิดปกติของผู้ที่กำลังมีภาวะไบโพลาร์หรือผู้ที่อยู่ในช่วงรักษาตัวว่าเป็นความเจ็บป่วย ไม่ใช่นิสัยที่แท้จริงของผู้ป่วย ปฏิบัติตามคำแนะนำของแพทย์ ดูแลพฤติกรรมที่เสี่ยงต่ออันตราย และเมื่อผู้ป่วยมีอาการดีขึ้น ควรให้กำลังใจ เพื่อให้ผู้ป่วยสามารถกลับไปใช้ชีวิตตามปกติ และไม่ให้ผู้ป่วยอยากหยุดยาก่อนปรึกษาแพทย์จนหาย

 

หากรู้เร็ว เข้าใจ ยอมรับตัวเองได้ และรีบเข้ารับการรักษา ผู้ป่วยที่มีอาการไบโพลาร์ ก็จะสามารถหาย

แล้วกลับมาใช้ชีวิตได้ตามปกติ 

สงสัยว่าตัวเองหรือคนรอบข้างอาจเสี่ยงเป็นไบโพลาร์ ปรึกษาหมอดีได้ ด้วย 5 ขั้นตอนง่าย ๆ ดังนี้
1. ดาวน์โหลดแอปฯ คลิก>> https://mordee.app.link/mordee จากนั้นเลือกเมนูโปรไฟล์ เพื่อลงทะเบียนเข้าใช้งาน
2. ไปที่หน้าแรกของแอปฯ กดแถบค้นหา พิมพ์ชื่อแผนก “สุขภาพใจ” หรือ “จิตเวช” แล้วเลือกแพทย์ที่ต้องการปรึกษา 
3. ทำนัดหมาย โดยเลือกวันและเวลาที่ต้องการ แล้วเลือกรูปแบบการปรึกษาเป็น วิดีโอคอล โทร หรือ แชต จากนั้นทำการชำระเงิน หรือกรอกโค้ดส่วนลด (ถ้ามี)
4. เข้าห้องสนทนาในแอปฯ เพื่อทำการปรึกษาแพทย์ เมื่อถึงเวลานัดหมาย
5. รอสรุปผลการปรึกษาจากแพทย์ พร้อมใบสั่งยา(หากมี) โดยสามารถสั่งซื้อยา แล้วรอรับยาที่บ้านได้

 

สอบถามเพิ่มเติมได้ที่ Line ID: @mordeeapp
#MorDee #หมอดี #หมอประจำบ้านในมือคุณ #TrueHEALTH

#สัญญาณเตือน #อาการ #เช็ก #เช็กอาการ #โรคไบโพลาร์ #ไบโพลาร์ #bipolar

แชร์บทความ:

บทความอื่นๆ ที่คุณอาจสนใจ

ดูทั้งหมด

ยอมรับนโยบายการใช้คุกกี้

การตั้งค่าคุกกี้
นโยบายการใช้คุกกี้นี้ จะอธิบายถึงประเภท เหตุผล และลักษณะการใช้คุกกี้ รวมถึงวิธีการจัดการคุกกี้ ของเว็บไซต์ทั้งหมด โดยท่านสามารถดูรายการคุกกี้และตั้งค่าการยอมรับการใช้งาน ดูรายละเอียดเพิ่มเติม