เพราะโรคริดสีดวงทวาร เกิดในร่มผ้า ในที่ลับ จึงอาจทำให้ผู้ป่วยโรคนี้บางคนรู้สึกเขินอาย ไม่กล้าไปพบหมอ และบางท่านก็อาจพยายามหาทางลัดในการรักษาด้วยตนเอง
รักษาแบบผิด ๆ ถูก ๆ ไม่ดีแน่ ปรึกษาหมอชัวร์กว่า โดยคุณหมอณัฐภัทร จันใจวงค์ แพทย์เวชปฏิบัติทั่วไป จากแอปฯ หมอดี อธิบายว่า จริง ๆ แล้วโรคนี้ไม่ใช่เรื่องน่าอาย ทุกคนที่มีปัญหาเกี่ยวกับการขับถ่ายสามารถเป็นได้
ทั้งนี้ หากไม่รีบรักษาโรคริดสีดวงทวารและปรับพฤติกรรมให้เหมาะสม อาจทำให้โรคยิ่งลุกลามรุนแรง สร้างความเจ็บปวดทรมาน จนถึงขนาดต้องผ่าตัด ซึ่งจะเสียทั้งค่าใช้จ่ายที่สูง เสียเวลาฟื้นตัวนาน เสียเวลาในการรักษามากกว่าการรักษาตั้งแต่ในระยะเริ่มต้น
ในบทความนี้ เรามาลองทำความรู้จักเกี่ยวกับโรคนี้กันให้มากขึ้น แล้วจะพบว่าโรคนี้ ถ้ารักษาอย่างตรงจุด รับการรักษาตั้งแต่เนิ่น ๆ ก็ไม่น่ากลัวอย่างที่คิด
ริดสีดวงทวารเกิดขึ้นจากอะไร?
โรคริดสีดวงทวาร เกิดจากการโป่งพองของกลุ่มหลอดเลือดดำที่ปลายสุดของลำไส้ใหญ่ และขอบรูทวาร จนเป็นก้อนนูนขึ้นมา
ชนิดของริดสีดวงทวาร
1. ริดสีดวงทวารชนิดภายใน - เป็นก้อนริดสีดวงที่เกิดเหนือรูทวารเข้าไปในลำไส้ใหญ่ ปกติ จะมองไม่เห็น คลำไม่เจอ และไม่มีอาการเจ็บ
2. ริดสีดวงทวารชนิดภายนอก - เป็นริดสีดวงทวารที่เกิดตรงรอยย่นรอบปากทวารหนัก มักมองเห็นด้วยตาเปล่า คลำเจอได้ รู้สึกเจ็บปวด เพราะเกิดใกล้กับผิวหนังที่มีปลายประสาทรับความรู้สึก
ระยะอาการของริดสีดวงทวาร
ระยะที่ 1 - พบเลือดออกเมื่อถ่ายอุจจาระ แต่ยังไม่มีอาการเจ็บปวด หรือพบเจอหัวริดสีดวงที่ทวารหนัก
ระยะที่ 2 - พบหัวริดสีดวง ออกมาจากทวารหนักขณะเบ่ง แต่เมื่อถ่ายเสร็จ ก็ยุบหายไป
ระยะที่ 3 - พบหัวริดสีดวงที่ทวารหนัก แม้ถ่ายเสร็จแล้ว ต้องใช้นิ้วมือดันให้ผลุบกลับเข้าไป
ระดับที่ 4 - หัวริดสีดวงอักเสบมาก โตมากขึ้น เจ็บ มีเลือดออกเยอะ และไม่ยอมผลุบเข้าไปแม้ใช้นิ้วมือดัน
การรักษาริดสีดวงทวาร
- กินยาแก้ปวด หรือใช้ยาเหน็บแก้อักเสบ รวมทั้งกินยาที่ทำให้เหลอดเลือดดำฝ่อตัวลง
- กินยาช่วยให้อุจจาระนิ่ม ระบายง่าย ในช่วงที่อาการริดสีดวงอยู่ในระยะ 3-4
- ฉีดยา เพื่อให้หัวริดสีดวงฝ่อลง หรือใช้ยางรัด
- ยิงเลเซอร์ หรือผ่าตัด ในกรณีที่เป็นหนักมาก
พฤติกรรมเสี่ยงที่ทำให้เป็นริดสีดวงทวาร
- นั่งเบ่งอุจจาระนาน ๆ : ปัจจุบัน มีหลายคนชอบอ่านหนังสือ หรือเล่นโทรศัพท์ระหว่างขับถ่าย การกระทำเหล่านี้ล้วนเพิ่มโอกาสให้หลอดเลือดดำตรงทวารหนักโป่งพองขึ้น ทางที่ดี ควรใช้เวลาไม่เกิน 3-5 นาที ในการขับถ่ายแต่ละครั้ง
- ดื่มน้ำน้อย : เมื่อดื่มน้ำน้อยเกินไป ร่างกายจะดูดซึมน้ำจากของเสียในลำไส้ ทำให้อุจจาระแข็ง และท้องผูก เป็นผลให้เราต้องเบ่งนานมากขึ้น ขับถ่ายยากขึ้น
- กินใยอาหารไม่พอ : เมื่อร่างกายได้รับกากใยจากผักหรือผลไม้น้อยเกินไป จะทำให้ลำไส้บีบตัวได้ช้า ท้องผูกง่าย เสี่ยงเกิดริดสีดวงทวารได้
- ท้องผูก ท้องเสียเรื้อรัง : หากไม่ได้ขับถ่ายทุกวัน จะทำให้อุจจาระยิ่งแข็ง และยิ่งต้องใช้แรงเบ่งในการขับถ่าย ทำให้เกิดริดสีดวงได้ง่ายขึ้น ส่วนภาวะท้องเสีย เป็นการเกิดการระคายเคืองในลำไส้ ต้องขับถ่ายบ่อย ซึ่งมีผลให้กลุ่มเส้นเลือดดำรอบรูทวารต้องทำงานหนัก ก่อให้เกิดริดสีดวงได้เช่นกัน
ทั้งนี้ โรคริดสีดวงทวาร ไม่ใช่เรื่องน่าอาย ใคร ๆ ก็เป็นได้ เมื่อมีอาการในระยะเริ่มต้น ควรรีบปรึกษาแพทย์ เพื่อรับยาลดการอักเสบโดยเร็ว จากนั้น ก็ปรับพฤติกรรมการกินและการขับถ่ายให้เหมาะสม เท่านี้ ก็จะสามารถป้องกันไม่ให้กลับมาเป็นซ้ำอีกได้
แต่ถ้าคุณยังไม่สะดวกใจไปโรงพยาบาล สามารถปรึกษาแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ ผ่านแอปฯ หมอดี ก่อนได้ ทำนัดได้รวดเร็ว ตามวันเวลาที่สะดวก ไม่ต้องรอคิวนาน พร้อมมีบริการจัดส่งยาถึงบ้าน
5 ขั้นตอน ปรึกษาแพทย์ออนไลน์กับแอปฯ หมอดี
1. ดาวน์โหลดแอปฯ หมอดี คลิก >> https://mordee.app.link/mordee จากนั้นเลือกเมนูโปรไฟล์ เพื่อลงทะเบียนเข้าใช้งาน
2. ไปที่หน้าแรกของแอปฯ กดแถบค้นหา เลือกแผนกโรคทั่วไป หากต้องการปรึกษาเกี่ยวกับโรคริดสีดวงทวาร
3. เลือกแพทย์ที่ต้องการปรึกษา แล้วทำนัดหมาย โดยเลือกวันและเวลาที่ต้องการ แล้วเลือกรูปแบบการปรึกษาเป็น วิดีโอคอล โทร หรือ แชต จากนั้นทำการชำระเงิน หรือกรอกโค้ดส่วนลด (ถ้ามี)
4. เข้าห้องสนทนาในแอปฯ เพื่อทำการปรึกษา เมื่อถึงเวลานัดหมาย
5. รอสรุปผลการปรึกษา พร้อมใบสั่งยาจากแพทย์ (หากมี) โดยสามารถสั่งซื้อยา แล้วรอรับยาที่บ้านได้
สอบถามเพิ่มเติมหรือปรึกษาหมอผ่านไลน์ ได้ที่ Line ID: @mordeeapp
#MorDee #หมอดี #หมอประจำบ้านในมือคุณ
#หาหมอออนไลน์