แพ้อากาศ แพ้ฝุ่น ควัน คัดจมูก น้ำมูกไหล ยาแก้แพ้ช่วยได้ แต่จะเลือกอย่างไรดี... เพราะยาตัวนี้มีหลายแบบ มีตั้งแต่สำหรับอาการน้อยไปจนถึงอาการขั้นรุนแรง
วันนี้มาเตรียมพร้อมรับมือกับอาการแพ้ ด้วยการรู้จัก ยาแก้แพ้ แบบต่าง ๆ ได้จากบทความของ ภญ. มนทิรา ติยะศิริโชคชัย เภสัชกรบนแอปฯ หมอดี กันได้เลย จะได้เลือกใช้ยาแก้แพ้อย่างถูกต้อง และปลอดภัย
ทำความรู้จักยาแก้แพ้
ยาแก้แพ้ (Antihistamine) ช่วยป้องกันหรือบรรเทาอาการแพ้ อันเกิดจากการที่ร่างกายรับรู้ได้ถึงความผิดปกติ ว่าได้มีสิ่งแปลกปลอมเข้ามาในร่างกาย จึงได้มีการหลั่งสารฮิสตามีน (Histamine) ซึ่งเป็นตัวกระตุ้นจนทำให้เกิดปฏิกิริยาเป็นอาการแพ้ต่าง ๆ ตามมา เช่น น้ำมูกและน้ำตาไหลไม่หยุด เยื่อตาอักเสบ หรืออาการผื่นคันตามผิวหนัง เป็นต้น ยาแก้แพ้จะช่วยยับยั้งสารดังกล่าว และบรรเทาอาการแพ้ได้
แต่ทั้งนี้ ยาแก้แพ้จะมีหลายประเภท เหมาะการใช้บรรเทาอาการที่แตกต่างกัน ผู้ป่วยควรปรึกษาแพทย์หรือเภสัชกรก่อนใช้ยาจะดีที่สุด เพื่อให้ได้รับยาและการรักษาที่ตรงกับอาการ รวมถึงป้องกันโอกาสเกิดผลข้างเคียง และได้รับยาในขนาดที่ถูกต้องเหมาะสมตรงกับโรคหรืออาการที่เป็นอยู่
การเลือกใช้ยาแก้แพ้
ยาแก้แพ้มีหลายรูปแบบ ดังนี้
1) ยาแก้แพ้แบบเม็ด ช่วยบรรเทาอาการแพ้และช่วยลดน้ำมูกซึ่งมีทั้งเม็ดสีเหลือง (Chlorpheniramine) สีฟ้า (Diphenhydramine) ทำให้ง่วง เพราะสามารถผ่านเข้าสู่สมองและไปกดประสาทได้ และเม็ดสีขาว (Cetirizine, Loratadine) อาจทำให้ไม่ง่วงหรือง่วงนอนน้อยกว่า เพราะผ่านเข้าสู่สมองน้อยมากจึงลดอาการง่วงลงได้
2) ยาแก้แพ้แบบน้ำ มีลักษณะเป็นยาน้ำเชื่อมเพื่อให้รับประทานง่ายขึ้น นิยมใช้ในผู้ป่วยเด็กเล็กที่มีอายุตั้งแต่ 2 ปีขึ้นไปจนถึงเด็กโตขนาดที่ได้รับจะขึ้นอยู่กับน้ำหนักของคนไข้
3) ยาแก้แพ้แบบฉีด ใช้สำหรับผู้ที่มีอาการแพ้อย่างรุนแรง เช่น ลิ้นบวม ปากบวม เยี่อบุรอบตาบวม หายใจลำบากหรือติดขัด หรืออาจมีอาการรุนแรงร่วมกันหลายอาการ
การใช้ยาแก้แพ้ควรใช้ในปริมาณที่มีความเหมาะสมและควรใช้เมื่อมีอาการ ซึ่งการใช้เพื่อลดอาการแพ้ทั่วไปและลดน้ำมูกที่เกิดจากอาการแพ้ มักให้รับประทาน Cetirizine ครั้งละ 5 – 10 มิลลิกรัม สำหรับผู้ใหญ่ ในหนึ่งวัน แต่ในกรณีผื่นแพ้บางชนิดที่มีอาการรุนแรง สามารถปรับขนาดยาขึ้นสูงสุดได้ที่ 40 มิลลิกรัมต่อวัน(ต้องอยู่ในการดูแลของแพทย์และเภสัชกร) หรืออาจให้รับประทาน Loratadine รับประทานครั้งละ 10 มิลลิกรัมต่อวัน ตัวยา 2 ตัวนี้ไม่มีผลข้างเคียงเรื่องการง่วงนอน หรือง่วงนอนน้อยกว่าเมื่อเทียบกับตัวยา Chlorpheniramine และออกฤทธิ์ได้นานกว่าตัวยา Chlorpheniramine
แต่ทั้งนี้ ยาแก้แพ้จะมีหลายประเภท เหมาะการใช้บรรเทาอาการที่แตกต่างกัน ผู้ป่วยควรปรึกษาแพทย์หรือเภสัชกรก่อนใช้ยาจะดีที่สุด เพื่อให้ได้รับยาและการรักษาที่ตรงกับอาการ รวมถึงป้องกันโอกาสเกิดผลข้างเคียง และได้รับยาในขนาดที่ถูกต้องเหมาะสมตรงกับโรคหรืออาการที่เป็นอยู่
นอกจากนี้ มียาแก้แพ้บางตัว ที่สามารถใช้ลดอาการเมารถ เมาเรือ ได้ เนื่องจากมีฤทธิ์ช่วยเรื่องอาการคลื่นไส้ อาเจียน เวียนศีรษะ คือ Dimenhydrinate รับประทานครั้งละ 50 มิลลิกรัม โดยให้รับประทานก่อนขึ้นรถ หรือขึ้นเรือ อย่างน้อย ครึ่งชั่วโมง ครั้งละ 1 เม็ด ทุก 6 ชั่วโมง แต่ยานี้มีผลข้างเคียงทำให้ง่วงนอน
ข้อควรรู้เกี่ยวกับการใช้ยาแก้แพ้
ผู้ที่ไม่ควรใช้ยาแก้แพ้ ได้แก่ ผู้ป่วยโรคตับ โรคไต ผู้ป่วยโรคหอบหืด รวมไปถึงผู้ที่มีความดันโลหิตสูง ผู้ที่ดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ ผู้ที่กินยาคลายกล้ามเนื้อบางตัว รวมทั้งผู้ที่กินยานอนหลับ ยาต้านอาการซึมเศร้า เพราะยากลุ่มนี้มีฤทธิ์กดระบบประสาท เมื่อรับประทานร่วมกันจะเสริมฤทธิ์ให้ยิ่งการกดระบบประสาทมากเกินไปและเป็นอันตรายได้
การกินยาแก้แพ้ ควรกินอย่างถูกวิธีและควรได้รับคำแนะนำที่ถูกต้องจากแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ นอกจากนี้ควรหลีกเลี่ยงการทานอาหารที่มีประวัติว่าเคยแพ้มาก่อน
หากมีอาการแพ้เรื้อรัง มีอาการแพ้ที่น่าสงสัย หรืออยากปรึกษาเรื่องยาแก้แพ้ สามารถปรึกษาแพทย์หรือเภสัชกรผ่านแอปฯ หมอดี ได้ง่ายๆ โดยไม่ต้องไป รพ. พร้อมมีบริการจัดส่งยาถึงบ้าน
5 ขั้นตอนง่ายๆ ในการใช้แอปฯ หมอดี
1. ดาวน์โหลดแอปฯ หมอดี คลิก>> https://mordee.app.link/mordee จากนั้นเลือกเมนูโปรไฟล์ เพื่อลงทะเบียนเข้าใช้งาน
2. ไปที่หน้าแรกของแอปฯ กดแถบค้นหา แล้วเลือกแผนกหรืออาการที่ต้องการปรึกษา โดยหากต้องการปรึกษาเกี่ยวกับยาแก้แพ้ ภูมิแพ้ อาจเลือก แผนกหูคอจมูก แผนกโรคทั่วไป หรือแผนกเภสัชกรรม
3. ทำนัดหมาย โดยเลือกวันและเวลาที่ต้องการ แล้วเลือกรูปแบบการปรึกษาเป็น วิดีโอคอล โทร หรือ แชต จากนั้นทำการชำระเงิน หรือกรอกโค้ดส่วนลด (ถ้ามี)
4. เข้าห้องสนทนาในแอปฯ เพื่อทำการปรึกษา เมื่อถึงเวลานัดหมาย
5. รอสรุปผลการปรึกษา พร้อมใบสั่งยาจากแพทย์ (หากมี) โดยสามารถสั่งซื้อยา แล้วรอรับยาที่บ้านได้
สอบถามเพิ่มเติมได้ที่ Line ID: @mordeeapp
#หมอดี #MorDee #หมอประจำบ้านในมือคุณ #TrueHEALTH
#ยาแก้แพ้ #ยาลดน้ำมูก #ยาประจำบ้าน