ไซนัสอักเสบ โรคทางเดินหายใจที่เหมือนเป็นขั้นกว่าของไข้หวัดและภูมิแพ้ โรคนี้มีสิ่งใดที่เป็นตัวกระตุ้นและอาจทำให้เกิดภาวะแทรกซ้อนอันตรายอะไรได้บ้าง? มาเจาะลึกกับคุณหมอปาริชาติ ณรงค์ตะณุพล จากแอปฯ หมอดี กันได้เลย
ทำความรู้จักโรคไซนัสอักเสบ
โพรงไซนัส คือ โพรงอากาศรอบจมูก ภายในมีเยื่อบุผิว ทำหน้าที่หลัก ๆ ในการรับกลิ่น และช่วยปรับอากาศที่หายใจเข้าไปให้อุ่นและชื้นขึ้นอย่างเหมาะสม โดยโพรงไซนัสจะมีทั้งหมด 4 จุด ได้แก่ บริเวณแก้ม หน้าผาก หัวตา และใกล้ฐานสมอง
หากมีสิ่งกระตุ้นเหล่านี้ อาจทำให้เยื่อบุโพรงไซนัสอักเสบ บวม มีเชื้อโรคสะสมในโพรงไซนัสได้
- เป็นไข้หวัด ไข้หวัดใหญ่
- ภูมิแพ้อากาศ
- ฟันผุ โดยเฉพาะฟันกรามด้านบน
- มีสิ่งแปลกปลอมอุดตันในโพรงจมูก เช่น เมล็ดผลไม้
- โรคริดสีดวงจมูก เนื้องอกในโพรงจมูก
- สำลักน้ำเข้าไปในจมูก ทำให้สารเคมี เช่นคลอรีน หรือเชื้อโรคในน้ำเข้าสู่โพรงไซนัสได้
5 อาการของไซนัสอักเสบ
- คัดจมูก น้ำมูกข้นเหนียว มีสีเขียวหรือสีเหลือง
- ลมหายใจมีกลิ่น
- มีเสมหะข้นในคอ ทำให้ต้องไอเพื่อขับออกมาบ่อย ๆ
- ปวดหน่วง ๆ ที่ขมับ โหนกแก้ม รอบ ๆ หัวตา ท้ายทอย
- ปวดหัวมาก รู้สึกหนักศีรษะ บางรายอาจปวดหู หูอื้อร่วมด้วย
ชนิดของโรคไซนัสอักเสบ
1.โรคไซนัสอักเสบเฉียบพลัน : มีอาการน้อยกว่า 12 สัปดาห์ และอาการต่าง ๆ หายได้สนิท มักเกิดจากการติดเชื้อแบคทีเรียหรือเชื้อไวรัส
2.โรคไซนัสอักเสบเรื้อรัง : มีอาการนานกว่า 12 สัปดาห์ และในช่วงที่เป็นนั้น อาการต่าง ๆ ไม่มีช่วงที่หายสนิท
โรคแทรกซ้อนอันตรายจากไซนัสอักเสบ
- ภาวะแทรกซ้อนทางหู คอ จมูก : หูชั้นกลางอักเสบ ริดสีดวงจมูก คออักเสบเรื้อรัง เสียงแหบจากกล่องเสียงอักเสบ
- ภาวะแทรกซ้อนทางเดินหายใจ : หลอดลมอักเสบ ปอดบวม หอบหืด
- ภาวะแทรกซ้อนทางตา : เชื้อโรคที่สะสมในโพรงไซนัส ลุกลามไปที่กระบอกตา จนตาบวม อักเสบ เป็นฝี หากติดเชื้อรุนแรง อาจเสี่ยงตาบอดได้
- ภาวะแทรกซ้อนทางสมอง : ไซนัสอักเสบลุกลามไปที่เยื่อหุ้มสมอง หรือเนื้อสมอง เกิดโรคเยื่อหุ้มสมองอักเสบ ฝีในสมอง เป็นอันตรายถึงแก่ชีวิตได้
เมื่อสงสัยว่าตัวเองเป็นไซนัสอักเสบ เพื่อเลี่ยงภาวะแทรกซ้อนรุนแรง สามารถปรึกษาหมอออนไลน์ผ่านแอปฯ หมอดี ช่วยวินิจฉัยเบื้องต้นก่อนได้ ไม่ต้องรอคิวนาน นัดได้ทุกเวลาที่สะดวก พร้อมจัดส่งยาถึงบ้าน
5 ขั้นตอนง่าย ๆ ในการปรึกษาแพทย์ ผ่านแอปฯ หมอดี
1. ดาวน์โหลดแอปฯ คลิก >> https://mordee.app.link/mordee จากนั้นเลือกเมนูโปรไฟล์ เพื่อลงทะเบียนเข้าใช้งาน
2. ไปที่หน้าแรกของแอปฯ กดแถบค้นหา เลือกแพทย์หรือแผนกที่ต้องการปรึกษา สำหรับอาการไซนัสอักเสบ แนะนำ แผนกหู คอ จมูก หรือแผนกอายุรกรรม
3. เลือกแพทย์ที่ต้องการปรึกษา แล้วทำนัดหมาย โดยเลือกวันและเวลาที่ต้องการ แล้วเลือกรูปแบบการปรึกษาเป็น วิดีโอคอล โทร หรือ แชต จากนั้นทำการชำระเงิน หรือกรอกโค้ดส่วนลด (ถ้ามี)
4. เข้าห้องสนทนาในแอปฯ เพื่อทำการปรึกษาแพทย์ เมื่อถึงเวลานัดหมาย
5. รอสรุปผลการปรึกษาจากแพทย์ พร้อมใบสั่งยา(หากมี) โดยสามารถสั่งซื้อยา แล้วรอรับยาที่บ้านได้
สอบถามเพิ่มเติมได้ที่ Line ID: @mordeeapp
#MorDee #หมอดี #หมอประจำบ้านในมือคุณ