รู้หรือไม่? จริง ๆ แล้วผู้ป่วยโรคเบาหวานที่ไม่มีโรคแทรกซ้อน เช่น โรคไต หรือโรคหัวใจ สามารถรับประทานอาหารได้หลากหลายชนิด ไม่จำเป็นต้องงดหรืออดอาหาร เพียงแค่ต้องเลือกรับประทานเมนูที่ไม่ทำให้ระดับน้ำตาลในเลือดพุ่งสูงจนเกินไป
ควรเลือกรับประทานอย่างไรให้ถูกหลัก?
คุณหมอฐิตินันท์ อนุสรณ์วงศ์ชัย แพทย์ผู้เชี่ยวชาญด้านอายุรกรรมต่อมไร้ท่อและเมตาบอลิสม แนะนำเคล็ดลับง่าย ๆ ไว้ดังนี้
1. รับประทานอาหารที่มีไฟเบอร์สูงก่อน - จากนั้นค่อยรับประทานโปรตีน ไขมัน แป้ง และน้ำตาล โดยไฟเบอร์จะช่วยดูดซึมน้ำตาล ส่งผลให้น้ำตาลในเลือดลดลง และช่วยให้อิ่มเร็วขึ้น
2. กำหนดสัดส่วนอาหารให้พอดี - ในแต่ละมื้ออาหาร ควรแบ่งปริมาณอาหารเป็น ไฟเบอร์ 2 ส่วน : โปรตีนไขมันต่ำ 1 ส่วน : แป้ง 1 ส่วน หลีกเลี่ยงอาหารและเครื่องดื่มรสหวาน
3. เลือกคาร์บ หรือแป้งที่มีค่า Glycemic Index ต่ำ - Glycemic Index หรือ GI เป็นค่าที่ใช้บ่งบอกว่า หลังรับประทานอาหารชนิดหนึ่งแล้ว อาหารชนิดนั้นจะมีผลทำให้ระดับน้ำตาลในเลือดขึ้นได้รวดเร็วเพียงใด
อาหารที่มีค่า Glycemic Index ต่ำ หากทานในปริมาณที่พอเหมาะ จะช่วยรักษาระดับน้ำตาลในเลือด
ตัวอย่างอาหารที่มี Glycemic Index ต่ำ ทำให้น้ำตาลในเลือดสูงขึ้นได้เพียงเล็กน้อย
- ข้าวกล้อง
- ข้าวโอ๊ต
- ข้าวบาร์เล่ย์
- ผักใบ
- นมพร่องมันเนย
- ส้ม
ตัวอย่างอาหารที่มี Glycemic Index ปานกลาง ทำให้น้ำตาลในเลือดสูงขึ้นได้ปานกลาง
- ข้าวขาว
- ขนมปังขาว
- ข้าวโพด
- พิซซ่า
- สับปะรด
- แตงโม
ตัวอย่างอาหารที่มี Glycemic Index สูง ทำให้น้ำตาลในเลือดสูงขึ้นมาก
- ข้าวเหนียว
- มันฝรั่งบด หรือทอด
- เค้ก
- โดนัท
- อินทผลัม
ทั้งนี้ แม้ผู้ป่วยเบาหวาน จะเลือกรับประทานอาหารที่มีค่า Glycemic Index ต่ำหรือปานกลางแล้ว ก็ควรรับประทานแค่ในปริมาณที่พอเหมาะ เพราะหากรับประทานในปริมาณมาก ก็จะทำให้ได้รับปริมาณน้ำตาลสะสมมากเกินไป การรักษาน้ำตาลในเลือดให้คงที่ จะช่วยให้เบาหวานอยู่ในภาวะสงบ ไม่กำเริบ หรือเกิดอาการแทรกซ้อนอื่น ๆ ในภายหลัง
อาหารที่ควรระวัง สำหรับผู้ป่วยโรคเบาหวาน ที่มีโรคแทรกซ้อน
- ผู้ป่วยเบาหวานที่เป็นโรคไตร่วมด้วย
ควรเลี่ยงหรือลดอาหารที่เติมเกลือโซเดียม เนื่องจากความเค็มส่งผลให้บวมน้ำ มีน้ำในร่างกายมากเกินจนไตทำงานหนัก รวมถึงอาการความดันโลหิตสูงก็จะคุมยาก
บางราย ควรเลี่ยงอาหารที่มีโปแทสเซียมหรือฟอสฟอรัส เช่น ข้าวและธัญพืชไม่ขัดสี ถั่ว ผลไม้ ผักบางชนิด นม ทั้งนี้ ผู้ป่วยแต่ละรายควรปรึกษาแพทย์ผู้ดูแลหรือนักโภชนาการ เพื่อปรับอาหารตามผลเลือดของตนเอง
- ผู้ป่วยเบาหวานที่มีโรคหัวใจ โรคหลอดเลือดสมอง ร่วมด้วย
ควรลดอาหารหวานมันเค็มต่าง ๆ เพื่อควบคุมน้ำตาล ไขมัน และความดันโลหิต ให้อยู่ในเกณฑ์ปกติ
ผู้ป่วยโรคเบาหวาน ควรควบคุมอาหารให้เหมาะกับตนเอง โดยนอกจากการพบแพทย์ที่โรงพยาบาลแล้ว คุณยังสามารถปรึกษาคุณหมอ หรือนักโภชนาการได้แบบอุ่นใจ และปลอดภัย ผ่านแอปฯ หมอดี
พิเศษ! สำหรับผู้ร่วมโครงการเบาหวานจัดการได้ กับ AIA ปรึกษา ฟรี!
5 ขั้นตอนง่ายๆ ในการใช้แอปฯ หมอดี
1. ดาวน์โหลดแอปฯ หมอดี หรือ คลิก https://mordee.app.link/mordee แล้วลงทะเบียน เพื่อเริ่มต้นใช้งาน
2. เชื่อมสิทธิ์ประกัน โดยเลือกเมนู เชื่อมสิทธิพิเศษ แล้วกด เพิ่มสิทธิพิเศษ จากนั้นเลือก ประกัน AIA แล้วกรอกข้อมูลให้เรียบร้อย
3. ยืนยันตัวตน โดยถ่ายภาพหน้าตรง และภาพบัตรประชาชน
** ขั้นตอนที่ 1-3 นี้ จะทำเพียงรอบเดียว เมื่อใช้งานแอปฯ ครั้งแรก เท่านั้น **
4. กดเลือกเมนู หน้าแรก แล้วกดแถบค้นหา เลือกคลินิก "เบาหวานจัดการได้ (Diabetes Care)"
5. เลือกแพทย์หรือนักโภชนาการ ที่มีโลโก้ AIA แล้วทำนัดหมาย โดยเลือกวันและเวลา รวมทั้งเลือกรูปแบบการปรึกษาเป็นวิดีโอคอล เพื่อให้สามารถใช้สิทธิ์ประกันได้ หากแพทย์มีการสั่งยา
6. กรอกโค้ด ที่ท่านได้รับจากโครงการเบาหวานจัดการได้ ในขั้นตอนชำระเงิน เพื่อให้ใช้บริการได้ฟรี (โค้ดฟรีเฉพาะค่าปรึกษา ไม่รวมค่ายา แต่ท่านสามารถใช้สิทธิ์ประกัน AIA ในการชำระค่ายา หรือสำรองจ่ายค่ายาก่อนได้)
7. เข้าห้องสนทนาในแอปฯ เพื่อทำการปรึกษาแพทย์หรือนักโภชนาการ เมื่อถึงเวลานัดหมาย
8. รอสรุปผลการปรึกษาจากแพทย์หรือนักโภชนาการ พร้อมใบสั่งยา (ถ้ามี) โดยสามารถสั่งซื้อยา โดยเลือกเคลมประกัน* AIA ในขั้นตอนชำระเงิน หรือสำรองจ่ายเองได้ แล้วยาจะถูกจัดส่งให้ท่านถึงบ้าน
สอบถามเพิ่มเติมหรือปรึกษาหมอผ่านไลน์ ได้ที่ Line ID: @mordeeapp
*สำหรับกรมธรรม์ที่มีความคุ้มครองแบบ OPD เงื่อนไขเป็นไปตามที่บริษัทประกันภัยกำหนด
#MorDee #หมอดี #หมอประจำบ้านในมือคุณ #AIAThailand #เอไอเอ #โครงการเบาหวานจัดการได้