icon-facebook icon-line icon-blockdit icon-twitter icon-instagram

ดาวน์โหลดเลย

ดาวน์โหลด qr-code
iconดาวน์โหลดแอปฯ MorDee
background
Bubble
Bubble
Bubble
Bubble

ชวนสังเกต โรควิตกกังวล แพนิก โรคที่บางคนเป็น แต่ไม่รู้ตัว

ชวนสังเกต โรควิตกกังวล แพนิก โรคที่บางคนเป็น แต่ไม่รู้ตัว icon

โรควิตกกังวล อาการแพนิก เป็นปฏิกิริยาที่ร่างกายสร้างขึ้นเพื่อตอบสนองต่อความเครียด ทำให้ตื่นตัวและรับมือกับปัญหาที่เกิดขึ้นได้ ซึ่งโรควิตกกังวล อาการแพนิก นับเป็นโรคยอดฮิตชนิดหนึ่ง ที่กำลังคุกคามสุขภาพของคนวัยทำงานในยุคปัจจุบัน ลองสังเกตดู คุณอาจจะไม่รู้ตัวด้วยซ้ำว่ากำลังเป็นโรคนี้อยู่

 

อ.อัครพล เค้าอุทัย นักจิตวิทยาผู้เชี่ยวชาญ ในแผนกสุขภาพใจ บนแอปฯ หมอดี ชวนมารู้จัก โรควิตกกังวล แพนิก โรคที่บางคนเป็นแต่ไม่รู้ตัว เพื่อให้คุณได้เข้าใจในสภาวะจิตใจของตนเองมากขึ้น ลองมาทำความรู้จักเกี่ยวกับสาเหตุและประเภทของโรคนี้ หากมีอาการหรือสัญญาณที่เข้ากันได้ ก็จะได้หาทางบำบัดรักษาอย่างถูกต้องเพื่อคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น

 

สาเหตุของโรควิตกกังวล แพนิก 
โรควิตกกังวล แพนิก เป็นโรคทางจิตเวชที่ถือว่าพบได้มาก เกิดจาก 2 สาเหตุหลัก ดังนี้
1. พันธุกรรม ถ้าพ่อแม่เป็นโรคแพนิก ลูกก็มีโอกาสเป็นโรคแพนิกเช่นกัน โดยในรหัสพันธุกรรมของร่างกายที่พ่อแม่ถ่ายทอดสู่ลูก อาจมีบางสิ่งที่ทำให้การสร้างสารเคมีในสมองไม่สมดุล ก่อให้เกิดอาการทางประสาท อันเป็นสาเหตุของอาการวิตกกังวลและอาการแพนิก ที่ไม่ปกติได้
2. สภาพแวดล้อมและการเลียนแบบพฤติกรรมจากคนใกล้ชิด การถูกเลี้ยงดูมาในสภาพแวดล้อมที่ทำให้เกิดความกดดันในตอนเด็ก หรือการเคยต้องประสบกับเหตุการณ์บางอย่างที่ก่อให้เกิดความวิตกกังวลมาอย่างสม่ำเสมอ จะทำให้เกิดเป็นโรควิตกกังวล แพนิกได้

 

โรควิตกกังวล แบ่งได้เป็น 5 ประเภท

รู้หรือไม่? จริงๆ แล้ว โรควิตกกังวล ไม่ได้มีแค่อาการ แพนิก หรือตื่นตระหนกเท่านั้น แต่โรควิตกกังวล แบ่งออกได้ 5 ประเภท ตามลักษณะอาการ ดังนี้

โรควิตกกังวล 5 ประเภท

 

โรควิตกกังวลทั่วไป (Generalized Anxiety Disorder) เป็นอาการวิตกกังวลที่มากกว่าปกติในเรื่องการงาน การเรียน และอื่น ๆ ตามสภาพแวดล้อมของแต่ละคน ซึ่งผู้ป่วยจะยังสามารถระงับความรู้สึกได้ด้วยตัวเอง แต่หากมีอาการนานเกินกว่า 6 เดือน อาจทำให้เกิดอาการผิดปกติตามมา เช่น มีความอ่อนเพลีย กระวนกระวาย ไม่มีสมาธิ หงุดหงิด และนอนไม่หลับ หากปล่อยไว้อาจเกิดเป็นโรคแพนิกและโรควิตกกังวัลประเภทอื่น ๆ ร่วมด้วยได้


โรคแพนิก (Panic Disorder) โรคแพนิกหรือโรคตื่นตระหนก คือเกิดความวิตกกังวลโดยไม่มีสาเหตุ โดยจะรู้สึกกลัวว่าจะควบคุมตัวเองไม่ได้ บางทีอาการแพนิกนั้นก็เลยเถิดถึงขั้นเชื่อมโยงกับความตาย ยกตัวอย่างเช่น มีอาการป่วยเล็กน้อยแต่กลับกลัวว่าจะเป็นโรคร้ายและตายไป ทั้งที่จริงแล้วอาการทางกายไม่ร้ายแรงแต่ผู้ป่วยจะมีอาการวิตกกังวลตื่นตระหนกเกินเหตุ กรณีนี้อาจเกิดเป็นครั้งคราว มีอาการเป็นพัก ๆ เช่น ใจสั่น หัวใจเต้นเร็ว เหงื่อออก ร้อนวูบวาบ แน่นหน้าอก วูบเหมือนจะเป็นลม โรคแพนิกอาจนำไปสู่โรคซึมเศร้า หรือคนที่เป็นโรคแพนิกอาจมีการหันไปพึ่งพาสารเสพติดได้ หากมีอาการลักษณะนี้ ควรปรึกษาผู้เชี่ยวชาญเพื่อรับการบำบัดรักษา


โรคกลัวสังคม (Social Phobia) คือโรควิตกกังวลอย่างหนึ่งที่เมื่อต้องไปอยู่ในสถานการณ์ที่คนเยอะๆ มักจะคิดว่าต้องถูกจ้องมอง กลัวว่าตัวเองจะทำอะไรที่น่าอาย ต้องคอยหลบ และมักคิดในแง่ลบว่าคนอื่นจะคิดอย่างไรกับตัวเอง วิตกกังวลว่าจะมีคนนินทาลับหลัง ทำให้ส่งผลกระทบต่อการดำเนินชีวิตประจำวัน เมื่ออยู่ในวงล้อมของผู้คน อาจเกิดอาการหน้าแดง เหงื่อออก คลื่นไส้ หัวใจเต้นเร็ว ปวดหัว 

โรคนี้มักแอบแฝงอยู่ในตัวบุคคลที่ดูเป็นปกติสุขดีและไม่มีทีท่าว่าจะป่วยแต่อย่างใด บางทีผู้ที่มีอาการอาจไม่เข้าใจตัวเอง โดยสาเหตุของอาการนี้อาจเกิดจากการเลี้ยงดูในวัยเด็กหรือเกี่ยวข้องกับระบบการทำงานของสมอง พันธุกรรม ซึ่งบางคนก็เข้าใจว่าเป็นโรคแพนิก แต่จริงๆ แล้ว ผู้ที่ป่วยเป็นโรคกลัวสังคมกับผู้ที่ป่วยเป็นโรคแพนิกอาจปรากฏอาการที่คล้ายกัน แต่สาเหตุของโรคนั้นต่างกัน หากมีอาการลักษณะนี้ ไม่แน่ใจในสาเหตุ ควรปรึกษาผู้เชี่ยวชาญเพื่อรับการวินิจฉัยเพิ่มเติม

 

โรคกลัวแบบเฉพาะ (Phobia) เป็นโรควิตกกังวลที่คล้ายโรคแพนิก แต่ต่างไปที่โรคกลัวแบบเฉพาะจะระบุได้เลยว่ามีความกลัวมากเกินไปในบางเรื่องอย่างเจาะจง เช่น กลัวที่แคบ กลัวเลือด กลัวรู กลัวสัตว์บางชนิดที่คนปกติไม่กลัวกัน เช่น สุนัข คนรอบข้างอาจจะมองว่าเป็นความกลัวที่ไม่สมเหตุสมผล แต่เจ้าตัวเองก็ไม่สามารถห้ามความกลัวได้ พยายามจะหลีกเลี่ยงไม่เผชิญกับสิ่งที่ตัวเองกลัว ผู้ป่วยมักเกิดปฏิกิริยาทางกายขึ้นมาจนสังเกตได้เมื่อเจอในสิ่งที่กลัว เช่น เหงื่อออก มือ-เท้าเย็น ใจสั่น หน้ามืด หายใจลำบาก 


โรคย้ำคิดย้ำทำ (Obsessive Compulsive Disorder) เป็นการที่กลัวว่าจะผิดพลาด ต้องคอยตรวจเช็กซ้ำไปมาตลอดเวลา เช่น ก่อนออกจากห้องต้องเช็กว่าล็อกห้องแล้วหรือยัง เดินย้อนไปย้อนมาเพื่อเช็กอีกที เป็นต้น โดยโรคนี้เกิดจากการคิดซ้ำไปซ้ำมา เกิดการกระทำหรือตอบสนองซ้ำ ๆ ก่อให้เกิดความรู้สึกวิตกกังวลใจ แม้ว่าอาการแบบนี้จะไม่รุนแรง แต่ก็ส่งผลต่อชีวิตประจำวันและจะส่งผลเสียมากหากต้องคอยเช็กสิ่งต่าง ๆ ซ้ำ หลาย ๆ รอบ และเป็นแบบนี้ทั้งวัน ปัจจุบัน อาการย้ำคิดย้ำทำพบบ่อยในคนวัยทำงานมากกว่าที่จะพบในคนแก่ทีมักเริ่มมีอาการหลง ๆ ลืม ๆ แล้วเสียอีก ใครที่มีอาการย้ำคิดย้ำทำบ่อย ๆ ควรปรึกษาผู้เชี่ยวชาญเพื่อรับการบำบัดทางจิตวิทยา ลดความวิตกกังวลและส่งเสริมการมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้นได้

 

หากเริ่มสงสัยว่าคุณหรือคนใกล้ชิดอาจมีอาการของโรควิตกกังวล แพนิก ควรรีบปรึกษาจิตแพทย์หรือผู้เชี่ยวชาญด้านจิตบำบัด เพราะเมื่อสภาพจิตใจมีปัญหา จะกระทบกับสุขภาพและคุณภาพชีวิตได้ไม่ต่างจากการป่วยกาย ยิ่งไปกว่านั้นหากละเลย ไม่ดูแล ก็อาจเป็นสาเหตุให้เกิดโรคร้ายต่างๆ ตามมาได้


“การปรึกษาผู้เชี่ยวชาญทางจิตเวช จิตแพทย์ นักจิตวิทยา

ไม่ใช่เรื่องแปลก ไม่ใช่เรื่องน่าอาย แต่คือการรักตัวเอง”


ปรึกษาจิตแพทย์หรือนักจิตบำบัดแบบออนไลน์ ได้ง่ายๆ ผ่านแอปฯ หมอดี เพียงทำตาม 5 ขั้นตอนดังนี้
1. ดาวน์โหลดแอปฯ คลิก>> https://mordee.app.link/mordee จากนั้นเลือกเมนูโปรไฟล์ เพื่อลงทะเบียนเข้าใช้งาน
2. ไปที่หน้าแรกของแอปฯ กดแถบค้นหา เลือกแผนกจิตเวช หากต้องการพบจิตแพทย์(สั่งยาได้) หรือแผนกสุขภาพใจ หากต้องการพบนักจิตบำบัด
3. เลือกจิตแพทย์หรือนักจิตบำบัดที่ต้องการปรึกษา แล้วทำนัดหมาย โดยเลือกวันและเวลาที่ต้องการ แล้วเลือกรูปแบบการปรึกษาเป็น วิดีโอคอล โทร หรือ แชต จากนั้นทำการชำระเงิน หรือกรอกโค้ดส่วนลด (ถ้ามี)
4. เข้าห้องสนทนาในแอปฯ เพื่อทำการปรึกษาแพทย์ เมื่อถึงเวลานัดหมาย
5. รอสรุปผลการปรึกษาจากแพทย์ พร้อมใบสั่งยา(หากมี) โดยสามารถสั่งซื้อยา แล้วรอรับยาที่บ้านได้


สอบถามเพิ่มเติมได้ที่ Line ID: @mordeeapp


#MorDee #หมอดี #หมอประจำบ้านในมือคุณ #TrueHEALTH #โรควิตกกังวล #อาการแพนิก #โรคแพนิก

#ความกลัว #ความเครียด #วิตกกังวล #แพนิค

แชร์บทความ:

บทความอื่นๆ ที่คุณอาจสนใจ

ดูทั้งหมด

ยอมรับนโยบายการใช้คุกกี้

การตั้งค่าคุกกี้
นโยบายการใช้คุกกี้นี้ จะอธิบายถึงประเภท เหตุผล และลักษณะการใช้คุกกี้ รวมถึงวิธีการจัดการคุกกี้ ของเว็บไซต์ทั้งหมด โดยท่านสามารถดูรายการคุกกี้และตั้งค่าการยอมรับการใช้งาน ดูรายละเอียดเพิ่มเติม