มะเร็งต่อมลูกหมาก พบได้บ่อยในผู้ชายอายุ 50 ปีขึ้นไป แต่จริงๆ แล้วอาจเป็นโรคร้ายที่ซ่อนอยู่ เพราะเริ่มแรกที่ป่วยโรคนี้มักแสดงอาการไม่ชัดเจน หรือเพราะไม่ได้ไปตรวจสุขภาพประจำปี ผู้ป่วยจึงไม่รู้ตัว
ในบทความนี้ นพ.ศุภสัณห์ เกียรติสุวรรณ์ แพทย์บนแอปฯ หมอดี อยากชวนมาทำความเข้าใจเรื่อง มะเร็งต่อมลูกหมาก อีกหนึ่งโรคที่เหล่าคุณผู้ชายควรรู้ทันก่อนป่วย ป้องกันให้ดีก่อนต้องรักษา เมื่ออาการทรุดหนัก
รู้จักต่อมลูกหมาก
ต่อมลูกหมาก เป็นอวัยวะหนึ่งในระบบสืบพันธุ์ของผู้ชาย มีขนาดเท่าลูกเกาลัด อยู่ใต้กระเพาะปัสสาวะ ล้อมรอบท่อปัสสาวะ ซึ่งเป็นท่อที่นำปัสสาวะและอสุจิออกจากร่างกาย หน้าที่ของต่อมลูกหมากคือการผลิตน้ำหล่อลื่น ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของน้ำอสุจิ และป้องกันการถูกทำลายของสารพันธุกรรมในอสุจิ
สาเหตุและอาการของ มะเร็งต่อมลูกหมาก
เกิดจากการแบ่งตัวและการเปลี่ยนแปลงของเซลล์ที่ผิดปกติในต่อมลูกหมาก เซลล์ที่ผิดปกติเหล่านี้จะขยายขึ้นจนกลายเป็นเนื้องอก โดยตลอดระยะเวลาที่มีการเปลี่ยนแปลงนี้อาจไม่แสดงอาการใดๆ เลย หรืออาจทำให้มีการปัสสาวะผิดปกติไป เช่น ปัสสาวะได้ยาก ปัสสาวะไม่สุด ปัสสาวะบ่อย ปัสสาวะขัด หรือปัสสาวะแผ่ว เป็นต้น นอกจากนี้ ในบางรายยังพบว่าเวลาปัสสาวะอาจมีเลือดปนออกมาด้วย และรู้สึกปวดตอนปัสสาวะหรือหลั่งน้ำอสุจิ เมื่อป่วยหรือเริ่มมีอาการเหล่านี้แล้ว ถ้าปล่อยไว้โดยไม่ได้รับการรักษา เซลล์มะเร็งจะสามารถแพร่กระจายไปยังบริเวณอื่นของร่างกายได้ถ้าเป็นระยะรุนแรง ลามไปกระดูก ก็จะมีอาการปวดหลัง ปวดอุ้งเชิงกรานได้ อย่างไรก็ตาม อาการเหล่านี้ อาจไม่ได้แปลว่าเป็นโรคมะเร็งเสมอไป เพราะอาจมีสาเหตุเกิดจากต่อมลูกหมากโต การติดเชื้อ หรือปัญหาสุขภาพอื่นๆ ควรปรึกษาแพทย์เพื่อหาสาเหตุที่แท้จริง และรับการรักษาอย่างเหมาะสม
ปัจจัยเสี่ยงที่ทำให้เกิดโรค มะเร็งต่อมลูกหมาก ได้แก่
- พันธุกรรม ผู้ที่มีประวัติบิดาหรือพี่น้องเคยเป็นมะเร็งต่อมลูกหมาก จะมีโอกาสเสี่ยงกว่าคนทั่วไป ถึง 7 เท่า
- พฤติกรรมด้านการรับประทานอาหารที่มีไขมันจากสัตว์สูง
- ภาวะขาดวิตามินดี พบว่ามีความเกี่ยวข้อง
- อาชีพที่เกี่ยวข้องกับสารแคดเมียม ซึ่งนำมาผลิตถ่านไฟฟ้า
มะเร็งต่อมลูกหมากแบ่งออกเป็น 4 ระยะ ได้แก่
ระยะที่ 1 เป็นระยะเริ่มต้น พบมะเร็งเฉพาะในต่อมลูกหมากเพียงกลีบเดียว และยังไม่มีการแพร่กระจายของเซลล์มะเร็ง
ระยะที่ 2 ก้อนมะเร็งมีขนาดใหญ่ขึ้นเล็กน้อย โดยพบทั้งสองกลีบของต่อมลูกหมาก ยังไม่มีการแพร่กระจายของเซลล์มะเร็ง
ระยะที่ 3 เซลล์มะเร็งมีการแพร่กระจายออกมาที่ผิวด้านนอกของต่อมลูกหมาก และอาจลุกลามเข้าท่อน้ำเชื้อด้านข้าง
ระยะที่ 4 เซลล์มะเร็งแพร่กระจายไปยังกระดูกและต่อมน้ำเหลือง
การตรวจเลือด คัดกรองมะเร็งต่อมลูกหมาก
PSA เป็น Tumor Marker ที่นิยมใช้ในการตรวจคัดกรองเรื่องมะเร็งต่อมลูกหมากได้ดี ทำได้ง่าย รู้ผลเร็ว แต่มีข้อควรระวังคือพบผลบวกลวง ในกรณีต่อมลูกหมากอักเสบ อุบัติเหตุช่วงอุ้งเชิงกราน หลังผ่าตัดต่อมลูกหมาก หรือในคนไข้ที่มีต่อมลูกหมากโตพบได้ 15% ที่มีผลเลือด PSA ขึ้นสูงได้ ทั้งนี้ควรปรึกษาแพทย์เพื่อประเมิณเป็นรายๆ ไป
การรักษามะเร็งต่อมลูกหมาก
สามารถรักษาหายได้ หากได้รับการรักษาตั้งแต่เนิ่น ๆ โดนมีวิธีการรักษาหลายวิธี ได้แก่ การผ่าตัด การฉายรังสีรักษา และการรับประทานยาหรือการได้รับเคมีบำบัด บางคนอาจต้องใช้การรักษาแบบร่วม ซึ่งขึ้นอยู่กับการประเมินของแพทย์เป็นรายบุคคล เพราะการรักษาแบบหนึ่งอาจจะดีที่สุดสำหรับคนหนึ่ง แต่อาจไม่เหมาะสมกับคนอื่น ๆ อย่างไรก็ตาม ผู้ที่เคยรักษาแล้วอาจกลับมาเป็นใหม่ได้ และการรักษาอีกครั้งก็อาจจะมีแนวทางการรักษาที่แตกต่างไปจากรอบแรกได้เช่นกัน
ผู้ชายที่มีปัจจัยเสี่ยงด้วยเกณฑ์ อายุ พฤติกรรม และพันธุกรรม ตามที่กล่าวมาข้างต้น ควรตรวจสุขภาพทุกปี แต่หากยังไม่สะดวกไปโรงพยาบาล หรือต้องการปรึกษาเบื้องต้น สามารถตรวจปรึกษาแพทย์ออนไลน์ได้ก่อน ผ่านแอปฯ หมอดี เรามีแพทย์เฉพาะทางด้านมะเร็ง คอยดูแลคุณ
รับคำปรึกษาจากแพทย์ผู้เชี่ยวชาญด้านมะเร็ง ผ่านแอปฯ หมอดี ได้ง่าย ๆ ใน 5 ขั้นตอน
1. ดาวน์โหลดแอปฯ หมอดี (MorDee) หรือคลิกที่ลิงก์ https://mordee.app.link/mordee จากนั้นเลือกเมนูโปรไฟล์ เพื่อลงทะเบียนเข้าใช้งาน
2. ไปที่หน้าแรกของแอปฯ พิมพ์ชื่อหมอในช่องค้นหา เลือก แผนกมะเร็ง
3. ทำนัดหมายโดยเลือกวันและเวลาที่ต้องการ แล้วเลือกรูปแบบการปรึกษาเป็น วิดีโอคอล โทร หรือ แชต จากนั้นทำการชำระเงิน หรือเลือกเคลมประกัน หรือหรอกโค้ดส่วนลด(ถ้ามี)
4. เข้าห้องสนทนาในแอปฯ เพื่อทำการปรึกษาหมอ เมื่อถึงเวลานัดหมาย
5. รอสรุปผลการปรึกษาจากหมอ พร้อมใบสั่งยา(หากมี) โดยสามารถสั่งซื้อยา แล้วรอรับยาที่บ้านได้
สอบถามเพิ่มเติมได้ที่ Line ID: @mordeeapp
#MorDee #หมอดี #หมอประจำบ้านในมือคุณ #TrueHEALTH