icon-facebook icon-line icon-blockdit icon-twitter icon-instagram

Download Now

ดาวน์โหลด qr-code
iconดาวน์โหลดแอปฯ MorDee
background
Bubble
Bubble
Bubble
Bubble

ปวดเบ้าตา กระบอกตา เป็นสัญญาณโรคใด?

ปวดเบ้าตา กระบอกตา เป็นสัญญาณโรคใด? icon

บริเวณเบ้าตาของคนเรา นอกจากจะเป็นที่อยู่ของดวงตาแล้ว ยังเต็มไปด้วยกล้ามเนื้อ ช่วยให้ดวงตาเคลื่อนไหว และยังมีเส้นประสาทอยู่มากมายในบริเวณนี้ ดังนั้น หากคุณมีอาการปวดเบ้าตา หรือรู้สึกตึง ๆ ที่กระบอกตา จึงอาจเป็นสัญญาณของโรคอื่น ๆ ได้ ไม่ใช่แค่โรคที่เกี่ยวกับดวงตาเพียงเท่านั้น 

 

ซึ่งโดยส่วนใหญ่แล้ว หากอาการปวดเบ้าตาหรือกระบอกตา ไม่ได้มีสาเหตุมาจากความผิดปกติของดวงตาโดยตรง ก็อาจเกิดจากการผิดปกติบริเวณศีรษะได้

 

ในบทความนี้ คุณหมอบดินทร์ อนันตระวนิชย์ อายุรแพทย์ทั่วไป ประจำแอปฯ หมอดี จะมาอธิบายเกี่ยวกับตัวอย่างโรค ที่ทำให้เกิดอาการปวดเบ้าตา หรือปวดกระบอกตา ให้ได้ทราบกัน

 

4 โรคอันตราย ทำให้ปวดเบ้าตา 

1. ไซนัสอักเสบ (Sinusitis) - มักมีอาการปวดเบ้าตา หรือปวดหน่วง ๆ ที่ขมับ โหนกแก้ม ท้ายทอย พร้อมอาการคัดจมูก น้ำมูกเขียว/เหลือง ลมหายใจมีกลิ่น โดยมีต้นเหตุจากโพรงไซนัสอักเสบ ติดเชื้อ

 

2. เนื้อเยื่อเบ้าตาอักเสบ (Orbital cellulitis) - เกิดจากการติดเชื้อที่บริเวณเบ้าตา หรืออักเสบขึ้นมา ทำให้ปวดเบ้าตา ตาโปน หนังตาบวม แดง เห็นภาพซ้อน กรอกตาแล้วเจ็บ

 

3. ต้อหินมุมปิดฉับพลัน (Acute Angle-Closure Glaucoma) - โรคนี้เกิดจากสารน้ำในลูกตาไม่สามารถระบายได้ จึงทำให้สารน้ำในลูกตาเพิ่มมากขึ้น  ก่อให้เกิดความดันลูกตาเพิ่มสูงขึ้นฉับพลัน จนรู้สึกปวดเบ้าตาขึ้นมา พร้อมมีอาการตามัว มองไม่ชัด แพ้แสง 

 

4. ปวดหัวคลัสเตอร์ (Cluster headache) - เป็นอาการปวดหัวข้างเดียวอย่างรุนแรง โดยอาจปวด 15 นาที หรือปวดต่อเนื่องยาวนานถึง 3 ชม. ซึ่งนอกจากปวดหัวหนักแล้ว ยังทำให้ปวดเบ้าตา  ตาแดง น้ำมูกไหล หนังตาตก หรือม่านตาหดเล็กร่วมด้วย   ซึ่งอาจมีอาการปวดในช่วงเวลาเดิมของวันหรือช่วงระยะเวลาใดระยะเวลาหนึ่งของปี

 โรคที่ทำให้ปวดเบ้าตา

หากคุณมีอาการปวดเบ้าตาบ่อย ๆ พร้อมอาการร่วมน่าสงสัย  แต่ไม่แน่ใจว่าป่วยเป็นโรคร้ายแรงหรือไม่?  สามารถปรึกษาแพทย์ออนไลน์ผ่านแอปฯ หมอดี ช่วยวินิจฉัยเบื้องต้นก่อนได้ ทำนัดได้เองในวันเวลาที่สะดวก ไม่ต้องเสียเวลาเดินทางไปโรงพยาบาล ไม่ต้องรอคิวนาน พร้อมมีบริการจัดส่งยาถึงบ้าน

 

5 ขั้นตอน ในการใช้แอปฯ หมอดี  
1. ดาวน์โหลดแอปฯ หมอดี คลิก >> https://mordee.app.link/mordee จากนั้นเลือกเมนูโปรไฟล์ เพื่อลงทะเบียนเข้าใช้งาน
2. ไปที่หน้าแรกของแอปฯ กดแถบค้นหา ไปที่หน้าแรกของแอปฯ กดแถบค้นหา เลือกแผนกตา หรือแผนกโรคทั่วไป เมื่อมีอาการปวดเบ้าตาผิดปกติ 
3. เลือกจักษุแพทย์ ที่ต้องการปรึกษา แล้วทำนัดหมาย โดยเลือกวันและเวลาที่ต้องการ แล้วเลือกรูปแบบการปรึกษาเป็น วิดีโอคอล โทร หรือ แชต จากนั้นทำการชำระเงิน หรือกรอกโค้ดส่วนลด (ถ้ามี) 
4. เข้าห้องสนทนาในแอปฯ เพื่อทำการปรึกษา เมื่อถึงเวลานัดหมาย
5. รอสรุปผลการปรึกษา พร้อมใบสั่งยาจากแพทย์ (หากมี) โดยสามารถสั่งซื้อยา แล้วรอรับยาที่บ้านได้ 

 

สอบถามเพิ่มเติมหรือปรึกษาหมอผ่านไลน์ ได้ที่ Line ID: @mordeeapp

 

#MorDee #หมอดี #หมอประจำบ้านในมือคุณ 
#หาหมอออนไลน์ #ปวดเบ้าตา

share:

บทความอื่นๆ ที่คุณอาจสนใจ

ดูทั้งหมด

ยอมรับนโยบายการใช้คุกกี้

การตั้งค่าคุกกี้
นโยบายการใช้คุกกี้นี้ จะอธิบายถึงประเภท เหตุผล และลักษณะการใช้คุกกี้ รวมถึงวิธีการจัดการคุกกี้ ของเว็บไซต์ทั้งหมด โดยท่านสามารถดูรายการคุกกี้และตั้งค่าการยอมรับการใช้งาน ดูรายละเอียดเพิ่มเติม