icon-facebook icon-line icon-blockdit icon-twitter icon-instagram

Download Now

ดาวน์โหลด qr-code
iconดาวน์โหลดแอปฯ MorDee
background
Bubble
Bubble
Bubble
Bubble

5 ข้อควรทราบ เกี่ยวกับ ยาโรคซึมเศร้า

5 ข้อควรทราบ เกี่ยวกับ ยาโรคซึมเศร้า icon

เมื่อมีอาการโรคซึมเศร้า จิตแพทย์อาจจ่ายยาโรคซึมเศร้าแก่ผู้ป่วย ควบคู่กับการทำจิตบำบัดและปรับพฤติกรรม โดยยาโรคซึมเศร้าจะช่วยปรับสมดุลสารเคมีในสมอง ทำให้ภาวะอารมณ์ของผู้ป่วยกลับมาเป็นปกติ

 

ปัจจุบัน ยารักษาโรคซึมเศร้ามีหลายชนิด และมีกลไกการออกฤทธิ์ที่แตกต่างกัน จิตแพทย์จะจ่ายยาตามความเหมาะสมกับคนไข้ และมีการปรับยาตามอาการ ผู้ป่วยไม่ควรซื้อยามากินหรือปรับยาด้วยตัวเอง เนื่องจากอาจเกิดผลข้างเคียงได้มาก

 

เพื่อให้ผู้ป่วยเกิดความเข้าใจเกี่ยวกับยารักษาโรคซึมเศร้า หรือยาต้านเศร้า ในเบื้องต้น และใช้ยาได้อย่างปลอดภัย เรามาอ่านคำแนะนำดี ๆ จาก คุณหมอธนานันต์ นุ่มแสง จิตแพทย์จากแอปฯ หมอดี กัน

 

 

5 ข้อควรทราบ เกี่ยวกับ ยารักษาโรคซึมเศร้า

 

1. ยาโรคซึมเศร้ามีหลายประเภท

ยารักษาโรคซึมเศร้าจะมีกลไกการออกฤทธิ์ที่จะช่วยปรับสารเคมีในสมอง ได้แก่ เซโรโทนิน (Serotonin) นอร์อิพิเนฟรีน (Norepinephrine) โดพามีน (Dopamine) ซึ่งมีหน้าที่ควบคุมสมดุลอารมณ์ความรู้สึก  

 

ยารักษาโรคซึมเศร้า จึงแบ่งการออกฤทธิ์เป็น 2 แบบหลัก  ได้แก่

 

  • ออกฤทธิ์ต่อสารสื่อประสาทเซโรโทนินเป็นหลัก

เรียกยากลุ่มนี้ว่า SSRIs (Selective Serotonin Reuptake Inhibitors) ตัวอย่างของยากลุ่มนี้ เช่น Fluoxetine, Sertraline, Escitalopram

 

  •  ออกฤทธิ์ต่อสารสื่อประสาทหลายชนิดร่วมกัน

ทั้ง เซโรโทนิน นอร์อิพิเนฟรีน และสารเคมีอื่น ๆ ในสมอง  เรียกยากลุ่มนี้ว่า SNRIs (Serotonin and Norepinephrine Reuptake Inhibitors) ตัวอย่างของยากลุ่มนี้ เช่น Duloxetine, Venlafaxine, Desvenlafaxine

 

การจะเลือกใช้ยารักษาโรคซึมเศร้ากลุ่มใดในการรักษาขึ้นอยู่กับดุลพินิจของจิตแพทย์

 

2. ยาโรคซึมเศร้า กินแล้วไม่ได้ดีขึ้นในทันที ไม่ควรใจร้อน

โรคนี้ไม่ได้หายได้ทันทีเมื่อกินยาโรคซึมเศร้า แต่ส่วนใหญ่จะใช้เวลา 1 - 2 สัปดาห์ จึงค่อย ๆ เห็นผล เช่น อารมณ์เบื่อเศร้าค่อยๆ ดีขึ้น อยากอาหารมากขึ้น รู้สึกมีเรี่ยวแรง นอนหลับได้ดีขึ้น

 

3. ยาโรคซึมเศร้ามีผลข้างเคียง ควรปรึกษาแพทย์ หากผลข้างเคียงรุนแรง ไม่หยุดยาเอง

ในการใช้ยาทุกชนิด สามารถมีผลข้างเคียงเกิดขึ้นได้ การรักษาด้วยยารักษาโรคซึมเศร้าก็ไม่ต่างกัน  โดยอาจมีผลข้างเคียงที่เกิดขึ้นได้ ดังนี้

 

  • ปากแห้ง
  • ง่วงนอน หรือ นอนไม่หลับ
  • เวียนหัว หน้ามืด
  • เห็นภาพเบลอ
  • ท้องผูก
  • อาจรู้สึกเศร้า หรืออารมณ์แปรปรวนกว่าปกติ 

 

ซึ่งผลข้างเคียงส่วนใหญ่จะเกิดขึ้นในช่วงแรกของการรับประทานยารักษาโรคซึมเศร้า และจะค่อย ๆ ดีขึ้น เมื่อรับประทานยาไประยะหนึ่ง 

 

หากพบอาการรุนแรงหลังรับประทานยารักษาโรคซึมเศร้า ควรปรึกษาจิตแพทย์ที่รักษา เพื่อปรับการใช้ยา ไม่ควรหยุดยาเอง เพราะอาจเกิดผลข้างเคียงในการถอนยาได้

 

4. ยาโรคซึมเศร้าควรกินอย่างต่อเนื่อง แม้จะรู้สึกดีขึ้นแล้วก็ตาม 

ผู้ป่วยโรคซึมเศร้าหลายราย ตัดสินใจหยุดกินยาเร็วกว่าคำสั่งแพทย์ เพราะรู้สึกว่าอาการดีขึ้นแล้ว และกลัวจะติดยาโรคซึมเศร้า  แต่จริง ๆ แล้ว  โรคซึมเศร้า จำเป็นต้องกินยาอย่างต่อเนื่อง จนกว่าแพทย์จะสั่งให้หยุด  การหยุดยาเอง หรือกิน ๆ หยุด ๆ อาจทำให้การรักษายากขึ้นกว่าเดิม


5. การตอบสนองต่อยาโรคซึมเศร้าในแต่ละคนไม่เหมือนกัน

ยาโรคซึมเศร้าชนิดเดียวกัน อาจได้รับการสนองที่ดีในผู้ป่วยคนหนึ่ง ในขณะที่อีกคนอาจมีผลข้างเคียง หรือผลการตอบสนองต่อยาที่แตกต่างกันก็ได้ 

 

ข้อควรทราบเกี่ยวกับยาโรคซึมเศร้า

 
ดังนั้นจึงเป็นสิ่งสำคัญอย่างมากที่ผู้ป่วยจำเป็นต้องได้รับการวินิจฉัยจากแพทย์อย่างใกล้ชิด  และได้รับยาโรคซึมเศร้าที่เหมาะสมกับผู้ป่วยแต่ละราย ติดตามการรักษาปรับยาโรคซึมเศร้าอย่างสม่ำเสมอ เพื่อให้ได้ผลการรักษาที่ดี และเกิดผลข้างเคียงน้อยที่สุด

 

แม้โรคซึมเศร้าจะเป็นเรื่องของจิตใจ แต่การกินยาโรคซึมเศร้าอย่างถูกวิธีและเคร่งครัด ภายใต้การดูแลของแพทย์  มีส่วนทำให้อาการดีขึ้นได้อย่างรวดเร็ว 

 

แต่หากท่านรู้สึกทุกข์ใจ อยากหาที่ระบาย หรือมีอาการของโรคซึมเศร้า สามารถปรึกษาจิตแพทย์หรือนักจิตบำบัด แบบเป็นส่วนตัวได้ ผ่านแอปฯ หมอดี ที่นี่เรามีผู้เชี่ยวชาญคอยรับฟัง พร้อมให้คำปรึกษาเคียงข้างคุณเสมอ ทำนัดได้ในวันเวลาที่คุณสะดวก พร้อมบริการจัดส่งยาโรคซึมเศร้าให้ถึงบ้าน

 

 5 ขั้นตอน ในการใช้แอปฯ หมอดี เพื่อปรึกษาจิตแพทย์ หรือ นักจิตบำบัด
1. ดาวน์โหลดแอปฯ หมอดี คลิก >> https://mordee.app.link/mordee จากนั้นเลือกเมนูโปรไฟล์ เพื่อลงทะเบียนเข้าใช้งาน
2. ไปที่หน้าแรกของแอปฯ กดแถบค้นหา เลือกแผนก “จิตเวช” หากต้องการพบจิตแพทย์และรับยาโรคซึมเศร้า หรือเลือกแผนก “สุขภาพใจ” หากต้องการปรึกษานักจิตบำบัด
3. เลือกจิตแพทย์หรือนักจิตบำบัดที่ต้องการปรึกษา แล้วทำนัดหมาย โดยเลือกวันและเวลาที่ต้องการ แล้วเลือกรูปแบบการปรึกษาเป็น วิดีโอคอล โทร หรือ แชต จากนั้นทำการชำระเงิน หรือกรอกโค้ดส่วนลด (ถ้ามี) 
4. เข้าห้องสนทนาในแอปฯ เพื่อทำการปรึกษา เมื่อถึงเวลานัดหมาย
5. รอสรุปผลการปรึกษา พร้อมใบสั่งยาจากแพทย์ (หากมี) โดยสามารถสั่งซื้อยา แล้วรอรับยาที่บ้านได้

 

สอบถามเพิ่มเติมหรือปรึกษาหมอผ่านไลน์ ได้ที่ Line ID: @mordeeapp

 

#MorDee #หมอดี #หมอประจำบ้านในมือคุณ 
#หาหมอออนไลน์ #จิตแพทย์ #ยารักษาโรคซึมเศร้า  

share: