อีสุกอีใส เป็นโรคติดต่อทางผิวหนังทั่วไป ที่ดูไม่อันตราย พบได้ในทุกเพศทุกวัย แต่ถ้าดูแลตัวเองไม่ดี อาจทิ้งรอยแผลเป็นที่ไม่น่ามอง หรืออาจติดเชื้อรุนแรง เกิดภาวะแทรกซ้อนที่น่ากังวลได้
ในบทความนี้ คุณหมอกฤต อาชาเลิศวรานนท์ แพทย์พยาธิวิทยาคลินิกและเวชปฏิบัติทั่วไป จากแอปฯ หมอดี จะชวนทุกคนมาทำความรู้จักเกี่ยวกับโรคอีสุกอีใส พร้อมแนะนำวิธีรับมือโรคนี้อย่างถูกต้อง เพื่อให้โรคหายเร็ว ไม่เสี่ยงอาการรุนแรง
อีสุกอีใส เกิดจากอะไร?
โรคอีสุกอีใส (Chickenpox หรือ Varicella) เกิดจากเชื้อไวรัสวาริเซลลา (Varicella Virus) สามารถติดต่อได้ง่าย ผ่านทางการสัมผัสสารคัดหลั่ง ผ่านลมหายใจ หรือใช้ของร่วมกัน กับผู้ป่วย
โรคอีสุกอีใส สามารถแพร่กระจายก่อนตุ่มขึ้น 1 - 2 วันและหยุดแพร่กระจาย เมื่อทุกตุ่มตกสะเก็ด จึงควรระมัดระวัง นอกจากนี้ยังมีระยะฟักตัวนาน ประมาณ 10 - 20 วัน หากใกล้ชิดกับผู้ป่วย อาจจะต้องสังเกตอาการเป็นระยะ
อาการของโรคอีสุกอีใส
ระยะที่ 1 :
- มีไข้ต่ำ ๆ
- ปวดเมื่อยกล้ามเนื้อ ครั่นเนื้อครั่นตัว
- เบื่ออาหาร อ่อนเพลีย
ระยะที่ 2 :
- เกิดผื่นแดง คัน ขึ้นตามร่างกาย
- ผื่นแดง กลายเป็นตุ่มน้ำใส และจะตกสะเก็ดประมาณ 1 สัปดาห์
หากผู้ป่วยอายุต่ำกว่า 1 ปี มีภูมิคุ้มกันอ่อนแอ หรือกำลังตั้งครรภ์ ป่วยเป็นอีสุกอีใส มีอาการไข้สูงนานเกิน 4 วัน ปวดท้องมาก ตุ่มน้ำมีเลือดออก ควรรีบไปพบแพทย์โดยไว เพราะเป็นกลุ่มเสี่ยงที่อาจเกิดภาวะแทรกซ้อนร้ายแรง นอกจากนี้ คนที่ยังไม่เคยเป็นโรคอีสุกอีใส สามารถติดได้ จึงควรระมัดระวังไม่อยู่ใกล้ผู้ป่วยอีสุกอีใส
เมื่อเป็นอีสุกอีใส รับมืออย่างไรดี?
โดยทั่วไป โรคอีสุกอีใส สามารถวินิจฉัยได้จากการซักประวัติ และการดูลักษณะผื่น โดยไม่จำเป็นต้องตรวจเลือดหรือสะกิดตุ่มน้ำ เพื่อตรวจยืนยันกับทางห้องปฎิบัติการ
แต่เพื่อให้หายจากอีสุกอีใสเร็วขึ้น และหลีกเลี่ยงภาวะแทรกซ้อนอย่างภาวะติดเชื้อที่ผิวหนัง/เนื้อเยื่อ โรคปอดอักเสบ หรือไข้สมองอักเสบ ผู้ป่วยควรปฏิบัติตัว ดังนี้
- ไม่แคะ แกะ เกา ตุ่มอีสุกอีใส ตัดเล็บให้สั้น
- รักษาร่างกายและของใช้รอบตัวให้สะอาด เพื่อลดความเสี่ยงในการติดเชื้อแบคทีเรีย
- กินอาหารที่มีประโยชน์ ดื่มน้ำและพักผ่อนให้เพียงพอ เพื่อเสริมภูมิคุ้มกันร่างกาย
- หากต้องอาศัยอยู่ในบ้านร่วมกับผู้ป่วย แนะนำให้สวมหน้ากากอนามัยชนิด N95 จึงจะป้องกันการติดเชื้อได้
- ปรึกษาแพทย์ทันทีที่มีตุ่มใสทั่วร่างกาย เพื่อขอรับยาประคับประคองอาการ เช่น ยาต้านไวรัส ยาแก้แพ้ ยาแก้คัน หรือยาลดไข้ เป็นต้น
ทั้งนี้ ยาต้านไวรัสควรให้ในเด็กแรกเกิด วัยรุ่นและผู้ใหญ่ตอนต้น คนที่มีโรคประจำตัวเกี่ยวกับทางเดินหายใจ โรคผิวหนัง เป็นต้น เนื่องจากจะมีอาการรุนแรง โดยยาต้านไวรัสนี้ จะช่วยลดการแบ่งตัวของไวรัส ลดจำนวนตุ่ม ลดอาการรุนแรง และสามารถละการแพร่กระจ่ายของเชื้อได้
หากมีอาการเป็นโรคอีสุกอีใส ไม่สะดวกเดินทางไปโรงพยาบาล สามารถปรึกษาแพทย์ออนไลน์ได้ง่าย ๆ ผ่านแอปฯ หมอดี ทำนัดได้เองตามวันเวลาที่สะดวก พบแพทย์ได้ทันที ไม่ต้องรอคิวนาน พร้อมจัดส่งยาถึงบ้าน ทั่วไทย
5 ขั้นตอน ในการใช้แอปฯ หมอดี เพื่อปรึกษาแพทย์
1. ดาวน์โหลดแอปฯ หมอดี คลิก >> https://mordee.app.link/mordee จากนั้นเลือกเมนูโปรไฟล์ เพื่อลงทะเบียนเข้าใช้งาน
2. ไปที่หน้าแรกของแอปฯ กดแถบค้นหา เลือกแผนกทั่วไป หรือแผนกโรคผิวหนัง หากต้องการปรึกษาเรื่องอีสุกอีใส
3. เลือกแพทย์ที่ต้องการปรึกษา แล้วทำนัดหมาย โดยเลือกวันและเวลาที่ต้องการ แล้วเลือกรูปแบบการปรึกษาเป็น วิดีโอคอล โทร หรือ แชต จากนั้นทำการชำระเงิน หรือกรอกโค้ดส่วนลด (ถ้ามี)
4. เข้าห้องสนทนาในแอปฯ เพื่อทำการปรึกษา เมื่อถึงเวลานัดหมาย
5. รอสรุปผลการปรึกษา พร้อมใบสั่งยาจากแพทย์ (หากมี) โดยสามารถสั่งซื้อยา แล้วรอรับยาที่บ้านได้
สอบถามเพิ่มเติมหรือปรึกษาหมอผ่านไลน์ ได้ที่ Line ID: @mordeeapp
#MorDee #หมอดี #หมอประจำบ้านในมือคุณ
#หาหมอออนไลน์ #โรคอีสุกอีใส