icon-facebook icon-line icon-blockdit icon-twitter icon-instagram

Download Now

ดาวน์โหลด qr-code
iconดาวน์โหลดแอปฯ MorDee
background
Bubble
Bubble
Bubble
Bubble

คาร์โบไฮเดรต กินยังไงให้ไม่อ้วน แต่ฟิต & เฟิร์ม

คาร์โบไฮเดรต กินยังไงให้ไม่อ้วน แต่ฟิต & เฟิร์ม icon

คาร์โบไฮเดรต เป็นหนึ่งในสารอาหารหลัก 5 หมู่ที่จำเป็นต่อร่างกาย  อย่างไรก็ตาม ก็มีหลายคนเชื่อว่า หากกินอาหารประเภทนี้มากไป อาจทำให้เสี่ยงเป็นโรคอ้วน โรคเบาหวาน หรือโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง (NCDs) อื่น ๆ ได้ 

 

แล้วเราควรกินคาร์โบไฮเดรตอย่างไร ให้ร่างกายสมดุล ได้สุขภาพดีแบบฟิต & เฟิร์ม วันนี้ คุณปรารถนา นิธิเจษฎาวงศ์ นักกำหนดอาหารผู้เชี่ยวชาญ จากแอปฯ หมอดี มีเทคนิคดี ๆ มาแนะนำกัน

 


ทำความรู้จักกับคาร์โบไฮเดรต

คาร์โบไฮเดรต หรือคาร์บ  (Carbohydrate) เป็นแหล่งพลังงานสำคัญของร่างกาย โดยเมื่อกินอาหารที่มีคาร์บเข้าไป  อาหารดังกล่าวจะย่อยสลาย กลายเป็นน้ำตาลกลูโคส ให้เซลล์ต่าง ๆ ดูดซึมไปใช้เป็นพลังงานต่อไปนั่นเอง 

 

คาร์โบไฮเดรตมีกี่ประเภท อยู่ในอาหารอะไรบ้าง?

แบ่งออกเป็น 2 ประเภท ได้แก่

 

1. คาร์โบไฮเดรตเชิงเดี่ยว : ย่อยง่าย ดูดซึมเร็ว จึงรู้สึกสดชื่น กระปรี้กระเปร่า มีพลังงานทันทีที่กิน แต่ก็ทำให้ระดับน้ำตาลในเลือดเพิ่มขึ้นเร็วตามไปด้วย ทั้งยังมีใยอาหารน้อย

 

ตัวอย่างอาหาร

  •  น้ำตาลทรายขาว
  •  น้ำผึ้ง
  •  แป้งที่ผ่านการขัดสี เช่น ข้าวขาว ขนมปังขาว 
  •  ขนมหวาน เช่น เค้ก โดนัท คุกกี้ เบเกอรี
  •  น้ำหวาน เช่น น้ำอัดลม น้ำผลไม้ เครื่องดื่มเกลือแร่


2. คาร์โบไฮเดรตเชิงซ้อน : ส่วนใหญ่ เป็นธัญพืชที่ไม่ผ่านการขัดสี จึงมีใยอาหารสูง   ร่างกายต้องใช้เวลาย่อยนาน ดูดซึมช้า น้ำตาลค่อย ๆ เข้าสู่กระแสเลือดอย่างสม่ำเสมอ คงที่  จึงช่วยให้รู้สึกอิ่มนาน ช่วยปรับระบบสมดุลการขับถ่าย  มีวิตามินและแร่ธาตุมากกว่าคาร์โบไฮเดรตเชิงเดี่ยว

 

ตัวอย่างอาหาร

  •  ธัญพืชที่ไม่ผ่านการขัดสีต่าง ๆ เช่น ควินัว ลูกเดือย ข้าวบาเลย์ ข้าวกล้อง ข้าวไรซ์เบอรี่ ถั่วต่าง ๆ 
  •  แป้งที่ไม่ผ่านการขัดสี ใยอาหารสูง เช่น ขนมปังโฮลวีต 
  •  ผักใบเขียว ผลไม้
  •  เผือก มันเทศ

 

ร่างกายฟิตแน่! แค่กินคาร์โบไฮเดรตอย่างฉลาด 

  1. เลี่ยงคาร์บเชิงเดี่ยว - พยายามเลี่ยงของหวาน น้ำหวาน น้ำผึ้ง น้ำผลไม้ทั้งแบบกล่อง และแบบคั้นสด  รวมถึงอาหารที่มีน้ำตาลเยอะ 
  2.  เน้นคาร์บเชิงซ้อน - เปลี่ยนมากินแป้งและธัญพืชที่ไม่ผ่านการขัดสี  เพื่อให้อิ่มนาน ไม่หิวง่าย ได้ใยอาหาร
  3.  เลือกกินผักผลไม้สดแทนน้ำผักผลไม้ - เพราะในน้ำผักผลไม้ มีน้ำตาลจากผลไม้ผสมอยู่เป็นจำนวนมาก และแทบไม่มีใยอาหาร รวมทั้งแร่ธาตุ วิตามินเท่าการกินผลไม้เป็นชิ้นแบบสด ๆ
  4. ไม่อดคาร์บแบบสุดโต่ง - เพราะอาจส่งผลเสียต่อสมอง อารมณ์ น้ำตาลในเลือดแปรปรวนได้  แนะนำให้เลือกกินคาร์โบไฮเดรตเชิงซ้อน และเลี่ยงเชิงเดี่ยวจะดีที่สุด

 

เทคนิคการกินคาร์โบไฮเดรตอย่างถูกวิธี

จริง ๆ แล้ว คาร์โบไฮเดรตนั้น มีประโยชน์มากมาย  อยู่ที่การเลือกรับประทาน

หากเราเลือกรับประทานคาร์บจากแหล่งอาหารที่มีใยอาหารสูง   นอกจากจะได้พลังงานแล้ว ยังอุดมไปด้วยวิตามินและแร่ธาตุหลากหลาย  ซึ่งจะช่วยส่งเสริมสุขภาพโดยรวมได้  เพียงแต่เราควรเลือกกินให้ถูกชนิด กินอย่างสมดุลพอดี และออกกำลังกายควบคู่กันไปด้วย เท่านี้ การมีร่างกายที่สมดุล แข็งแรง ก็ไม่ใช่เรื่องยากอีกต่อไป

 

ถ้าคุณยังมีข้อสงสัย อยากได้คำแนะนำเกี่ยวกับการกินคาร์โบไฮเดรตอย่างถูกวิธี หรือกินแล้ว มีอาการไม่พึงประสงค์ต่าง ๆ  สามารถปรึกษาแพทย์ หรือนักโภชนาการได้ง่าย ๆ ผ่านแอปฯ หมอดี  ปรึกษาทางออนไลน์ได้จากทุกที่ ไม่ต้องเดินทาง พร้อมมีบริการจัดส่งยาถึงบ้าน

 

5 ขั้นตอน ปรึกษาแพทย์ออนไลน์กับแอปฯ หมอดี 
1. ดาวน์โหลดแอปฯ หมอดี คลิก >> https://mordee.app.link/mordee จากนั้นเลือกเมนูโปรไฟล์ เพื่อลงทะเบียนเข้าใช้งาน
2. ไปที่หน้าแรกของแอปฯ กดแถบค้นหา เลือกแผนกโภชนาการ หรือแผนกโรคทั่วไป หากต้องการปรึกษาเกี่ยวกับการกินคาร์โบไฮเดรต หรือกินแล้วเกิดอาการไม่พึงประสงค์
3. เลือกแพทย์ที่ต้องการปรึกษา แล้วทำนัดหมาย โดยเลือกวันและเวลาที่ต้องการ แล้วเลือกรูปแบบการปรึกษาเป็น วิดีโอคอล โทร หรือ แชต จากนั้นทำการชำระเงิน หรือกรอกโค้ดส่วนลด (ถ้ามี) 
4. เข้าห้องสนทนาในแอปฯ เพื่อทำการปรึกษา เมื่อถึงเวลานัดหมาย
5. รอสรุปผลการปรึกษา พร้อมใบสั่งยาจากแพทย์ (หากมี) โดยสามารถสั่งซื้อยา แล้วรอรับยาที่บ้านได้

 

สอบถามเพิ่มเติมหรือปรึกษาหมอผ่านไลน์ ได้ที่ Line ID: @mordeeapp

 

#MorDee #หมอดี #หมอประจำบ้านในมือคุณ 
#หาหมอออนไลน์ 

share:

บทความอื่นๆ ที่คุณอาจสนใจ

ดูทั้งหมด

ยอมรับนโยบายการใช้คุกกี้

การตั้งค่าคุกกี้
นโยบายการใช้คุกกี้นี้ จะอธิบายถึงประเภท เหตุผล และลักษณะการใช้คุกกี้ รวมถึงวิธีการจัดการคุกกี้ ของเว็บไซต์ทั้งหมด โดยท่านสามารถดูรายการคุกกี้และตั้งค่าการยอมรับการใช้งาน ดูรายละเอียดเพิ่มเติม