icon-facebook icon-line icon-blockdit icon-twitter icon-instagram

Download Now

ดาวน์โหลด qr-code
iconดาวน์โหลดแอปฯ MorDee
background
Bubble
Bubble
Bubble
Bubble

ปวดท้องน้อยขวา เขาว่าไส้ติ่งอักเสบ ปวดท้องน้อยด้านซ้าย เป็นอะไร?

ปวดท้องน้อยขวา เขาว่าไส้ติ่งอักเสบ ปวดท้องน้อยด้านซ้าย เป็นอะไร? icon

อาการปวดท้องน้อยด้านขวาที่เราเคยได้ยินบ่อย ๆ มักจะเสี่ยงต่อการเป็นโรคไส้ติ่งอักเสบ แต่ถ้าปวดท้องน้อยด้านซ้ายล่ะ คุณรู้หรือไม่ว่าเสี่ยงต่อการป่วยเป็นอะไรบ้าง? วันนี้คุณหมอจากแอปฯ หมอดีมีคำตอบมาฝากกัน ใครที่ปวดท้องตรงนี้บ่อย ๆ อย่าชะล่าใจ เพราะท้องน้อยด้านซ้าย เป็นจุดรวมอวัยวะสำคัญหลายอย่างเลยทีเดียว 

 

คุณเคยปวดท้องน้อยด้านซ้ายแบบไหนบ้าง? 

ลักษณะอาการปวด บอกความเสี่ยงโรคได้

 

ปวดจี๊ด
ปกติแล้วอาการปวดท้องข้างซ้ายแบบจี๊ด ๆ นั้นมีสาเหตุที่ไม่ต่างกันมากนักในผู้หญิงและผู้ชาย เพราะอาจหมายถึงว่ากำลังมีปัญหาสุขภาพที่เกี่ยวข้องกับลำไส้ ไต ท่อไต กรวยไตและกระเพาะปัสสาวะ สำหรับผู้หญิงอาการปวดท้องน้อยด้านซ้ายอาจจะมีปัญหารวมไปถึงเรื่องเกี่ยวกับมดลูก ปีกมดลูกและรังไข่ที่ด้านซ้ายด้วย แต่สำหรับผู้ชาย สาเหตุการปวดอาจมาจากความผิดปกติของต่อมลูกหมาก 

 

ปวดหน่วง ปวดเกร็ง
ถ้ามีอาการปวดเกร็งที่ท้องน้อยเป็นระยะร่วมกับมีปวดร้าวมาที่ต้นขา อาจสงสัยได้ว่าเป็นโรคนิ่วในท่อไต ถ้ามีอาการปวดร่วมกับมีไข้ ตกขาว อาจเป็นอาการของโรคมดลูกอักเสบ ถ้าปวดหน่วงร่วมกับการถ่ายอุจจาระผิดปกติ อาจเสี่ยงเป็นโรคลำไส้ใหญ่อักเสบได้ แต่ถ้าหากคลำพบก้อนและยังมีอาการท้องผูกเป็นประจำ อาจเสี่ยงเป็นโรคเนื้องอกในลำไส้

 

ปวดร้าวถึงด้านหลัง-ต้นขา
ปวดท้องน้อยด้านซ้ายและปวดบั้นเอวซ้าย เป็นตำแหน่งของท่อไต ไต ลำไส้ใหญ่ หากปวดท้องน้อยด้านซ้ายแล้วร้าวด้านหลังถึงต้นขาก็อาจเป็นอาการของนิ่วในท่อไต และหากปวดร่วมกับปวดหลัง มีไข้ หนาวสั่น ปัสสาวะสีขุ่น อาจเป็นอาการของกรวยไตอักเสบ ให้รีบไปพบแพทย์

 


อาการปวดท้องน้อยด้านซ้าย ยังสามารถมีสาเหตุ มาจากโรคเหล่านี้ได้

 

แก๊สเกิน
เราอาจปวดท้องน้อยด้านซ้ายได้ หากมีแก๊สสะสมอยู่มากเกินไปในลำไส้ ไปจนถึงทวารหนัก ซึ่งเกิดขึ้นจากการย่อยอาหารที่ไม่ปกติ โดยหากมีภาวะแก๊สเกินในร่างกาย อาจมีอาการอื่น ๆ ร่วมด้วย เช่น ท้องอืด แน่นท้อง คลื่นไส้ อาเจียน ท้องเสีย หรือท้องผูก เป็นต้น

 

โรคไส้เลื่อน
อาการปวดท้องน้อยด้านซ้ายเกิดจากภาวะที่ชั้นไขมันหรือบางส่วนของลำไส้เล็ก เคลื่อนออกมาจากตำแหน่งเดิม จนมีลักษณะเป็นก้อนตุงอยู่บริเวณช่องท้องหรือขาหนีบ ผู้ป่วยอาจมีก้อนตุงที่ขยายใหญ่ขึ้น ปวดบริเวณที่ไส้เลื่อนมากขึ้น โดยอาจมีอาการปวดเมื่อยกสิ่งของ ปวดตื้อหรือรู้สึกแน่นท้องร่วมด้วยได้เช่นกัน

 

โรคเกี่ยวกับสุขภาพทางเพศของผู้หญิง
อาการปวดท้องน้อยของผู้หญิงมักเป็นปัญหาเกี่ยวกับรังไข่และมดลูก เช่น การปวดประจำเดือน เยื่อบุโพรงมดลูกเจริญผิดที่ ถุงน้ำในรังไข่หลายใบ ภาวะรังไข่บิดขั้ว การตั้งครรภ์นอกมดลูก และการติดเชื้อในอุ้งเชิงกราน เป็นต้น

 

โรคเกี่ยวกับสุขภาพทางเพศของผู้ชาย
นอกจากโรคไส้เลื่อน ภาวะอัณฑะบิดขั้วอาจส่งผลให้ผู้ชายเกิดการอาการปวดท้องน้อยด้านซ้ายได้เช่นกัน ทั้งนี้ หากมีภาวะอัณฑะบิดขั้วนับจะมีอาการปวดที่รุนแรง ควรปรึกษาแพทย์เพื่อรับการรักษาโดยเร็ว

 

นอกจากนี้ ยังมีบางสาเหตุที่ส่งผลให้เกิดอาการปวดท้องน้อยด้านซ้ายได้ เช่น ท้องผูกหรือการถ่ายอุจจาระน้อยกว่า 3 ครั้งต่อสัปดาห์ การที่ต้องเบ่งหรือกดหน้าท้องเพื่อช่วยในการถ่ายอุจจาระ ก็อาจทำให้เกิดอาการเจ็บ ปวด ในจุดที่กดได้

ปวดท้องน้อยด้านซ้ายเสี่ยงอะไรบ้าง


สาระสุขภาพโดย พญ.ปวิตรา วาสุเทพรังสรรค์ อายุรแพทย์ เชี่ยวชาญด้านโรคไต บนแอปฯ หมอดี 

 

 

อย่างไรก็ตาม การสังเกตตำแหน่งที่ปวดท้อง และลักษณะอาการปวด จะช่วยให้รู้เท่าทันถึงความเสี่ยงต่อโรคต่าง ๆ ได้ในเบื้องต้นเท่านั้น หากมีอาการที่เข้าข่ายความเสี่ยง ยังจำเป็นที่จะต้องเข้ารับการวินิจฉัยโดยแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ เพื่อให้ได้รับการรักษาอย่างตรงจุดมากที่สุด

 

ปรึกษาแพทย์แบบออนไลน์ ได้ง่ายๆ ผ่านแอปฯ หมอดี

พร้อมมีบริการจัดส่งยาให้ถึงบ้าน เพียงทำตาม 5 ขั้นตอนดังนี้


1. ดาวน์โหลดแอปฯ คลิก>> https://mordee.app.link/mordee จากนั้นเลือกเมนูโปรไฟล์ เพื่อลงทะเบียนเข้าใช้งาน
2. ไปที่หน้าแรกของแอปฯ กดแถบค้นหา เลือกแพทย์หรือแผนกที่ต้องการปรึกษา สำหรับอาการปวดท้อง แนะนำ แผนกโรคทั่วไป หรือแผนกอายุรกรรม
3. เลือกแพทย์ที่ต้องการปรึกษา แล้วทำนัดหมาย โดยเลือกวันและเวลาที่ต้องการ แล้วเลือกรูปแบบการปรึกษาเป็น วิดีโอคอล โทร หรือ แชต จากนั้นทำการชำระเงิน หรือกรอกโค้ดส่วนลด (ถ้ามี) 
4. เข้าห้องสนทนาในแอปฯ เพื่อทำการปรึกษาแพทย์ เมื่อถึงเวลานัดหมาย
5. รอสรุปผลการปรึกษาจากแพทย์ พร้อมใบสั่งยา(หากมี) โดยสามารถสั่งซื้อยา แล้วรอรับยาที่บ้านได้

 

สอบถามเพิ่มเติมได้ที่ Line ID: @mordeeapp

#MorDee #หมอดี #หมอประจำบ้านในมือคุณ #TrueHEALTH
 

#ปวดท้อง #ปวดท้องน้อย

share:

บทความอื่นๆ ที่คุณอาจสนใจ

ดูทั้งหมด

ยอมรับนโยบายการใช้คุกกี้

การตั้งค่าคุกกี้
นโยบายการใช้คุกกี้นี้ จะอธิบายถึงประเภท เหตุผล และลักษณะการใช้คุกกี้ รวมถึงวิธีการจัดการคุกกี้ ของเว็บไซต์ทั้งหมด โดยท่านสามารถดูรายการคุกกี้และตั้งค่าการยอมรับการใช้งาน ดูรายละเอียดเพิ่มเติม