icon-facebook icon-line icon-blockdit icon-twitter icon-instagram

ดาวน์โหลดเลย

ดาวน์โหลด qr-code
iconดาวน์โหลดแอปฯ MorDee
background
Bubble
Bubble
Bubble
Bubble

เครียด คิดมาก แบบใดเสี่ยง โรควิตกกังวล ?

เครียด คิดมาก แบบใดเสี่ยง โรควิตกกังวล ? icon

ไม่ว่าจะเป็นวัยเรียน วัยทำงาน หรือวัยเกษียณ ทุกช่วงวัยล้วนต้องเคยเผชิญหน้ากับความเครียด แต่จะมีสักกี่คนที่สามารถสลัดความเครียดออกไปจากใจได้อย่างสมบูรณ์ 

 

และเมื่อเครียดสะสมเป็นเวลานาน ยิ่งคิดมาก ยิ่งกังวล ฟุ้งซ่าน ก็อาจพัฒนาไปเป็นโรควิตกกังวลได้โดยไม่รู้ตัว

 

หากไม่แน่ใจว่าคุณกำลังเสี่ยงเป็นโรควิตกกังวลหรือไม่? คุณหมอณัฐพล พิพัฒฐาดร จิตแพทย์ ประจำแอปฯ หมอดี มีแนวทางการสังเกตตัวเองง่าย ๆ มาฝากกัน

 

ชวนรู้จักโรควิตกกังวล และโรคอื่นที่พบบ่อยและสำคัญ

โรควิตกกังวล (Anxiety Disorder) เป็นภาวะความวิตกกังวลที่มากกว่าปกติในเรื่องต่าง ๆ ผู้ป่วยจะไม่สามารถระงับความเครียด หรือความวิตกกังวลได้ และเป็นเช่นนี้เรื้อรังนานมากกว่า 6 เดือน  ส่งผลให้เกิดอาการผิดปกติทางร่างกาย และกระทบต่อการใช้ชีวิตประจำวัน

 

ในครั้งนี้หมอจะพูดถึง โรควิตกกังวล ที่พบบ่อย แบ่งออกเป็น 7 ประเภท ได้แก่


1. โรควิตกกังวลทั่วไป (Generalized Anxiety Disorder, GAD) : เป็นภาวะวิตกกังวลกับหลาย ๆ เรื่อง ที่นานและมากเกินปกติ เป็นนานอย่างน้อย 6 เดือน

 

2. โรควิตกกังวลอื่น ๆ (Other Specified Anxiety disorder) : เป็นโรควิตกกังวลที่อาการ หรือระยะเวลาไม่เข้าเกณฑ์ที่จะวินิจฉัยเป็นโรควิตกกังวลอื่น ๆ   แต่อาการมากพอจนกระทบคุณภาพชีวิตและจำเป็นต้องได้รับการช่วยเหลือ

 

3. โรคกลัวแบบเฉพาะเจาะจง (Specific Phobias) : ผู้ป่วยจะกลัวบางสิ่งมากเกินไป จนเกิดปฎิกิริยาทางร่างกายอย่างรุนแรง เป็นนานอย่างน้อย 6 เดือน

 

4. โรคกลัวสังคม (Social Phobia) : ผู้ป่วยจะรู้สึกกังวลเมื่อต้องอยู่ท่ามกลางผู้คน คิดว่าตัวเองถูกจับตามองอยู่ เป็นนานอย่างน้อย 6 เดือน

 

5. โรคแพนิก (Panic Disorder) : ผู้ป่วยจะอาการแพนิก  อาจรู้สึกกลัวตาย กลัวควบคุมตัวเองไม่ได้ หรือคิดว่าตัวเองกำลังเป็นโรคร้ายแรงถึงชีวิต เป็นนานอย่างน้อย 1 เดือน

 

6. โรคกลัวว่าจะเกิดเหตุการณ์แย่ ๆ แล้วไม่มีคนช่วย (Agoraphobia) : อาจเกิดร่วมกับโรคแพนิก หรือเกิดเองต่างหากก็ได้ ผู้ป่วยมักกลัว หลีกเลี่ยงสถานที่ หรือสถานการณ์ที่เสี่ยงต่ออาการแพนิก หรือความรู้สึกแย่ ๆ

 

7. โรควิตกกังวลกลัวการแยกจาก  ในเด็ก (Seperation Anxiety Disorder) : เด็กจะกลัวการแยกจากแม่หรือบุคคลใกล้ชิด มากเกินกว่าระดับพัฒนาการทางจิตใจ ซึ่งทำให้เกิดความกลัวไม่อยากไปโรงเรียน  เป็นนานอย่างน้อย 4 สัปดาห์

 

นอกจากนี้ ยังมีโรคที่ไม่ได้จัดอยู่ในโรควิตกกังวลที่พบได้บ่อยและควรให้ความสำคัญ เช่น

 

 1. โรคย้ำคิดย้ำทำ (Obsessive Compulsive Disorder, OCD) : ผู้ป่วยจะมีความคิดซ้ำ ๆ พฤติกรรมซ้ำ ๆ หรือรู้สึกกังวลหนักว่าตัวเองจะทำผิดพลาด จนอาการย้ำมากกว่า 1 ชั่วโมงต่อวัน หรือรู้สึก จนกระทบชีวิตประจำวัน
 
2. โรคเครียดหลังเหตุสะเทือนใจ (Post-Traumatic Stress Disorder, PTSD) : เป็นโรคที่มักเกิดขึ้น หลังจากประสบกับเหตุการณ์อันเลวร้าย  เช่น การเฉียดตาย หรือ คนใกล้ตัวเสียชีวิต  ถูกทำร้ายร่างกายจิตใจอย่างรุนแรง หรือถูกคุกคามทางเพศ ทำให้คิดวนเวียนอยู่กับเหตุการณ์นั้นซ้ำ ๆ  กลัวว่าจะเกิดขึ้นอีก รวมทั้งหวาดกลัวต่อสิ่งเร้าที่เกี่ยวข้องกับเหตุการณ์ดังกล่าว ทำให้อารมณ์ตก ผวาตกใจง่าย  เป็นนานอย่างน้อย 1 เดือน

 

เครียด คิดมาก กังวลหนัก สัญญาณแบบนี้ ชี้ว่าเสี่ยงโรควิตกกังวล

  • ใจสั่น กระสับกระส่าย หายใจไม่อิ่ม
  • ไม่สามารถอยู่ในความสงบหรือหักห้ามใจไม่ให้คิดได้
  • นอนไม่หลับ
  • หงุดหงิดง่าย
  • ไม่มีสมาธิ
  • กล้ามเนื้อตึงเกร็ง
  • เหนื่อยล้า อ่อนเพลียง่าย

สัญญาณเตือนโรควิตกกังวล

เมื่อสังเกตตัวเองหรือคนใกล้ตัว แล้วพบว่ามีอาการเข้าข่ายโรควิตกกังวลหลายข้อ อย่าปล่อยให้โรควิตกกังวลฝังรากลึกในจิตใจ แนะนำให้ปรึกษาจิตแพทย์ หรือนักจิตบำบัด เพื่อวางแผนการรักษาอย่างเหมาะสม หากอาการโรควิตกกังวลไม่รุนแรง อาจรักษาด้วยการฝึกบำบัด จัดการกับความเครียด ความกังวลได้ ไม่จำเป็นต้องพึ่งยา  

 

หากมีความเครียด วิตกกังวล แต่ยังไม่สะดวกเดินทางไปโรงพยาบาล สามารถรับคำปรึกษาจากจิตแพทย์ หรือนักจิตบำบัดทางออนไลน์ได้ง่าย ๆ ผ่านแอปฯ หมอดี  นัดได้วันเวลาที่สะดวก ไม่ต้องเดินทาง ปรึกษาได้แบบเป็นส่วนตัว ผ่านการวิดีโอคอล โทร หรือแชต พร้อมมีบริการจัดส่งยาให้ถึงบ้าน ในกรณีที่แพทย์สั่งยา

 

5 ขั้นตอน ในการใช้แอปฯ หมอดี  กรณีต้องการปรึกษาจิตแพทย์ หรือนักจิตบำบัด เมื่อมีอาการคล้ายโรควิตกกังวล 

1. ดาวน์โหลดแอปฯ คลิก >> https://mordee.app.link/mordee จากนั้นเลือกเมนูโปรไฟล์ เพื่อลงทะเบียนเข้าใช้งาน
2. ไปที่หน้าแรกของแอปฯ กดแถบค้นหา เลือกแผนกจิตเวช หากต้องการพบจิตแพทย์ (สั่งยาได้) หรือแผนกสุขภาพใจ หากต้องการพบนักจิตบำบัด
3. เลือกจิตแพทย์หรือนักจิตบำบัดที่ต้องการปรึกษา แล้วทำนัดหมาย โดยเลือกวันและเวลาที่ต้องการ แล้วเลือกรูปแบบการปรึกษาเป็น วิดีโอคอล โทร หรือ แชต จากนั้นทำการชำระเงิน หรือกรอกโค้ดส่วนลด (ถ้ามี)
4. เข้าห้องสนทนาในแอปฯ เพื่อทำการปรึกษาแพทย์ เมื่อถึงเวลานัดหมาย
5. รอสรุปผลการปรึกษาจากแพทย์ พร้อมใบสั่งยา(หากมี) โดยสามารถสั่งซื้อยา แล้วรอรับยาที่บ้านได้

 

สอบถามเพิ่มเติมหรือปรึกษาหมอผ่านไลน์ ได้ที่ Line ID: @mordeeapp

 

#หมอดี #MorDee #หมอประจำบ้านในมือคุณ #โรควิตกกังวล

แชร์บทความ:

บทความอื่นๆ ที่คุณอาจสนใจ

ดูทั้งหมด

ยอมรับนโยบายการใช้คุกกี้

การตั้งค่าคุกกี้
นโยบายการใช้คุกกี้นี้ จะอธิบายถึงประเภท เหตุผล และลักษณะการใช้คุกกี้ รวมถึงวิธีการจัดการคุกกี้ ของเว็บไซต์ทั้งหมด โดยท่านสามารถดูรายการคุกกี้และตั้งค่าการยอมรับการใช้งาน ดูรายละเอียดเพิ่มเติม