icon-facebook icon-line icon-blockdit icon-twitter icon-instagram

Download Now

ดาวน์โหลด qr-code
iconดาวน์โหลดแอปฯ MorDee
background
Bubble
Bubble
Bubble
Bubble

ชันนะตุ หรือกลากขึ้นหัว ปล่อยไว้ ระวัง! ผมร่วงถาวร

ชันนะตุ หรือกลากขึ้นหัว ปล่อยไว้ ระวัง! ผมร่วงถาวร icon

เมื่อพูดถึงโรคชันนะตุ หลายคนอาจจะยังไม่รู้จัก หรือสงสัยว่าโรคนี้เป็นยังไง? แต่ถ้าบอกว่าพูดถึง "โรคกลาก" อาจจะพอเห็นภาพขึ้นมาบ้าง ซึ่งโรคชันนะตุนี้ ก็คือ โรคกลาก หรือการติดเชื้อรา ที่เกิดขึ้นบริเวณหนังศีรษะนั่นเอง

 


สาเหตุของโรคชันนะตุ

เกิดจากหนังศีรษะและเส้นผมติดเชื้อราที่ชื่อว่า เดอมาโทไฟต์ (Dermatophytes) ซึ่งเป็นเชื้อชนิดเดียวกับที่ทำให้เกิดโรคกลากบนผิวหนังในจุดอื่น ๆ  โดยติดต่อผ่านการสัมผัสคนที่ติดเชื้อ คนที่เป็นพาหะแต่ไม่มีอาการ สัตว์เลี้ยงที่ติดเชื้อรา หรือ สิ่งของที่มีเชื้อราปนเปื้อน เช่น หวี หมวก ผ้าเช็ดตัว เตียง เสื้อผ้า หรือของเล่น โดยสปอร์สามารถมีชีวิตอยู่ได้หลายเดือน


กลุ่มความเสี่ยงสูงที่มักเป็นโรคชันนะตุ ได้แก่

  •  เด็กเล็ก : โดยเฉพาะช่วงวัยอนุบาล  ติดเชื้อผ่านการเล่นหรือสัมผัสกันอย่างใกล้ชิดในโรงเรียน หรือเล่นดินทราย 
  •  ผู้ที่มีสัตว์เลี้ยง : ได้รับเชื้อจากการจับ ลูบ กอด สัตว์เลี้ยงที่ติดเชื้อราในบ้าน
  •  ผู้ที่ต้องทำงานกลางแจ้ง : เหงื่อออกมาก ผิวหนังเปียกและอับชื้นเป็นเวลานาน ๆ
  •  ผู้ที่สุขอนามัยไม่ดี : เช่น ไม่ชอบสระผม หรืออาบน้ำ 
  •  ผู้ที่ภูมิคุ้มกันบกพร่อง : เช่น ผู้ป่วยโรคมะเร็ง
  •  ผู้ที่เล่นกีฬาที่มีเหงื่อออกมาก ๆ และเป็นกีฬาที่ต้องมีการสัมผัสตัวกัน : เช่น วิ่ง ฟุตบอล มวย บาสเกตบอล เป็นต้น

 

อาการของโรคชันนะตุ

  • ผมร่วงเป็นหย่อม ๆ เส้นผมเปราะ ขาดง่าย มีจุดดำ ๆ จากจุดที่ผมหลุดออกมา
  • มีผื่นวงกลม บนหนังศีรษะ ลักษณะผมหัก และมีสปอร์เชื้อราปกคลุมทำให้เห็นเป็นปื้นขาว ๆ เทา ๆ  อาจตกสะเก็ด มีขุย มักเป็นบริเวณท้ายทอย
  • คันศีรษะอย่างมาก 
  • ในรายที่มีการอักเสบ จะมีอาการเป็นผื่นแดงบวม มีตุ่มหนอง และถ้าอักเสบมาก จะพบหนังศีรษะ เป็นก้อนนูน เป็นหนอง ขอบเขตชัดเจน ตรงบริเวณที่เป็นชันนะตุ

ลักษณะอาการของโรคชันนะตุ

โรคชันนะตุ ถ้าเป็นแล้วไม่รีบรักษาอย่างเหมาะสม ปล่อยให้ลุกลาม จนรูขุมขนถูกทำลาย อาจทำให้บริเวณที่เป็น ผมร่วงอย่างถาวร และทิ้งรอยแผลเป็นไว้ได้  

 

การรักษาโรคชันนะตุ

ส่วนใหญ่ สามารถรักษาโรคชันนะตุได้ 2 วิธี ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับความรุนแรงของอาการ และตามดุลพินิจของแพทย์
1. กินยาต้านเชื้อรา : เป็นการรักษาหลัก โดยกินติดต่อกันประมาณ 4-6 สัปดาห์ 
2. ใช้แชมพูจำกัดเชื้อรา : โดยเป็นแชมพูยาที่มีส่วนผสมของ คีโตโคนาโซล หรือซีลีเนียมซัลไฟต์  ซึ่งจะช่วยลดจำนวนสปอร์ลง   และป้องกันไม่ให้เชื้อแพร่กระจายไปบริเวณอื่นได้

 

สาระน่ารู้โดยคุณหมอสายวรีย์ วงษ์รวิโอภาพ แพทย์ผิวหนัง  ประจำแอปฯ หมอดี

 

หากมีอาการผิดปกติที่หนังศีรษะ คล้ายโรคชันนะตุ  แต่ไม่สะดวกเดินทางไปโรงพยาบาล  พบทางเลือกใหม่ที่ง่ายและสะดวกกว่า! ปรึกษาแพทย์ผิวหนังออนไลน์ได้ง่าย ๆ ผ่านแอปฯ หมอดี  ไม่ต้องรอคิวนาน หรือเดินทางออกจากบ้าน พร้อมมีบริการจัดส่งยาให้บ้าน


5 ขั้นตอน ในการปรึกษาแพทย์ ผ่านแอปฯ หมอดี
1. ดาวน์โหลดแอปฯ คลิก >> https://mordee.app.link/mordee จากนั้นเลือกเมนูโปรไฟล์ เพื่อลงทะเบียนเข้าใช้งาน
2. ไปที่หน้าแรกของแอปฯ กดแถบค้นหา เลือกแผนกผิวหนัง หากต้องการปรึกษาเรื่องโรคชันนะตุ
3. เลือกแพทย์ที่ต้องการปรึกษา และทำนัดหมาย โดยเลือกวันและเวลาที่ต้องการ แล้วเลือกรูปแบบการปรึกษาเป็น วิดีโอคอล โทร หรือ แชต จากนั้นทำการชำระเงิน หรือกรอกโค้ดส่วนลด (ถ้ามี)
4. เข้าห้องสนทนาในแอปฯ เพื่อทำการปรึกษาแพทย์ เมื่อถึงเวลานัดหมาย
5. รอสรุปผลการปรึกษาจากแพทย์ พร้อมใบสั่งยา(หากมี) โดยสามารถสั่งซื้อยา แล้วรอรับยาที่บ้านได้

 

สอบถามเพิ่มเติมหรือปรึกษาหมอผ่านไลน์ ได้ที่ Line ID: @mordeeapp

 

#MorDee #หมอดี #หมอประจำบ้านในมือคุณ 
#หาหมอออนไลน์ #ชันนะตุ #อาการโรคชันนะตุ #ชันนะตุอันตรายไหม

share:

บทความอื่นๆ ที่คุณอาจสนใจ

ดูทั้งหมด

ยอมรับนโยบายการใช้คุกกี้

การตั้งค่าคุกกี้
นโยบายการใช้คุกกี้นี้ จะอธิบายถึงประเภท เหตุผล และลักษณะการใช้คุกกี้ รวมถึงวิธีการจัดการคุกกี้ ของเว็บไซต์ทั้งหมด โดยท่านสามารถดูรายการคุกกี้และตั้งค่าการยอมรับการใช้งาน ดูรายละเอียดเพิ่มเติม