icon-facebook icon-line icon-blockdit icon-twitter icon-instagram

Download Now

ดาวน์โหลด qr-code
iconดาวน์โหลดแอปฯ MorDee
background
Bubble
Bubble
Bubble
Bubble

คันน้องสาว!? รู้ทัน ป้องกัน ไกลโรค

คันน้องสาว!? รู้ทัน ป้องกัน ไกลโรค icon

อาการคันน้องสาว หรืออาการคันที่บริเวณอวัยวะเพศหญิง อาจเป็นสัญญาณเสี่ยงของ โรคต่าง ๆ ได้ แม้รู้สึกคันเล็กน้อย หากมองข้ามไป คงไม่ดีแน่

 

พ.ญ.วรมา เกษมพิพัฒน์ชัย สูตินรีแพทย์ ประจำแอปฯ หมอดี ได้ให้สาระสุขภาพน่ารู้กับสาว ๆ ไว้ว่า

 

อาการคันน้องสาว แบ่งได้เป็น 3 แบบ
คือ อาการคันแบบไม่ติดเชื้อ อาการคันที่มีการติดเชื้อร่วมด้วย และอาการคันที่เกิดจากโรคที่เป็นอยู่ก่อนแล้ว โดยแต่ละแบบมีรายละเอียด ดังนี้ 


1. อาการคันน้องสาว แบบไม่ติดเชื้อ
เกิดการระคายเคืองบริเวณผิวหนังของอวัยวะเพศ โดยอาจมาได้จากหลายสาเหตุ เช่น 
- ใส่กางเกงในที่คับเกินไป แล้วเกิดการเสียดสีระหว่างกางเกงในกับผิวหนัง 
- เกิดอาการระคายเคืองจากสารเคมีที่ใช้ในการซักกางเกงใน 
- กางเกงในเกิดการอับชื้น เมื่อซักแล้วตากในที่ร่ม 
- พฤติกรรมในการใช้ชีวิตบางอย่าง เช่น การระคายเคืองจากผ้าอนามัย หรือ การโกนขนบริเวณอวัยวะเพศ
- นอกจากนี้ การที่มีความเครียดมากเกินไป ก็เป็นสาเหตุที่ทำให้เกิดอาการคันน้องสาวได้เหมือนกัน เพราะความเครียดทำให้ภูมิคุ้มกันร่างกายอ่อนแอ อาจทำให้เกิดการติดเชื้อและมีอาการคันได้ง่าย
 
2. อาการคันน้องสาว ที่มีการติดเชื้อร่วมด้วย
นอกจากคันแล้ว มักจะสังเกตเห็นอาการผิดปกติได้อย่างชัดเจนด้วย เช่น 
- หากเกิดจากเชื้อแบคทีเรีย จะพบว่าตกขาวมีกลิ่นเหม็น กลิ่นคาว และมีอาการแสบคัน หรือรู้สึกแสบเวลาปัสสาวะ รู้สึกเจ็บเวลามีเพศสัมพันธ์
- ถ้าติดเชื้อรา ตกขาวจะมีลักษณะคล้ายโยเกิร์ต และมีอาการคัน บางรายพบว่า ตกขาวมีลักษณะจับตัวเป็นก้อนสีขาว
- อาการคันน้องสาว อาจจะร่วมกับมีหูดหรือเริม ที่สังเกตได้บริเวณอวัยวะเพศอย่างชัดเจน
- หากมีอาการร้ายแรงอย่างการติดเชื้อทางเพศสัมพันธ์ จะมีอาการคันน้องสาว ร่วมกับมีแผลที่อวัยวะเพศด้านนอก มีตกขาวสีเปลี่ยนและมีกลิ่น อาจจะมีปัสสาวะแสบขัดหรือปวดท้องน้อยร่วมด้วย โรคดังกล่าว เช่น หนองในแท้ (Gonorrhea) หนองในเทียม (Chlamydia) เป็นต้น

 

3. อาการคันน้องสาว ที่เกิดจากโรคที่เป็นอยู่ก่อนแล้ว
บางคนมีอาการป่วยอยู่ก่อนแล้ว แต่มีอาการคันน้องสาวที่เป็นผลมาจากโรคนั้น เช่น โรคมะเร็งปากช่องคลอด โรคสะเก็ดเงิน โรคผิวหนังอักเสบ เป็นต้น

 

การป้องกันอาการคันน้องสาว ที่ไม่พึงประสงค์

สิ่งที่ควรทำ:
●  สวมใส่กางเกงในพอดีตัวและระบายอากาศได้ดี
● รับประทานอาหารที่ช่วยรักษาสมดุลของช่องคลอด เช่น โยเกิร์ต ผักผลไม้ ธัญพืช หรืออาหารเสริมที่มีแลคโตบาซิลลัส 
●  ระมัดระวังเรื่องความสะอาด เมื่อต้องใช้ห้องน้ำสาธารณะ
● ช่วงที่มีประจำเดือน ควรเปลี่ยนผ้าอนามัยอย่างน้อยทุก ๆ 4 ชั่วโมง
● ก่อนการมีเพศสัมพันธ์ ฝ่ายชายควรทำความสะอาดอวัยวะเพศก่อนทุกครั้ง
● ก่อนและหลังมีเพศสัมพันธ์ควรทำความสะอาดจุดซ่อนเร้นด้วยน้ำเปล่า

 

สิ่งที่ไม่ควรทำ:
● ใช้กางเกงในหรือผ้าเช็ดตัวร่วมกับผู้อื่น
● สวนล้างช่องคลอด
● ใช้ยาปฏิชีวนะโดยไม่จำเป็น
● ใช้สบู่หรือผลิตภัณฑ์ที่มีความเป็นกรดหรือด่างสูงในการล้างอวัยวะเพศ
● กินอาหารรสจัดและของหมักดองมากจนเกินไป

 

การป้องกันอาการคันน้องสาว ที่ไม่พึงประสงค์

 

ส่วนใหญ่แล้ว ปัญหาเรื่องอาการคันน้องสาวของผู้หญิงมักจะเกิดจากเชื้อรา ที่เกิดจากการเสียสมดุลของแบคทีเรียในจุดซ่อนเร้น หากใครมีปัญหาเกี่ยวกับอาการคันน้องสาวหรือมีตกขาวบ่อย ๆ สามารถขอคำแนะนำได้จากแพทย์สูตินรีเวช และควรตรวจภายใน เพื่อพิจารณาความผิดปกติแล้วทำการรักษาต่อไป


“ คันน้องสาว ไม่ต้องอาย รีบรักษาให้หายดีกว่า ก่อนเสี่ยงโรค อาการลุกลาม ”
พบแพทย์ผู้เชี่ยวชาญด้านสูตินรีเวชแบบออนไลน์  ในแผนกสุขภาพผู้หญิง ได้ง่ายๆ ผ่านแอปฯ หมอดี

 

สามารถเลือกปรึกษาคุณหมอแบบไม่เปิดเผยใบหน้าได้ ด้วยการโทรคุย หรือพิมพ์แชต ช่วยลดความเขินอาย ที่สำคัญไม่ต้องไปโรงพยาบาล ไม่ต้องรอนาน ปรึกษาหมอได้แบบเป็นส่วนตัวสุดๆ ในวันและเวลาที่คุณสะดวก


 รับคำปรึกษาจากแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ แผนก สุขภาพผู้หญิง ผ่านแอปฯ หมอดี ได้ง่าย ๆ ใน 5 ขั้นตอน
1. ดาวน์โหลดแอปฯ หมอดี (MorDee) หรือคลิกที่ลิงก์ https://mordee.app.link/mordee จากนั้นเลือกเมนูโปรไฟล์ เพื่อลงทะเบียนเข้าใช้งาน
2. ไปที่หน้าแรกของแอปฯ พิมพ์ชื่อหมอในช่องค้นหา เลือกแผนกสุขภาพผู้หญิง
3. ทำนัดหมายโดยเลือกวันและเวลาที่ต้องการ แล้วเลือกรูปแบบการปรึกษาเป็น วิดีโอคอล โทร หรือ แชต จากนั้นทำการชำระเงิน หรือเลือกเคลมประกัน หรือหรอกโค้ดส่วนลด(ถ้ามี)
4. เข้าห้องสนทนาในแอปฯ เพื่อทำการปรึกษาหมอ เมื่อถึงเวลานัดหมาย
5. รอสรุปผลการปรึกษาจากหมอ พร้อมใบสั่งยา(หากมี) โดยสามารถสั่งซื้อยา แล้วรอรับยาที่บ้านได้

 

สอบถามเพิ่มเติมได้ที่ Line ID: @mordeeapp
 

#คันน้องสาว

บทความโดย

Vorama Kasempipatchai, M.D
สุขภาพสตรี

พญ. วรมา เกษมพิพัฒน์ชัย

Obstetrics-Gynecologist specialized in Reproductive Medicine and Sexual Medicine

share:

บทความอื่นๆ ที่คุณอาจสนใจ

ดูทั้งหมด