icon-facebook icon-line icon-blockdit icon-twitter icon-instagram

Download Now

ดาวน์โหลด qr-code
iconดาวน์โหลดแอปฯ MorDee
background
Bubble
Bubble
Bubble
Bubble

นิโคติน ภัยร้ายในบุหรี่ ทำลายสุขภาพ

นิโคติน ภัยร้ายในบุหรี่ ทำลายสุขภาพ icon

นิโคติน นั้น พบได้ทั้งในบุหรี่และบุหรี่ไฟฟ้า โดยการสำรวจของสำนักงานสถิติแห่งชาติปี 2564 พบว่าจากจำนวนประชากรที่มีอายุ 15 ปีขึ้นไป 57 ล้านคน เป็นผู้สูบบุหรี่ถึง 9.9 ล้านคน และมีแนวโน้มเยาวชนจะสูบบุหรี่เพิ่มมากขึ้นเรื่อยๆ เนื่องจากค่านิยม ภาพลักษณ์ กลยุทธ์การโฆษณา 

ซึ่งนิโคติน สามารถทำให้เกิดการเสพติดและส่งผลร้ายต่อสุขภาพร่างกาย โดยไม่ได้ก่ออันตรายให้แก่ผู้สูบเท่านั้น แต่ยังมีควันบุหรี่มือสอง (Secondhand smoke)  ที่คอยส่งผลร้ายต่อคนที่อยู่รอบข้างอีกด้วย 

 

โทษของนิโคตินมีอะไรบ้าง? ร้ายแรงแค่ไหน? พบคำตอบจากคุณหมอกนกพร วงศ์อนันต์กิจ  อายุรแพทย์บนแอปฯ หมอดี ได้ในบทความนี้ 

 

นิโคตินคืออะไร? 

นิโคติน เป็นสารในกลุ่มอัลคาลอยด์ สกัดได้จากพืชใน genus  nicotiana ซึ่งสปีชี่ส์ที่พบนิโคตินได้มากที่สุดคือ tabacum

  • มีลักษณะเป็นของเหลวคล้ายน้ำมัน ไม่มีสี แต่เมื่อเผาไฟจะเปลี่ยนเป็นสีน้ำตาล
  • พบได้หลายรูปแบบ เช่น บุหรี่ ซิการ์ แผ่นแปะผิวหนัง เคี้ยวหมากฝรั่ง รวมถึงยานัตถุ์และยาเส้น สารนิโคตินสามารถดูดซึมผ่านทางผิวหนัง เยื่อบุผิวในปาก จมูก หรือการสูดดมเข้าสู่ปอด โดยรูปแบบการสูบบุหรี่จะทำให้ผู้เสพ ติดนิโคตินได้มากที่สุด  

 

พิษจากนิโคติน 

  • อาการพิษจากนิโคตินแบบเฉียบพลัน : อาเจียน ปวดท้อง ท้องเสีย แสบร้อนคล้ายไฟไหม้ แสบตา ตาแดง ปวดศีรษะ มึนงง สับสน ชัก
     
  • อาการพิษจากนิโคตินแบบเรื้อรัง :  เนื่องจากสารนิโคตินมีฤทธิ์ต่อระบบประสาท เมื่อเสพในขนาดต่ำๆ จะกระตุ้นระบบประสาทให้รู้สึกมีความสุข ผ่อนคลาย ลดความเครียด ถ้าเสพในปริมาณสูง จะกระตุ้นระบบประสาทส่วนกลาง ทำให้หัวใจเต้นเร็ว ความดันสูง และเกิดการทนต่อยา ทำให้ผู้เสพต้องการเสพในปริมาณที่มากขึ้น และเมื่อหยุดยา จะทำให้เกิดอาการถอนยา อยากเสพติดไปเรื่อยๆ  ซึ่งในระยะยาว จะส่งผลกระทบต่อร่างกาย ดังนี้


9 โทษของนิโคตินแบบเรื้อรัง

1. เป็นสารก่อมะเร็ง สัมพันธ์กับการเกิดโรคมะเร็งปอด มะเร็งกระเพาะอาหาร มะเร็งตับอ่อน มะเร็งเต้านม
2. ระบบหัวใจและหลอดเลือด นิโคตินกระตุ้นระบบประสาทอัตโนมัติ ทำให้หัวใจเต้นเร็ว ความดันสูง หลอดเลือดหัวใจตีบและเพิ่มความเสี่ยงต่อการเกิดโรคกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือด
3. ระบบทางเดินหายใจ นิโคตินทำให้เกิดภาวะถุงลมโป่งพอง หลอดลมตีบ หลอดลมอักเสบเรื้อรัง
4. ระบบทางเดินอาหาร นิโคตินกระตุ้นให้เกิดการหลั่งกรดในกระเพาะอาหารมากขึ้น การเคลื่อนตัวของกระเพาะอาหารผิดปกติ ส่งผลให้เกิดโรคแผลในกระเพาะอาหาร โรคกรดไหลย้อน
5. ระบบภูมิคุ้มกันทำงานลดลง ส่งผลให้แผลหายช้า เพิ่มโอกาสติดเชื้อบางชนิดเช่น วัณโรคปอด
6. ระบบสายตา เพิ่มโอกาสเกิดโรคจอตาเสื่อม และโรคต้อกระจก
7. ระบบไต เพิ่มความเสี่ยงต่อการเกิดโรคไตเสื่อม หลอดเลือดที่ไปเลี้ยงไตตีบ เพิ่มอัตราการเสียชีวิตในผู้ป่วยโรคไตระยะสุดท้าย
8. ระบบสืบพันธ์ 

  •  ในเพศชาย : นิโคติน ลดไนตริกออกไซด์ ทำให้อวัยวะเพศไม่แข็งตัว นอกจากนี้ยังลดการสร้างฮอร์โมนเพศชายเทสโทสเตอโรน ลดการสร้างอสุจิ ทำให้มีบุตรยาก
  •  ในเพศหญิง : นิโคติน ส่งผลต่อความผิดปกติของการตกไข่ ประจำเดือนมาไม่สม่ำเสมอ ทำให้มีบุตรยาก รวมถึงส่งผลต่อการเจริญเติบโตของทารกในครรภ์และมีความเสี่ยงต่อภาวะแท้งบุตร

9. ภาวะเมแทบอลิกซินโดรม นิโคตินลดระดับไขมันดี และเพิ่มไขมันเลวทำให้เสี่ยงต่อโรคไขมันในเลือดสูง และยังมีข้อมูลว่า นิโคตินมีส่วนทำให้เกิดภาวะดื้อต่อการทำงานของฮอร์โมนอินซูลิน เพิ่มความเสี่ยงต่อการเกิดโรคเบาหวานชนิดที่สอง 

โทษของนิโคตินที่มีต่อสุขภาพ

ทั้งหมดนี้ เป็นเพียงโทษหลัก ๆ ของสารนิโคตินในบุหรี่เท่านั้น แต่ทั้งบุหรี่มวนและบุหรี่ไฟฟ้า ยังมีสารพิษอันตรายอื่น ๆ อีก  อาทิ ทาร์ โพรไพลีนไกลคอล กลีเซอรีน โลหะหนักต่าง ๆ  

 

อยากลด ละ เลิกบุหรี่ หรือมีอาการไอเรื้อรัง หายใจลำบาก มีปัญหาสุขภาพจากการสูบบุหรี่ ปรึกษาแพทย์ออนไลน์ได้ง่าย ๆ ผ่านแอปฯ หมอดี เพื่อเข้ารับการรักษา หรือขอวิธีบำบัดอาการเสพติดนิโคติน  

 

ทำนัดปรึกษาแพทย์ได้เอง ในวันเวลาที่สะดวก ไม่ต้องเสียเวลาเดินทาง ไม่ต้องลางาน ไม่ต้องรอคิวนานๆ พร้อมมีบริการจัดส่งยาถึงบ้าน

 

5 ขั้นตอน ปรึกษาแพทย์ผ่านแอปฯ หมอดี 
1. ดาวน์โหลดแอปฯ หมอดี คลิก >> https://mordee.app.link/mordee  จากนั้นเลือกเมนูโปรไฟล์ เพื่อลงทะเบียนเข้าใช้งาน
2. ไปที่หน้าแรกของแอปฯ กดแถบค้นหา เลือกแผนกโรคทั่วไป หรืออายุรกรรม หากต้องการปรึกษาปัญหาสุขภาพจากบุหรี่
3. เลือกแพทย์ที่ต้องการปรึกษา แล้วทำนัดหมาย โดยเลือกวันและเวลาที่ต้องการ แล้วเลือกรูปแบบการปรึกษาเป็น วิดีโอคอล โทร หรือ แชต จากนั้นทำการชำระเงิน หรือกรอกโค้ดส่วนลด (ถ้ามี) 
4. เข้าห้องสนทนาในแอปฯ เพื่อทำการปรึกษา เมื่อถึงเวลานัดหมาย
5. รอสรุปผลการปรึกษา พร้อมใบสั่งยาจากแพทย์ (หากมี) โดยสามารถสั่งซื้อยา แล้วรอรับยาที่บ้านได้

 

สอบถามเพิ่มเติมได้ที่ Line ID: @mordeeapp

 

#MorDee #หมอดี #หมอประจำบ้านในมือคุณ 
#หาหมอออนไลน์  #นิโคติน 
 

share:

บทความอื่นๆ ที่คุณอาจสนใจ

ดูทั้งหมด