icon-facebook icon-line icon-blockdit icon-twitter icon-instagram

Download Now

ดาวน์โหลด qr-code
iconดาวน์โหลดแอปฯ MorDee
background
Bubble
Bubble
Bubble
Bubble

ฉีดวัคซีนมะเร็งปากมดลูก ป้องกันไว้ก่อนดีกว่า

ฉีดวัคซีนมะเร็งปากมดลูก ป้องกันไว้ก่อนดีกว่า icon

โรคมะเร็งปากมดลูก เป็นภัยเงียบที่สาวๆ ทุกคนต้องระวัง ส่วนใหญ่เกิดจากเชื้อไวรัสเอชพีวี (HPV) ที่ติดต่อผ่านการมีเพศสัมพันธ์ ทางป้องกันที่ดีที่สุด คือ การฉีดวัคซีนมะเร็งปากมดลูก

 

นอกจากป้องกันด้วยการฉีดวัคซีนแล้ว พญ.อัญชิสา จันทร์สุวรรณ สูตินรีแพทย์ บนแอปฯ หมอดี แนะนำว่า สาว ๆ สามารถเช็กสัญญาณเสี่ยงได้ด้วยตนเอง เพื่อที่หากมีความเสี่ยง มีอาการผิดปกติ จะได้เข้ารับการรักษาอย่างทันท่วงที

 

อาการเสี่ยงมะเร็งปากมดลูก

อาการเสี่ยงมะเร็งปากมดลูก

หากมีอาการตรงกับตัวคุณเองในหลายๆ ข้อ แนะนำให้พบแพทย์เพื่อทำการวินิจฉัยเพิ่มเติม และทำการรักษาต่อไป

1) มีเลือดออกจากช่องคลอดโดยไม่ทราบสาเหตุ

2) รู้สึกเจ็บมากขณะมีเพศสัมพันธ์

3) มีสารคัดหลั่งออกมาจากช่องคลอดผิดปกติ
4) ปวดท้องน้อย แม้จะไม่ใช่ช่วงใกล้มีประจำเดือน
5) เบื่ออาหารและน้ำหนักลดลงอย่างผิดสังเกต
6) อ่อนเพลียและเหนื่อยง่าย

 

 

สาเหตุ

สาเหตุของมะเร็งปากมดลูก

เกิดจากเชื้อไวรัส เอชพีวี (HPV) ที่เข้าไปมีผลต่อเซลล์ปกติที่อยู่บริเวณปากมดลูก ทำให้เซลล์ผิดปกติ แล้วส่งผลให้เกิดเป็นมะเร็ง หรือรอยโรคก่อนเป็นมะเร็ง

ผู้ป่วยส่วนใหญ่พบว่าติดเชื้อไวรัสจากการมีเพศสัมพันธ์ โดยเมื่อที่ได้รับเชื้อไวรัส HPV เซลล์อาจจะยังไม่พัฒนาเป็นมะเร็งตั้งแต่แรกที่ได้รับเชื้อ การพัฒนาของเชื้อที่ทำให้เซลล์ที่ผิดปกติ จนกลายเป็นเซลล์มะเร็งได้นั้นมักจะใช้เวลานาน

 

นอกจากนี้ยังมีพฤติกรรมที่ทำให้เกิดความเสี่ยงสูงขึ้น ตัวอย่างเช่น การสูบบุหรี่ การมีคู่นอนหลายคน หรือการเปลี่ยนคู่นอนบ่อยๆ และการมีเพศสัมพันธ์ตั้งแต่อายุน้อย เป็นต้น

 

โดยผู้ป่วยที่เป็นโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ชนิดอื่นๆ จะทำให้ภูมิคุ้มกันไม่ดี มีโอกาสติดเชื้อ HPV และพัฒนาเป็นมะเร็งปากมดลูกต่อไปได้มากกว่าคนทั่วไป เช่น โรคติดเชื้อเอชไอวี/โรคเอดส์ (HIV/AIDS)

 

 

การป้องกัน

การป้องกันโรคมะเร็งปากมดลูก

สามารถลดปัจจัยเสี่ยงได้ โดยการปฏิบัติตนดังต่อไปนี้ 

- หลีกเลี่ยงการมีคู่นอนหลายคน 

- งดสูบบุหรี่ 

- ฉีดวัคซีนมะเร็งปากมดลูก ป้องกันการติดเชื้อ HPV 

 

การฉีดวัคซีนป้องกันการติดเชื้อ HPV ยังทำให้สามารถป้องกันมะเร็งปากช่องคลอดและมะเร็งช่องปากได้อีกด้วย และสามารถฉีดได้ตั้งแต่ช่วงอายุ 9 ปี และได้ผลดีที่สุดในคนที่ไม่เคยได้รับเชื้อ HPV มาก่อน

 

พิเศษ! จองฉีดวัคซีนมะเร็งปากมดลูก ได้ถึงที่บ้าน (Home Vaccination) ผ่านแอปฯ หมอดี ด้วยขั้นตอนง่าย ๆ

1. ดาวน์โหลดแอปฯ และลงทะเบียนเข้าใช้งาน

สามารถดาวน์โหลดแอปฯ ได้จาก Apps Store / Play Store หรือคลิก>> https://mordee.app.link/mordee จากนั้นเลือกเมนูโปรไฟล์ เพื่อลงทะเบียนเข้าใช้งานด้วยเบอร์โทรศัพท์

2. คลิกแบนเนอร์ “บริการฉีดวัคซีน ถึงบ้าน”

ซึ่งจะอยู่ที่ด้านบน ในหน้าแรกของแอปฯ

3.เลือกจำนวน กดสั่งซื้อ

กดเครื่องหมาย + เพื่อเพิ่มจำนวนวัคซีนมะเร็งปากมดลูก ตามที่ต้องการ

- วัคซีนป้องกันมะเร็งปากมดลูกชนิด 4 สายพันธุ์ ควรฉีด 3 เข็ม ราคา 7,700 บาท (ครอบคลุมค่าบริการทางการแพทย์และอื่นๆ แล้ว)
- วัคซีนป้องกันมะเร็งปากมดลูกชนิด 9 สายพันธุ์ ควรฉีด 3 เข็ม ราคา 18,700 บาท (ครอบคลุมค่าบริการทางการแพทย์และอื่นๆ แล้ว)

4. ชำระเงิน ผ่านบัตรเครดิต

จากนั้นระบบจะแจ้งเลขที่การจอง และนำท่านกลับสู่หน้าการจอง โดยอัตโนมัติ

5. กดปุ่ม จองเข้ารับบริการ

เพื่อกำหนดรายละเอียดการจอง และทำนัดหมายเข้าฉีดวัคซีน

6. เลือกสถานที่ วัน เวลา

พร้อมกรอกข้อมูลส่วนตัวและประเมินความพร้อมในการฉีดวัคซีน จากนั้นกดยืนยัน

7. ได้รับการยืนยันการจอง

โดยระบบจะออกเป็น QR Code พร้อมกับบอกข้อมูลรายละเอียดที่ได้ทำนัดหมาย


สอบถามเพิ่มเติมได้ที่ Line ID: @mordeeapp

 

จองฉีดวัคซีนมะเร็งปากมดลูก แบบบริการถึงบ้าน

 

ขั้นตอนจองวัคซีนมะเร็งปากมดลูก ผ่านแอปฯ หมอดี

 

 

การรักษา

การรักษาโรคมะเร็งปากมดลูก

ผู้ป่วยมีทางเลือกในการรักษาหลายวิธี คือ การผ่าตัด (Surgery) การใช้รังสีรักษา (Radiation) การใช้ยาเคมีบำบัด (Chemotherapy) ซึ่งอาจใช้หลายวิธีควบคู่กันได้ ตามดุลยพินิจของแพทย์

หากมะเร็งปากมดลูกมีขนาดเล็กและเป็นระยะเริ่มต้น ผู้ป่วยอาจจะได้รับการผ่าตัดเพียงปากมดลูกและมดลูกเท่านั้น และหากมีขนาดใหญ่ก็ต้องทำการผ่าตัดปากมดลูกแบบกว้าง ที่ต้องผ่าตัด ปากมดลูก มดลูก ส่วนบนของช่องคลอด ตลอดจนเนื้อเยื่อด้านข้าง และอาจต้องเลาะต่อมน้ำเหลืองในอุ้งเชิงกรานด้วย
 

การใช้รังสีรักษา ใช้สำหรับผู้ป่วยมะเร็งปากมดลูกระยะลุกลาม และเป็นการรักษาหลังจากผ่าตัด ในกรณีที่พบว่ามีความเสี่ยงในการกลับมาเป็นซ้ำ

การใช้รังสีรักษาอาจกระตุ้นให้ผู้ป่วยเข้าสู่วัยหมดประจำเดือนก่อนกำหนด ผู้ป่วยควรพบแพทย์เพื่อปรึกษาและหาแนวทางการเก็บรักษาไข่ก่อนเริ่มการรักษาโดยเฉพาะในกรณีผู้ป่วยอายุน้อย หรือผู้ป่วยที่ต้องการมีบุตรในอนาคต

 

ส่วนการรักษาด้วยการใช้ยาเคมีบำบัด เป็นอีกวิธีหนึ่งของการรักษาร่วมกับการใช้รังสีรักษาในการดูแลผู้ป่วยมะเร็งปากมดลูก

 

เป็นมะเร็งปากมดลูก หรือมีประวัติเสี่ยง และมีอาการผิดปกติ เช่น มีเลือดออกทางช่องคลอด ตกขาว หรือปวดท้องน้อยแบบผิดปกติ อย่าปล่อยไว้นาน ปรึกษาแพทย์ได้แบบออนไลน์ ผ่านแอป ฯ หมอดี

 

ใช้งานแอปฯ หมอดี ได้ง่ายๆ ด้วย 5 ขั้นตอนดังนี้

1. ดาวน์โหลดแอปฯ คลิก>> https://mordee.app.link/mordee จากนั้นเลือกเมนูโปรไฟล์ เพื่อลงทะเบียนเข้าใช้งาน

2. ไปที่หน้าแรกของแอปฯ กดแถบค้นหา เลือก แผนกสุขภาพสตรี หรือ แผนกมะเร็ง

3. เลือกแพทย์ที่ต้องการปรึกษา แล้วทำนัดหมาย โดยเลือกวันและเวลาที่ต้องการ แล้วเลือกรูปแบบการปรึกษาเป็น วิดีโอคอล โทร หรือ แชต จากนั้นทำการชำระเงิน หรือกรอกโค้ดส่วนลด (ถ้ามี)

4. เข้าห้องสนทนาในแอปฯ เพื่อทำการปรึกษาแพทย์ เมื่อถึงเวลานัดหมาย

5. รอสรุปผลการปรึกษาจากแพทย์ พร้อมใบสั่งยา(หากมี) โดยสามารถสั่งซื้อยา แล้วรอรับยาที่บ้านได้

 

สอบถามเพิ่มเติมได้ที่ Line ID: @mordeeapp

 

#MorDee #หมอดี #หมอประจำบ้านในมือคุณ #TrueHEALTH

#สุขภาพสตรี

share:

บทความอื่นๆ ที่คุณอาจสนใจ

ดูทั้งหมด

ยอมรับนโยบายการใช้คุกกี้

การตั้งค่าคุกกี้
นโยบายการใช้คุกกี้นี้ จะอธิบายถึงประเภท เหตุผล และลักษณะการใช้คุกกี้ รวมถึงวิธีการจัดการคุกกี้ ของเว็บไซต์ทั้งหมด โดยท่านสามารถดูรายการคุกกี้และตั้งค่าการยอมรับการใช้งาน ดูรายละเอียดเพิ่มเติม