icon-facebook icon-line icon-blockdit icon-twitter icon-instagram

Download Now

ดาวน์โหลด qr-code
iconดาวน์โหลดแอปฯ MorDee
background
Bubble
Bubble
Bubble
Bubble

สิ่งที่ควรรู้เกี่ยวกับ Home Isolation

สิ่งที่ควรรู้เกี่ยวกับ Home Isolation icon

การทำ Home Isolation สามารถเรียกสั้น ๆ ง่าย ๆ ว่าเป็น “การแยกรักษาตัวอยู่บ้านภายใต้การดูแลของแพทย์” โดยแพทย์จะเป็นผู้ทำการประเมินโดยเช็กประวัติและอาการ แล้วจึงทำการวินิจฉัยว่าควรทำ  Home Isolation อยู่ที่บ้านหรือต้องแอดมิดเป็นผู้ป่วยในของโรงพยาบาล

 


การทำ Home Isolation นั้นไม่ยากเลย ซึ่งไม่ว่าจะป่วยเองหรือเป็นคนคอยดูแล (อยู่ห่างๆ) ก็สามารถรู้ไว้ก่อนเพื่อเตรียมพร้อมรับมือได้ ด้วยคำแนะนำจากพญ.เบญจลักษณ์ ลีลาสาธิตกุล แพทย์เวชปฏิบัติทั่วไป ประจำแอปฯ หมอดี

 

☑  เช็กอาการเบื้องต้นว่าคุณป่วยอยู่ในระดับที่ทำ Home Isolation ที่บ้านหรือต้องอยู่โรงพยาบาล
เมื่อติดเชื้อ กรมการแพทย์  กระทรวงสาธารณสุข จะแบ่งผู้ป่วยเป็น 3 สี โดยแต่ละสีจะแบ่งตามความรุนแรงของอาการ ดังนี้


1. ผู้ป่วยสีเขียว  คือ กลุ่มผู้ป่วยที่ไม่มีอาการ  หรือมีอาการเล็กน้อยคล้ายไข้หวัดทั่วไป  อาการเหล่านั้น  ได้แก่   ไอ  มีน้ำมูก  เจ็บคอ  ไม่ได้กลิ่น  ลิ้นไม่รับรส ตาแดง  เป็นต้น


2. ผู้ป่วยสีเหลือง  คือ  กลุ่มผู้ป่วยที่มีปัจจัยเสี่ยงที่อาจก่อให้เกิดอาการรุนแรงร่วมกับการติดเชื้อโควิด-19 ได้  และอาจมีอาการอื่นตามมา  ได้แก่  แน่นหน้าอก  หายใจลำบาก  อ่อนเพลีย เวียนศีรษะ ปอดอักเสบ  ถ่ายเหลวมากกว่า 3  ครั้งต่อวัน  เป็นต้น


3. ผู้ป่วยสีแดง  คือ  กลุ่มผู้ป่วยที่มีอาการของปอดอักเสบรุนแรง เช่น หอบเหนื่อย  แน่นหน้าอกตลอดเวลา  ปอดบวม เอกซเรย์ปอดพบว่าปอดอักเสบรุนแรง ซึม ตอบสนองช้า ค่าความเข้มข้นของออกซิเจนในเลือดน้อยกว่า 95% หรือ หลังออกกำลังกาย 3 นาทีแล้วค่าลดลงจากค่าเริ่มต้นอย่างน้อย 3%  เป็นต้น.

 

ผู้ป่วยกลุ่มสีเขียว ที่แม้จะมีอาการน้อยหรือไม่มีอาการเลย ก็ต้องแยกตัวออกมาเพื่อทำ Home Isolation เนื่องจากต้องป้องกันการแพร่เชื้อ

เช็กอาการเบื้องต้นว่าคุณป่วยอยู่ในระดับที่ทำ Home Isolation ที่บ้านหรือต้องอยู่โรงพยาบาล


ปัจจัยเสี่ยงต่อการเป็นโรครุนแรง มีดังนี้
1. อายุมากกว่า 60 ปีขึ้นไป
2. โรคปอดอุดกั้นเรื้อรัง หรือ โรคปอดเรื้อรังอื่นๆ
3. โรคไตเรื้อรัง (ระยะ 3 ขึ้นไป)
4. โรคหัวใจและหลอดเลือด รวมถึงโรคหัวใจแต่กำเนิด
5. โรคหลอดเลือดสมอง
6. โรคเบาหวานที่ควบคุมไม่ได้
7. ภาวะอ้วน (น้ำหนักมากกว่า 90 กิโลกรัม หรือ BMI มากกว่าหรือเท่ากับ 30 กก./ตรม.)
8. ตับแข็ง
9. ภาวะภูมิคุ้มกันต่ำ (อยู่ระหว่างได้รับยาเคมีบำบัด หรือ ยากดภูมิ)
10. ผู้ติดเชื้อเอชไอวีที่มี CD4 < 200 เซลล์/ลบ.มม.

ปัจจัยเสี่ยงต่อการมีอาการรุนแรง เมื่อติดโควิด-19

 

ควรเตรียมอะไรบ้างเพื่อทำ Home Isolation 
หลายคนอาจสงสัยว่าการทำ home isolation สำหรับผู้ป่วยสีเขียว จะได้รับยาและอุปกรณ์อะไรจากโรงพยาบาล หรือต้องเตรียมอะไรเองบ้าง ซึ่งต้องให้หมอเป็นผู้ประเมิน หากเลือกปรึกษาที่โรงพยาบาลและเข้าร่วม “เจอ จ่าย จบ” จะได้ชุดเซ็ตยาบรรเทาอาการที่จำเป็นต่อการทำ Home Isolation ซึ่งนอกจากเซ็ตยามาตรฐานแล้ว ผู้ป่วยก็สามารถจัดหาเพิ่มเติมเองได้เช่นกัน

 

สิ่งที่ควรมีเมื่อทำ Home Isolation ได้แก่ 
1.    ยาพ่นแก้เจ็บคอ ยาแก้ไอ ยาแก้แพ้-ลดน้ำมูก ยาพาราเซตามอล ยาละลายเสมหะ (เซ็ตยามาตรฐานที่จำเป็นต้องมี)
2.    เครื่องมือวัดอุณหภูมิ ค่าออกซิเจน ความดัน อัตราการเต้นของหัวใจ
3.    ชุดตรวจ ATK
4.    อาหารเสริม หรือวิตามิน สามารถหามาทานได้ควบคู่ไปกับการรักษา (แต่ควรได้รับคำแนะนำจากแพทย์และเภสัชกรก่อนซื้อหามารับประทาน)
5.    อย่าลืมทานอาหารอ่อนๆ เช่น โจ๊ก ข้าวต้ม และจัดให้ครบ 3 มื้อ

 

อาการของโรคโควิด-19 ในปัจจุบันส่วนมาก ผู้ป่วยที่ไม่มีปัจจัยเสี่ยงจะมีอาการแรกเริ่มเพียงเล็กน้อยหรือไม่มีอาการ แต่อาจจะค่อยๆมีอาการเพิ่มมากขึ้น (โดยเฉพาะในวันที่ 3-5) หลังจากนั้นอาการจะค่อย ๆ ลดลงและหายได้เอง โดยใช้เวลาเวลาประมาณ 10 วัน (บางรายอาจมากกว่าหรือน้อยกว่านี้)

ควรเตรียมอะไรบ้างเพื่อทำ Home Isolation

 


 การปฏิบัติตัวเมื่อต้องทำ Home Isolation
❌ ห้ามออกจากที่พักและไม่ให้คนอื่นมาเยี่ยมที่บ้าน
❌ ห้ามรับประทานอาหารร่วมกับผู้อื่น  รวมถึงแยกตนเองจากผู้อื่นเป็นเวลาอย่างน้อย 10 วัน นับตั้งแต่วันที่เริ่มมีอาการ หรือ วันที่ตรวจพบเชื้อ
☑ อยู่ในห้องพักส่วนตัวตลอดเวลา แต่หากไม่สามารถแยกห้องจากผู้อื่นในบ้านได้ หรือ จำเป็นต้องเข้าใกล้ผู้อื่น ให้สวมหน้ากากอนามัยตลอดเวลาและเว้นระยะห่างจากผู้อื่นอย่างน้อย 2 เมตร
☑ เปิดเครื่องกรองอากาศ(ถ้ามี) หรือเปิดหน้าต่างให้อากาศถ่ายเทได้สะดวก 
☑ ล้างมือบ่อย ๆ ด้วยสบู่หรือเจลแอลกอฮอล์ทุกครั้ง
☑ เลี่ยงการใช้ห้องน้ำร่วมกับผู้อื่น หากจำเป็นต้องใช้ร่วมกัน ผู้ป่วยควรใช้ห้องน้ำเป็นคนสุดท้ายและทำความสะอาดล้างห้องน้ำและบริเวณที่สัมผัสหลังการใช้งานเสมอ
☑ แยกของใช้ส่วนตัว จาน ชาม ช้อนส้อม ไม่ใช้ร่วมกับคนอื่นในบ้าน 
☑ แยกขยะของผู้ป่วยโควิด-19 ออกจากของคนอื่นๆให้มิดชิด
☑ สังเกตอาการของตัวเอง วัดอุณหภูมิและค่าออกซิเจนทุกวัน หากอาการแย่ลง ควรรีบปรึกษาแพทย์

การปฏิบัติตัวเมื่อต้องทำ Home Isolation

 

ปรึกษาแพทย์ผ่านแอปฯ หมอดี แล้วรอรับยาที่บ้าน ควบคู่กับการทำ Home Isolation ได้ง่ายๆ ใน 5 ขั้นตอน ดังนี้
1. ดาวน์โหลดแอปฯ คลิก>> https://mordee.app.link/mordee จากนั้นเลือกเมนูโปรไฟล์ เพื่อลงทะเบียนเข้าใช้งาน
2. ไปที่หน้าแรกของแอปฯ พิมพ์คำว่า “โควิด” ในแถบค้นหา หรือเลือกพบแพทย์แผนกโรคทั่วไป
3. เลือกคุณหมอ แล้วทำนัดหมาย โดยเลือกวันและเวลาที่ต้องการ แล้วเลือกรูปแบบการปรึกษาเป็น วิดีโอคอล โทร หรือ แชต จากนั้นทำการชำระเงิน หรือกรอกโค้ดส่วนลด (ถ้ามี) 
4. เข้าห้องสนทนาในแอปฯ เพื่อทำการปรึกษาแพทย์ เมื่อถึงเวลานัดหมาย
5. รอสรุปผลการปรึกษาจากแพทย์ พร้อมใบสั่งยา(หากมี) โดยสามารถสั่งซื้อยา แล้วรอรับยาที่บ้านได้

สอบถามเพิ่มเติมได้ที่ Line ID: @mordeeapp

#หมอดี #MorDee #หมอประจำบ้านในมือคุณ #TrueHEALTH 
#Covid-19 #โควิด-19 #โอไมครอน #โคโรน่าไวรัส #HomeIsolation
 

#โควิด19 #Covid19 #HomeIsolation

share:

บทความอื่นๆ ที่คุณอาจสนใจ

ดูทั้งหมด

ยอมรับนโยบายการใช้คุกกี้

การตั้งค่าคุกกี้
นโยบายการใช้คุกกี้นี้ จะอธิบายถึงประเภท เหตุผล และลักษณะการใช้คุกกี้ รวมถึงวิธีการจัดการคุกกี้ ของเว็บไซต์ทั้งหมด โดยท่านสามารถดูรายการคุกกี้และตั้งค่าการยอมรับการใช้งาน ดูรายละเอียดเพิ่มเติม