icon-facebook icon-line icon-blockdit icon-twitter icon-instagram

Download Now

ดาวน์โหลด qr-code
iconดาวน์โหลดแอปฯ MorDee
background
Bubble
Bubble
Bubble
Bubble

ออฟฟิศซินโดรม ปวดหลัง สัญญาณบอก(หลายๆ)โรค ที่ไม่ควรมองข้าม!! 

ออฟฟิศซินโดรม ปวดหลัง สัญญาณบอก(หลายๆ)โรค ที่ไม่ควรมองข้าม!!  icon

ต้องนั่งทำงานนานๆ ทุกวัน เหล่านี้คืออาการที่คุณต้องเจอใช่มั้ย? ปวดหลัง ปวดคอ ตึง บ่า ไหล่ ปวดหัวไมเกรน ตาแห้ง นิ้วล็อก เป็นๆ หายๆ ไม่หายขาด สักที 

 

แต่ถึงจะเป็นกันบ่อยๆ ออฟฟิศซินโดรมก็ยังเป็นอาการที่หลายๆ คนมองข้าม ไม่รีบรักษา แม้อาการยอดฮิตอย่างปวดหลังปวดก็มักคิดว่าไม่เป็นไร เอาไว้ก่อน  เป็นแป๊บเดียวเดี๋ยวก็หาย กินยาเดี๋ยวก็ดีขึ้น ไปนวดเดี๋ยวก็ดี

 

แต่จริงๆ แล้วการละเลยอาการออฟฟิศซินโดรม โดยเฉพาะการปวดหลังเรื้อรัง อาจนำไปสู่โรคที่ร้ายแรงได้ เช่น โรคหมอนรองกระดูกทับเส้นประสาท หรือโรคกระดูกสันหลังส่วนคอเสื่อม

 

ปวดหลังตรงไหน บอกโรคอะไรได้บ้าง ?


พญ.อาภารัตน์ สุริยวงศ์พงศา แพทย์ผู้เชี่ยวชาญด้านออฟฟิศซินโดรม ประจำแอปฯ หมอดี ให้ข้อควรระวังไว้ดังนี้

ออฟฟิศซินโดรม ปวดหลัง สัญญาณบอก(หลายๆ)โรคที่ไม่ควรมองข้าม!! 

#ปวดหลังส่วนบน (คอ)
+ ปวดเรื้อรังบริเวณคอบ่าไหล่ ชาร้าวไปแขน อาจมีอาการอ่อนแรงแขนและมือร่วมด้วย
⚠ เป็นสัญญาณอันตราย เสี่ยงเป็นโรคกระดูกสันหลังส่วนคอเสื่อมทับเส้นประสาท

#ปวดหลังส่วนล่าง
+ ปวดหลังส่วนล่างเมื่อนั่งนานๆ อาจมีอาการปวดชาร้าวลงขา  หรืออ่อนแรงขาร่วมด้วยได้ 
⚠ เป็นสัญญาณอันตราย เสี่ยงเป็นโรคหมอนรองกระดูกทับเส้นประสาท

+ ปวดหลังส่วนล่าง มักเป็นตอนตื่นนอนตอนเช้า ขยับแล้วดีขึ้นบ้าง 
⚠ เป็นสัญญาณอันตราย เสี่ยงเป็นโรคความเสื่อมข้อติดกระดูกสันหลัง

+ ปวดหลังส่วนล่างชาร้าวลงขา มักเป็นขณะยืนเดิน 
⚠ เป็นสัญญาณอันตราย เสี่ยงเป็นโรคช่องกระดูกสันหลังตีบ

หากมีอาการปวดหลังเรื้อรัง ปวดตรงจุดเดิมซ้ำๆ ไม่ควรนิ่งนอนใจ อาจเป็นสัญญาณเตือนบ่งบอกความผิดปกติของร่างกายหรือโรคต่างๆ 

 

——

 

แต่นอกจากอาการยอดฮิตของออฟฟิศซินโดรมอย่างการปวดหลัง ยังมีอาการเสี่ยงอื่นๆ อีกที่ไม่ควรละเลยเช่นกัน 

ลองมาเช็กกันหน่อยว่ามีความเสี่ยงเป็น ออฟฟิศซินโดรมหรือเปล่า?  หากส่วนใหญ่คำตอบคือ “ใช่” คุณอาจจะกำลังมีความเสี่ยงสูงที่จะเป็น ออฟฟิศซินโดรม

 

มาเช็กความเสี่ยง ออฟฟิศซินโดรม ของคุณกัน

ชวนเช็กอาการเสี่ยงออฟฟิศซินโดรม
 
☑ ต้องนั่งทำงานในท่าเดิมนาน ๆ หรือทำงานหน้าคอมพิวเตอร์ติดต่อกัน
นานเกิน 6 ชั่วโมงต่อวัน 
☑ มีอาการปวดหัวเรื้อรัง มีอาการปวด หลัง คอ บ่า ไหล่ แบบเรื้อรัง
☑ เกิดอาการชา ตามมือ เท้า หรือนิ้ว 
☑  รู้สึกตาพร่ามัว อ่านหน้าจอไม่ชัด ระหว่างทำงาน
☑  อาการปวดค่อนข้างกระทบกับการใช้ชีวิตประจำวัน หลายครั้งต้องกินยาเพื่อระงับความปวด

หากมีอาการหรือมีความเสี่ยงเป็น ออฟฟิศซินโดรม แนะนำให้ปรึกษาแพทย์ เพราะหากเป็นแล้วปล่อยให้เรื้อรัง อาจทำให้การรักษายากขึ้น และต้องใช้ระยะเวลาในการฟื้นฟูร่างกายนานขึ้น

 

ชวนมาปรึกษาแพทย์ ผู้เชี่ยวชาญ ผ่านแอปฯ หมอดี เพื่อให้แพทย์ช่วยวินิจฉัย และรักษาอย่างถูกต้อง เรามีแพทย์เฉพาะทางด้านออฟฟิศซินโดรมพร้อมดูแลคุณ และหากต้องรับยา ก็มีการจัดส่งยาถึงบ้าน

 

5 ขั้นตอนง่ายๆ ในการใช้งานแอปฯ หมอดี 
1. ดาวน์โหลดแอปฯ คลิก>> https://mordee.app.link/mordee จากนั้นเลือกเมนูโปรไฟล์ เพื่อลงทะเบียนเข้าใช้งาน
2. ไปที่หน้าแรกของแอปฯ กดแถบค้นหา แล้วเลือกแผนกออฟฟิศซินโดรม 
3. เลือกแพทย์ที่ต้องการปรึกษา แล้วทำนัดหมายโดยเลือกวันและเวลาที่ต้องการ สามารถเลือกรูปแบบการปรึกษาเป็น วิดีโอคอล โทร หรือ แชต จากนั้นทำการชำระเงิน หรือกรอกโค้ดส่วนลด (ถ้ามี)
4. เข้าห้องสนทนาในแอปฯ เพื่อทำการปรึกษาแพทย์ เมื่อถึงเวลานัดหมาย
5. รอสรุปผลการปรึกษาจากแพทย์ พร้อมใบสั่งยา(หากมี) โดยสามารถสั่งซื้อยา แล้วรอรับยาที่บ้านได้

 

สอบถามเพิ่มเติมได้ที่ Line ID: @mordeeapp

 

#หมอดี #MorDee #หมอประจำบ้านในมือคุณ #TrueHEALTH 
#ปวดหลัง #ปวดคอบ่าไหล่ #หมอนรองกระดูกทับเส้นประสาท #ออฟฟิศซินโดรม #OfficeSyndrome

#ปวดหลัง #officesyndrome

share:

บทความอื่นๆ ที่คุณอาจสนใจ

ดูทั้งหมด
  • หยุดปวดหัว ไมเกรน เข้าใจสาเหตุและวิธีการรักษาอย่างตรงจุด
    Internal Medicine

    หยุดปวดหัว ไมเกรน เข้าใจสาเหตุและวิธีการรักษาอย่างตรงจุด

    อาการปวดไมเกรน ส่วนมากจะปวดหัวแค่ข้างเดียว หรือทั้งสองข้าง โดยเกณฑ์วินิจฉัยผู้ป่วยที่มีอาการปวดศีรษะที่เข้าได้กับโรคไมเกรน จะมีอาการปวดนาน 4 – 72 ชั่วโมง และอาการปวดที่มีลักษณะเป็นไมเกรน ได้แก่ ปวดตุ๊บๆ ปวดขมับ อาการปวดปานกลางหรือรุนแรง

  • โรคร้ายมาเยือนไว หากเป็น โรคอ้วน
    General Health

    โรคร้ายมาเยือนไว หากเป็น โรคอ้วน

    โรคอ้วนทำให้คนไทยกว่า 20 ล้านคน มีสุขภาพแย่กว่าที่คิด ควรจะเป็น และทราบหรือไม่? ว่าโรคอ้วนเป็นสาเหตุสำคัญที่ทำให้เกิดโรคร้ายแรงต่าง ๆ ตามมาได้ เช่น โรคหลอดเลือดหัวใจและสมอง โรคความดันโลหิตสูง โรคไขมันในเลือดสูง โรคเบาหวาน และโรคอื่น ๆ อีกมากมาย

  • นมวัว ดื่มให้ถูกวิธี ดีต่อสุขภาพ ไกลผลข้างเคียง
    Nutrition

    นมวัว ดื่มให้ถูกวิธี ดีต่อสุขภาพ ไกลผลข้างเคียง

    เพื่อให้ได้ประโยชน์จากนมวัวอย่างเต็มที่ และไกลผลข้างเคียง นักโภชนาการ จากแอปฯ หมอดี มีวิธีดื่มนมวัวอย่างถูกวิธีมาแบ่งปันกันค่ะ

  • ข้าวกล้อง ความอร่อยที่มากประโยชน์
    Nutrition

    ข้าวกล้อง ความอร่อยที่มากประโยชน์

    เมื่อพูดถึงอาหารเพื่อสุขภาพ ข้าวกล้อง จัดเป็นหนึ่งในตัวเลือกอันดับต้น ๆ ที่ใครหลายคนนึกถึง ข้าวชนิดนี้ดีกว่าข้าวขาวอย่างไร? คุณหมอจากแอปฯ หมอดี มีคำตอบ

ยอมรับนโยบายการใช้คุกกี้

การตั้งค่าคุกกี้
นโยบายการใช้คุกกี้นี้ จะอธิบายถึงประเภท เหตุผล และลักษณะการใช้คุกกี้ รวมถึงวิธีการจัดการคุกกี้ ของเว็บไซต์ทั้งหมด โดยท่านสามารถดูรายการคุกกี้และตั้งค่าการยอมรับการใช้งาน ดูรายละเอียดเพิ่มเติม