icon-facebook icon-line icon-blockdit icon-twitter icon-instagram

ดาวน์โหลดเลย

ดาวน์โหลด qr-code
iconดาวน์โหลดแอปฯ MorDee
background
Bubble
Bubble
Bubble
Bubble

ชวนมารู้จัก ลมพิษ หยุดผื่นแดง คัน ที่ต้นตอ

ชวนมารู้จัก ลมพิษ หยุดผื่นแดง คัน ที่ต้นตอ icon

เมื่อมี ลมพิษ เกิดขึ้นบนผิวหนัง นอกจากอาจจะคันมาก ๆ แล้ว หลายคนคงรู้สึกตกใจ กังวลใจ เพราะผื่นแดงมักกระจายตัวเป็นวงกว้างอย่างรวดเร็ว การบรรเทา หยุดอาการลมพิษ จะต้องรู้สาเหตุ เพื่อรักษาให้ถูกจุด ด้วยวิธีการที่ถูกต้อง ตามคำแนะนำของ พญ.ณัฐพร จิตตาศิรินุวัตร แพทย์ผู้เชี่ยวชาญด้านผิวหนัง บนแอปฯ หมอดี ในบทความนี้

 

อาการและลักษณะของผื่นลมพิษ

ลมพิษเป็นผื่นคันที่เกิดขึ้นบนผิวหนัง ไม่ว่าจะเด็ก ผู้ใหญ่ หรือวัยอาวุโส ก็มีโอกาสเป็นได้ โดยพบมากที่สุดในช่วงอายุ 20-40 ปี จะมีลักษณะจำเพาะคือ เป็นผื่นแดง บวมนูน  มีขนาดไม่แน่นอน ผื่นอาจคล้ายตุ่มยุงหรือมดกัด หรืออาจมีลักษณะเป็นแผ่นแดงนูนคล้ายแผนที่ เป็นปื้น ไม่มีขุย กระจายตามผิวหนังได้ทุกบริเวณ

 

ลมพิษ สามารถเกิดที่บริเวณผิวหนังส่วนใดของร่างกายก็ได้ ในบางรายมักจะเป็น ๆ หาย ๆ และย้ายตำแหน่งไปเรื่อย ๆ บางกรณีจะเป็นผื่นสีแดงเห็นได้ชัดไม่เกิน 24 ชั่วโมง ผื่นลมพิษนั้นก็จะค่อย ๆ จางหายไป แต่บางรายอาจมีอาการมากกว่า 24 ชั่วโมง และการลามของผื่นลมพิษของแต่ละรายไม่เหมือนกัน บางรายอาจมีอาการร่วมถึงขั้นปวดท้อง แน่นจมูก หายใจติดขัด ในกรณีที่มีอาการรุนแรงมาก อาจถึงขั้นเสียชีวิตได้

 

ผื่นลมพิษแบ่งเป็น 2 ชนิด คือ

1. ลมพิษชนิดเฉียบพลัน  มักมีอาการต่อเนื่องกันไม่เกิน 6 สัปดาห์

2. ลมพิษชนิดเรื้อรัง มักจะแสดงอาการแบบเป็น ๆ หาย ๆ อย่างน้อย 2 วัน/ สัปดาห์ ต่อเนื่องกันนานเกิน 6 สัปดาห์

 

ปัจจัยและสาเหตุที่ทำให้เกิดผื่นลมพิษ

- อาการแพ้ต่าง ๆ เช่น แพ้อาหาร แพ้ยา แพ้ฝุ่น แพ้ละอองเกสร แพ้ขนสัตว์ แพ้พิษจากแมลง แพ้เครื่องสำอางแพ้สารเคมีจากการสัมผัส

- การติดเชื้อ เช่น เชื้อไวรัส เชื้อแบคทีเรีย  เชื้อรา มีพยาธิ ท้องเสีย ทอนซิลอักเสบ ฟันผุ  หูอักเสบ เป็นหวัด ฯลฯ

- อาการลมพิษที่มีสาเหตุมาจากโรคร้าย เช่น โรคต่อมไทรอยด์ โรคมะเร็ง ระบบภูมิคุ้มกันต่อต้านตัวเอง

- อิทธิพลทางกายภาพ โดยผู้ป่วยบางรายอาจเกิดผื่นลมพิษจากปฏิกิริยาของผิวหนังที่ตอบสนองผิดปกติต่อความร้อน ความเย็น น้ำหนักกดรัด แสงแดด หรือการออกกำลังกาย เป็นต้น

- พักผ่อนไม่เพียงพอ ร่างกายอ่อนแอ ความเครียด ก็เป็นสาเหตุของการเป็นลมพิษเรื้อรังได้

- อาการแพ้ไม่ทราบสาเหตุ อาการแบบนี้มักพบเป็นส่วนใหญ่ โดยเฉพาะในกลุ่มผู้ป่วยลมพิษเรื้อรัง แม้ว่าแพทย์จะได้พยายามตรวจหาสาเหตุอย่างละเอียดแล้ว แต่ก็ยังหาสาเหตุไม่พบ

 

สาเหตุ-ปัจจัย-โรคลมพิษ

 

ทำอย่างไรเมื่อเป็นผื่นลมพิษ

- หากรู้ตัวว่าเคยแพ้อะไรแล้ว ก็หลีกเลี่ยงสิ่งนั้น เช่น แพ้อาหารทะเล ก็เลี่ยงที่จะไม่รับประทาน เป็นต้น

- ใช้ยาต้านฮีสตามีนหรือยาแก้แพ้ชนิดที่ไม่ง่วง เพื่อหลีกเลี่ยงผลข้างเคียงที่จะเกิดขึ้น

- ลดความไวของผิวหนังที่มีปฏิกิริยากับสารที่ทำให้แพ้ เช่น การทาครีมที่ลดความแห้งของผิวหรือช่วยให้โครงสร้างของผิวแข็งแรงขึ้น 

- หลีกเลี่ยงการอาบน้ำอุ่น และหลีกเลี่ยงอากาศร้อนจัดหรือเย็นจัด

- หลีกเลี่ยงการใส่เสื้อผ้ารัด เพราะจะทำให้ลมพิษกำเริบบริเวณที่ถูกกดรัดได้

- แม้จะคัน แต่พยายามไม่เกา จะดีที่สุด เพราะการแกะ เกา จะทำให้ผิวหนังเกิดอาการอักเสบและจะเกิดลมพิษตามมา 

- ทายาตามคำแนะนำของแพทย์ผิวหนัง

 

ผู้ที่ต้องการทราบสาเหตุที่แน่ชัด เพื่อป้องกันการเกิดซ้ำ สามารถเข้ารับการตรวจหาสารก่อภูมิแพ้ที่โรงพยาบาลได้ และที่สำคัญคือ หากผื่นลมพิษมีอาการรุนแรง คันมาก หรือมีอาการร่วม เช่น ปวดข้อกระดูก หายใจติดขัด ควรรีบพบแพทย์

 

แต่สำหรับใครที่เป็นผื่นลมพิษด้วยอาการไม่รุนแรงนัก หรือเป็น ๆ หาย ๆ  ไม่แน่ใจว่าควรใช้ยาอะไรดี หรือต้องการปรึกษาแพทย์ รับยา แต่ไม่สะดวกไปโรงพยาบาล

 

ปรึกษาแพทย์เฉพาะทางด้านโรคผิวหนังได้โดยตรง ผ่านแอปฯ หมอดี พร้อมมีบริการจัดส่งยาให้ถึงบ้าน

 

ใช้งานแอปฯ หมอดี ได้ง่าย ๆ ด้วย 5 ขั้นตอนดังนี้

1. ดาวน์โหลดแอปฯ คลิก>> https://mordee.app.link/mordee จากนั้นเลือกเมนูโปรไฟล์ เพื่อลงทะเบียนเข้าใช้งาน

2. ไปที่หน้าแรกของแอปฯ กดแถบค้นหา เลือก แผนกโรคผิวหนัง แล้วเลือกแพทย์ที่ต้องการปรึกษา

3. ทำนัดหมาย โดยเลือกวันและเวลาที่ต้องการ แล้วเลือกรูปแบบการปรึกษาเป็น วิดีโอคอล โทร หรือ แชต จากนั้นทำการชำระเงิน หรือกรอกโค้ดส่วนลด (ถ้ามี)

4. เข้าห้องสนทนาในแอปฯ เพื่อทำการปรึกษาแพทย์ เมื่อถึงเวลานัดหมาย

5. รอสรุปผลการปรึกษาจากแพทย์ พร้อมใบสั่งยา(หากมี) โดยสามารถสั่งซื้อยา แล้วรอรับยาที่บ้านได้

 

 

สอบถามเพิ่มเติมได้ที่ Line ID: @mordeeapp

#MorDee #หมอดี #หมอประจำบ้านในมือคุณ #TrueHEALTH

 

 

#คัน #ผิวหนัง #ผื่น #ผื่นคัน #ผื่นแดง #ผื่นแพ้ #ลมพิษ #แพ้ #โรคผิวหนัง

บทความโดย

พญ. ณัฐพร จิตตาศิรินุวัตร
ผิวหนัง ชะลอวัย

พญ. ณัฐพร จิตตาศิรินุวัตร

แพทย์ผิวหนัง เชี่ยวชาญด้านความงามและเลเซอร์ และแพทย์ผู้เชี่ยวชาญด้านเวชศาสตร์ชะลอวัย

แชร์บทความ:

บทความอื่นๆ ที่คุณอาจสนใจ

ดูทั้งหมด
  • รวมเรื่องน่ารู้และข้อควรระวังของ  ยาคลายเครียด Lorazepam
    สุขภาพใจ

    รวมเรื่องน่ารู้และข้อควรระวังของ ยาคลายเครียด Lorazepam

    ยา Lorazepam ยาคลายเครียดที่หลายคนอาจเคยได้ยินชื่อ มีสรรพคุณ วิธีกิน และข้อควรระวังอะไรที่ควรทราบ พบคำตอบจากคุณหมอจากแอปฯ หมอดี ได้ที่นี่

  • ผลข้างเคียงและข้อควรระวัง ก่อนใช้ “ยาคลายเครียด”
    เภสัชกรรม

    ผลข้างเคียงและข้อควรระวัง ก่อนใช้ “ยาคลายเครียด”

    ยาคลายเครียด หรือ ยากล่อมประสาท ช่วยทำให้การทำงานของสมองในส่วนที่ควบคุมความเครียดทำงานได้ดีขึ้น ช่วยให้นอนหลับง่ายขึ้น และลดความวิตกกังวลได้ แต่การใช้ยาคลายเครียดในปริมาณมากเกินไปหรือใช้ติดต่อกันเป็นระยะเวลานาน อาจทำให้เกิดอันตรายต่อร่างกายได้

  • Emotional Engagement  ดูแลใจพนักงาน คีย์สำคัญของการพัฒนาองค์กรยุคใหม่
    สุขภาพใจ

    Emotional Engagement ดูแลใจพนักงาน คีย์สำคัญของการพัฒนาองค์กรยุคใหม่

    เทรนด์การทำ Employee Engagement ในตอนนี้คือการใส่ใจสุขภาพจิตใจของพนักงานเป็นหลัก หรือเน้นที่ Emotional Engagement โดยคำนึงถึงปัญหาเรื่องการบริหารจัดการงาน ซึ่งตัวแปรสำคัญที่จะช่วยสร้าง Emotional Engagement ได้ดี ก็คือการพัฒนาให้พนักงานมีความฉลาดทางอารมณ์ (EQ) เพราะปัญหาส่วนใหญ่จากการทำงาน ก็มักหนีไม่พ้นปัญหาเรื่องคน

  • ปวดท้องตรงนี้ ! เสี่ยงเป็นโรคอะไรบ้าง ?
    โรคทั่วไป

    ปวดท้องตรงนี้ ! เสี่ยงเป็นโรคอะไรบ้าง ?

    วันนี้มีสาระสุขภาพจาก นพ.ณัฐภัทร จันใจวงค์ แพทย์แผนกโรคทั่วไป บนแอปฯ หมอดี มาฝากกัน โดยจะชี้ให้เห็นกันชัด ๆ ว่าอาการปวดท้องที่เราหลายคนมักเป็นกันนั้น มีนัยยะของโรคอะไรซ่อนอยู่หรือเปล่า? ถ้าปวดท้องธรรมดา เช่น ท้องอืด ท้องเฟ้อ ก็พอกินยาบรรเทาได้ แต่ถ้าปวดท้องรุนแรงล่ะ! เสี่ยงต่อการเป็นโรคอะไรได้บ้าง?

ยอมรับนโยบายการใช้คุกกี้

การตั้งค่าคุกกี้
นโยบายการใช้คุกกี้นี้ จะอธิบายถึงประเภท เหตุผล และลักษณะการใช้คุกกี้ รวมถึงวิธีการจัดการคุกกี้ ของเว็บไซต์ทั้งหมด โดยท่านสามารถดูรายการคุกกี้และตั้งค่าการยอมรับการใช้งาน ดูรายละเอียดเพิ่มเติม