icon-facebook icon-line icon-blockdit icon-twitter icon-instagram

Download Now

ดาวน์โหลด qr-code
iconดาวน์โหลดแอปฯ MorDee
background
Bubble
Bubble
Bubble
Bubble

ยุงลาย เป็นพาหะโรคร้ายอะไรบ้าง?

ยุงลาย เป็นพาหะโรคร้ายอะไรบ้าง? icon

ด้วยสภาพอากาศร้อนชื้นของประเทศไทย จึงทำให้มียุงหลากหลายสายพันธุ์ชุกชุมไปทั่วประเทศ โดยเฉพาะยุงลาย พาหะนำโรคร้าย เช่น โรคไข้เลือดออก ที่เราทุกคนคงรู้จักกันดี เนื่องจากมีผู้ป่วยโรคนี้ในปีหนึ่งค่อนข้างมาก และอาจอันตรายจนถึงแก่ชีวิต 

 

แต่คุณรู้ไหม? ยุงลายยังทำให้เกิดโรคร้ายอื่นๆ ได้อีกด้วย วันนี้ คุณหมอบดินทร์ อนันตระวนิชย์ อายุรแพทย์ทั่วไป จากแอปฯ หมอดี จะชวนมาทำความรู้จักโรคอันตรายที่มาพร้อมยุงลาย ให้ได้ทราบกัน  

 

1. โรคไข้เลือดออก

เกิดจากเชื้อไวรัสเดงกี่ มียุงลายตัวเมียเป็นพาหะนำโรค 

 

อาการเด่น :

  •  ไข้สูง 
  •  คลื่นไส้ อาเจียน ปวดจุกแน่นลิ้นปี่หรือท้องด้านขวาส่วนบน
  •  ปวดศีรษะ รวมไปถึงปวดกระบอกตา 
  •  มีจุดเลือดออกตามตัว หรือมีเลือดออกภายนอก เช่น ถ่ายเป็นเลือด เลือดกำเดา เป็นต้น และอาจจะเลือดออกจากอวัยวะภายใน เช่น เลือดออกในสมองจากเกล็ดเลือดต่ำ

 


2. โรคชิคุนกุนยา

เกิดจากเชื้อไวรัสชิคุนกุนยา มียุงลายสวน และยุงลายบ้าน เป็นพาหะนำโรค เรียกอีกอย่างว่า โรคปวดข้อยุงลาย

 

อาการเด่น : 

  • ไข้สูง 
  • มีภาวะข้ออักเสบ ปวดข้อมือ ข้อเท้า ข้อนิ้วมือนิ้วเท้า รวมถึงข้ออื่น ๆ
  • ตาแดง 
  • ผิวแดงที่ใบหน้าและลำตัว หรือมีผื่นแดงขึ้นตามร่างกาย

 

3. โรคไข้ซิกา

เกิดจากเชื้อไวรัสซิกา ติดต่อได้จากการถูกยุงลายที่มีเชื้อนี้กัด สามารถแพร่เชื้อจากมารดาที่ป่วย สู่บุตรในครรภ์ หรือติดต่อผ่านทางเพศสัมพันธ์ได้


อาการเด่น : 

  • ไข้สูง
  • มีผื่นหนา ขึ้นตามตัว
  • ปวดข้อ ปวดกล้ามเนื้อ
  • ตาแดง 
  • มักมีอาการรุนแรงในหญิงตั้งครรภ์

3 โรคอันตรายที่มากับยุงลาย

โรคร้ายจากยุงลาย ป้องกันได้

เราสามารถป้องกันการโดนยุงลายกัดได้ ดังนี้

  • ทำลายแหล่งเพาะพันธุ์ยุงลาย โดยเฉพาะแหล่งน้ำขังต่าง ๆ  
  • เปลี่ยนน้ำในกระถางหรือแจกันเป็นประจำ
  • เลี้ยงปลากินลูกน้ำยุงลาย เช่น ปลาหางนกยูง  ปลาสอด ปลากัด ไว้ในแหล่งน้ำที่ไม่สามารถเปลี่ยนถ่ายน้ำได้บ่อย ๆ เช่น อ่างบัว เป็นต้น
  • จุดที่จำเป็นต้องใส่น้ำไว้ เช่น ถ้วยรองขาตู้กับข้าว ให้ใส่เกลือหรือน้ำส้มสายชู หรือใส่ทรายกำจัดลูกน้ำยุงลาย
  • แต่งกาย ปิดประตูหน้าต่าง ให้มิดชิด 
  • นอนในมุ้ง หรือห้องที่มีมุ้งลวด มีอุปกรณ์ดักจับยุงหรือไม้ตียุง
  • ทาโลชั่นหรือฉีดสเปรย์กันยุงเสมอ เมื่อต้องทำกิจกรรมกลางแจ้งที่มียุงลายชุกชุม

 

หากมีไข้สูง ปวดเนื้อปวดตัว ปวดข้อ พบผื่นแดง หรือมีจุดเลือดออกตามร่างกาย อาการเหล่านี้อาจเป็นสัญญาณโรคร้ายจากยุงลาย  ควรรีบพบแพทย์ เพื่อวินิจฉัยโรคแต่เนิ่น ๆ หากพบว่าเป็นโรคไข้เลือดออก ชิคุนกุนยา หรือไข้ซิกา จะได้เฝ้าระวังและรักษาได้อย่างทันท่วงที ก่อนมีภาวะแทรกซ้อนรุนแรง

 

พบแพทย์เพื่อปรึกษาอาการเบื้องต้นได้ง่าย ๆ ผ่านแอปฯ หมอดี ออนไลน์จากที่ไหนก็ได้ ในวันเวลาที่คุณสะดวก ไม่ต้องเดินทาง ไม่ต้องรอคิวนาน ๆ พร้อมมีบริการจัดส่งยาให้ถึงบ้าน

 

5 ขั้นตอน ปรึกษาแพทย์ผ่านแอปฯ หมอดี 
1. ดาวน์โหลดแอปฯ หมอดี คลิก >> https://mordee.app.link/mordee  จากนั้นเลือกเมนูโปรไฟล์ เพื่อลงทะเบียนเข้าใช้งาน
2. ไปที่หน้าแรกของแอปฯ กดแถบค้นหา เลือกแผนกโรคทั่วไป หากต้องการปรึกษาโรคไข้เลือดออก โรคชิคุนกุนยา ไข้ซิกา จากยุงลาย
3. เลือกแพทย์ที่ต้องการปรึกษา แล้วทำนัดหมาย โดยเลือกวันและเวลาที่ต้องการ แล้วเลือกรูปแบบการปรึกษาเป็น วิดีโอคอล โทร หรือ แชต จากนั้นทำการชำระเงิน หรือกรอกโค้ดส่วนลด (ถ้ามี) 
4. เข้าห้องสนทนาในแอปฯ เพื่อทำการปรึกษา เมื่อถึงเวลานัดหมาย
5. รอสรุปผลการปรึกษา พร้อมใบสั่งยาจากแพทย์ (หากมี) โดยสามารถสั่งซื้อยา แล้วรอรับยาที่บ้านได้

 

สอบถามเพิ่มเติมหรือปรึกษาหมอผ่านไลน์ ได้ที่ Line ID: @mordeeapp

 

#MorDee #หมอดี #หมอประจำบ้านในมือคุณ 
#หาหมอออนไลน์ #ยุงลาย #โรคจากยุงลาย
 

share:

บทความอื่นๆ ที่คุณอาจสนใจ

ดูทั้งหมด

ยอมรับนโยบายการใช้คุกกี้

การตั้งค่าคุกกี้
นโยบายการใช้คุกกี้นี้ จะอธิบายถึงประเภท เหตุผล และลักษณะการใช้คุกกี้ รวมถึงวิธีการจัดการคุกกี้ ของเว็บไซต์ทั้งหมด โดยท่านสามารถดูรายการคุกกี้และตั้งค่าการยอมรับการใช้งาน ดูรายละเอียดเพิ่มเติม