วันนี้มีสาระสุขภาพจาก นพ.ณัฐภัทร จันใจวงค์ แพทย์แผนกโรคทั่วไป บนแอปฯ หมอดี มาฝากกัน โดยจะชี้ให้เห็นกันชัด ๆ ว่าอาการปวดท้องที่เราหลายคนมักเป็นกันนั้น มีนัยยะของโรคอะไรซ่อนอยู่หรือเปล่า? ถ้าปวดท้องธรรมดา เช่น ท้องอืด ท้องเฟ้อ ก็พอกินยาบรรเทาได้ แต่ถ้าปวดท้องรุนแรงล่ะ! เสี่ยงต่อการเป็นโรคอะไรได้บ้าง?
ในการตรวจเช็กอาการและสาเหตุเบื้องต้นของอาการปวดท้อง เราสามารถดูจากตำแหน่งที่ปวด รวมถึงอาการร่วมต่าง ๆ ที่มีได้ ซึ่งมีรายละเอียดอย่างไรนั้น ดูคำแนะนำจากคุณหมอที่แต่ละภาพในบทความนี้ได้เลย ปวดรอบสะดือ และท้องช่วงบน เสี่ยงเป็นโรคอะไรบ้าง ?
หากใครอยากลองคลำท้องดูว่าตำแหน่งจุดปวดคร่าว ๆ อยู่บริเวณไหน ก็สามารถทำได้โดยการวัดจากตำแหน่งรอบสะดือเป็นจุดแรก จุดถัดไปห่างกันประมาณ 1 ฝ่ามือเหนือสะดือ จะเป็นท้องช่วงบน (เรียกง่าย ๆ ว่าอยู่ใต้หน้าอกและชายซี่โครง) ส่วนด้านล่างสะดือ จะเป็นท้องช่วงล่าง และสำหรับด้านซ้าย/ขวา ยึดร่างกายของคนป่วยเป็นหลัก
ปวดรอบสะดือ และท้องช่วงบน เสี่ยงเป็นโรคอะไรบ้าง?
1) ปวดท้องบริเวณ ด้านขวา ช่วงบน (เหนือสะดือเยื้องไปทางขวามือผู้ป่วย /ใต้ชายโครงขวา)
หากปวดท้องมากบริเวณนี้ อาจเกี่ยวกับโรคที่กิดจากตับ ถุงน้ำดี ลำไส้ที่อยู่บริเวณนี้และไตขวา เช่น ตับอักเสบ กรวยไตขวาอักเสบ นิ่วในไตขวา เป็นต้น และสามารถสังเกตสัญญาณของโรคนิ่วในถุงน้ำดีได้ หากมีอาการปวดบิดรุนแรง ที่อาจปวดร้าวมาที่ไหล่ขวาหรือบริเวณหลังตรงใต้สะบักขวา ร่วมกับมีอาการคลื่นไส้และอาเจียน บางคนอาจปวดรุนแรงจนเป็นลม อาการปวดท้องมักเป็นหลังกินอาหารมันหรือกินอาหารมื้อหนัก
2) ปวดท้องบริเวณเหนือสะดือ (ใต้ลิ้นปี่)
หากปวดตรงบริเวณนี้อย่างรุนแรง อาจเสี่ยงเป็นโรคที่เกิดจากกระเพาะอาหาร หลอดอาหาร ถุงน้ำดี เช่น โรคกระเพาะอาหารอักเสบ กรดไหลย้อน นิ่วในถุงน้ำดี เป็นต้น ซึ่งโรคเหล่านี้ก็ต้องดูอาการอื่น ๆ ประกอบด้วยจึงจะชี้ชัดได้ บางกรณีอาจจะต้องสแกนช่องท้องในการตรวจโรค นอกจากนี้ หากคลำเจอก้อนเนื้อขนาดใหญ่และค่อนข้างแข็ง อาจหมายถึงตับโต ควรรีบพบแพทย์
3) ปวดท้องบริเวณด้านซ้าย ช่วงบน (เหนือสะดือเยื้องไปทางซ้ายมือผู้ป่วย /ใต้ชายโครงซ้าย)
เสี่ยงต่อโรคที่เกิดจากความผิดปกติของกระเพาะอาหาร ม้าม ตับอ่อน ไตซ้าย และลำไส้ที่อยู่บริเวณนี้ เช่น โรคกระเพาะอาหารอักเสบ ตับอ่อนอักเสบ ม้ามแตก กรวยไตช้ายอักเสบ นิ่วในไตช้าย เป็นต้น อาการปวดบริเวณนี้บางโรคก็เกิดอย่างช้า ๆ และทวีความปวดขึ้นเรื่อย ๆ เช่น โรคกระเพาะอาหารอักเสบ แต่ถ้าหากเป็นกรณีที่ม้ามแตกมักจะเกิดจากการกระทบกระเทือนอย่างรุนแรง ถือเป็นอาการฉุกเฉิน
ปวดท้องช่วงรอบสะดือ ช่วงกลางท้อง บริเวณบั้นเอวซ้าย และขวา เสี่ยงเป็นโรคอะไรบ้าง ?
4) ปวดท้องบริเวณกลางท้อง ค่อนไปทางบั้นเอวขวา
หากปวดมากบริเวณนี้เสี่ยงต่อโรคลำไส้ใหญ่อักเสบ และโรคที่เกี่ยวกับไต-ท่อไต ถ้าเป็นที่ลำไส้ใหญ่มักจะมีอาการปวดรุนแรง ถ้าหากเป็นนิ่วในท่อไต อาการปวดมักมีร่วมกับปวดหลัง มีไข้ หนาวสั่น ปัสสาวะขุ่น
5) ปวดท้องบริเวณกลางท้อง รอบสะดือ
ถ้าปวดมาก มักจะเป็นโรคที่เกิดจากลำไส้เล็ก อาจเกิดจากลำไส้อักเสบ และหากมีอาการปวดมากจนแทบทนไม่ไหว ปวดบิดเป็นพัก ๆ คล้ายอาการปวดถ่ายท้องเสีย ก่อนที่อาการปวดจะย้ายไปบริเวณด้านขวาช่วงล่าง อาจสงสัยได้ว่าเป็นไส้ติ่งอักเสบ
6) ปวดท้องบริเวณกลางท้อง ค่อนไปทางบั้นเอวซ้าย
หากมีอาการปวดรุนแรงมักจะเป็นอาการของลำไส้ใหญ่อักเสบ นอกจากนี้ ต้องดูอาการร่วม เช่น หากปวดร้าวถึงต้นขาก็อาจเป็นอาการของนิ่วในท่อไต หรือถ้าปวดท้องบริเวณนี้ร้าวไปจนถึงหลัง มีไข้ หนาวสั่น ปัสสาวะขุ่น อาจเป็นอาการของกรวยไตอักเสบ
ปวดท้องช่วงล่าง เสี่ยงเป็นโรคอะไรบ้าง ?
7) ปวดท้องบริเวณด้านขวา ช่วงล่าง (ท้องน้อยขวา)
เสี่ยงต่อโรคที่เกิดจากไส้ติ่ง ลำไส้ที่อยู่บริเวณนี้ ปีกมดลูกด้านขวา เช่น ไส้ติ่งอักเสบ ปีกมดลูกขวาอักเสบ เป็นต้น
หากปวดเสียดตลอดเวลากดแล้วเจ็บมาก สิ่งที่เป็นไปได้คือ ไส้ติ่งอักเสบ หรือมีอาการปวดเกร็งเป็นระยะ ๆ แล้วร้าวมาที่ต้นขา กรณีนี้เสี่ยงเป็นกรวยไตอักเสบได้ และหากปวดท้องบริเวณนี้ ร่วมกับมีไข้สูง หนาวสั่น มีตกขาวมักจะเป็นอาการของปีกมดลูกอักเสบ
8) ปวดท้องบริเวณท้องน้อย (ใต้สะดือ เหนือหัวหน่าว)
ตรงบริเวณนี้จะเป็นตำแหน่งของกระเพาะปัสสาวะและมดลูก กรณีปวดเฉพาะปวดเวลาถ่ายปัสสาวะ ร่วมกับอาการถ่ายปัสสาวะแบบกะปริบกะปรอย มักเป็นอาการที่เสี่ยงต่อโรคกระเพาะปัสสาวะอักเสบ หรือ นิ่วในกระเพาะปัสสาวะ สำหรับผู้หญิง ถ้ามีอาการปวดเกร็งเวลามีประจำเดือน มีอาการปวดเรื้อรัง สันนิษฐานได้ว่าอาจเกิดจากอาการมดลูกผิดปกติ ควรรีบพบแพทย์
9) ปวดท้องบริเวณด้านซ้าย ช่วงล่าง (ท้องน้อยซ้าย)
ถ้าปวดมากบริเวณนี้ให้สังเกตอาการร่วม เช่น โรคที่เกิดจากความผิดปกติของลำไส้ใหญ่มักจะแสดงอาการร่วมกับการถ่ายอุจจาระที่คล้ายกับอาการท้องเสีย หากปวดบริเวณนี้โดยมีอาการเกร็งเป็นระยะ และร้าวมาที่ต้นขาซ้าย อาจเป็นไปได้ว่าจะเกิดนิ่วในท่อไต หรือหากคลำพบก้อนร่วมกับอาการท้องผูกเป็นประจำ เป็นไปได้ว่าจะมีเนื้องอกในลำไส้และอาจจะเป็นมะเร็งลำไส้ได้ในอนาคต และสำหรับผู้หญิง หากปวดร่วมกับมีไข้ หนาวสั่น มีตกขาว จะเป็นอาการอักเสบของมดลูกอาการปวดท้องในผู้ป่วยแต่ละราย มีลักษณะอาการ สาเหตุ และวิธีรักษาที่แตกต่างกัน จำเป็นต้องมีการซักประวัติเป็นรายบุคคล การอดทนหรือซื้อยารับประทานเอง อาจเสี่ยงกว่าที่คิด
หากคุณมีอาการปวดท้อง และไม่แน่ใจว่าเป็นอะไรกันแน่ ปรึกษาหมอโดยเร็วจะดีที่สุด
ปรึกษาหมอออนไลน์ ได้ง่ายๆ ผ่านแอปฯ หมอดี เพียงทำตาม 5 ขั้นตอนดังนี้
1. ดาวน์โหลดแอปฯ คลิก>> https://mordee.app.link/mordee จากนั้นเลือกเมนูโปรไฟล์ เพื่อลงทะเบียนเข้าใช้งาน
2. ไปที่หน้าแรกของแอปฯ กดแถบค้นหา พิมพ์ชื่อหมอ “นพ.ณัฐภัทร จันใจวงค์” หรือ กดเลือกแผนก “โรคทั่วไป”
3. เลือกแพทย์ที่ต้องการปรึกษา แล้วทำนัดหมาย โดยเลือกวันและเวลาที่ต้องการ แล้วเลือกรูปแบบการปรึกษาเป็น วิดีโอคอล โทร หรือ แชต จากนั้นทำการชำระเงิน หรือกรอกโค้ดส่วนลด (ถ้ามี)
4. เข้าห้องสนทนาในแอปฯ เพื่อทำการปรึกษาแพทย์ เมื่อถึงเวลานัดหมาย
5. รอสรุปผลการปรึกษาจากแพทย์ พร้อมใบสั่งยา(หากมี) โดยสามารถสั่งซื้อยา แล้วรอรับยาที่บ้านได้
สอบถามเพิ่มเติมได้ที่ Line ID: @mordeeapp
#MorDee #หมอดี #หมอประจำบ้านในมือคุณ #TrueHEALTH
#ปวดท้อง