icon-facebook icon-line icon-blockdit icon-twitter icon-instagram

ดาวน์โหลดเลย

ดาวน์โหลด qr-code
iconดาวน์โหลดแอปฯ MorDee
background
Bubble
Bubble
Bubble
Bubble

หยุดปวดหัว ไมเกรน เข้าใจสาเหตุและวิธีการรักษาอย่างตรงจุด

หยุดปวดหัว ไมเกรน เข้าใจสาเหตุและวิธีการรักษาอย่างตรงจุด icon

อาการปวดไมเกรน ส่วนมากจะปวดหัวแค่ข้างเดียว หรือทั้งสองข้าง โดยเกณฑ์วินิจฉัยผู้ป่วยที่มีอาการปวดศีรษะที่เข้าได้กับโรคไมเกรน จะมีอาการปวดนาน 4 – 72 ชั่วโมง และอาการปวดที่มีลักษณะเป็นไมเกรน ได้แก่ ปวดตุ๊บๆ ปวดขมับ อาการปวดปานกลางหรือรุนแรง 


อาการปวดแย่ลงเมื่อมีกิจกรรม อาการที่สนับสนุนการปวดศีรษะไมเกรน เช่น อาการคลื่นไส้อาเจียน อาการตาไวต่อแสง การรักษาอาการปวดไมเกรนจะขึ้นอยู่กับความถี่และความรุนแรงของการปวดศีรษะ โดยแพทย์จะพิจารณาเลือกวิธีการรักษาที่เหมาะสมที่สุด

 

สาเหตุของอาการปวดหัวไมเกรน

ไมเกรน ปัจจุบันสาเหตุไมเกรนยังไม่เป็นที่ทราบแน่ชัด อาจเกิดจากความผิดปกติชั่วคราวของสารเคมีในสมอง ทำให้ก้านสมองถูกกระตุ้น หลอดเลือดในเยื่อหุ้มสมองมีการบีบและคลายตัวมากกว่าปกติ ทำให้เกิดอาการปวดหัวในบางรายอาจมีอาการตาพร่าหรือเห็นแสงระยิบระยับร่วมด้วย

นอกจากนี้ยังมีปัจจัยหลายอย่างที่สามารถกระตุ้นให้เกิดอาการดังกล่าวได้อีกด้วย เช่น

  • อารมณ์ด้านลบ  เครียด วิตกกังวล หรือมีอาการซึมเศร้าร่วมด้วย
  • สภาพร่ายกายที่อ่อนเพลีย  พักผ่อนไม่เพียงพอ เหนื่อยล้า หรือการออกกำลังกายที่ใช้พลังมากเกินไป 
  • การอดอาหาร หรือการรับประทานอาหารไม่เพียงพอ รวมถึงการรับประทานอาหารที่มีสารไทรามีน ได้แก่ เนยแข็ง หรืออาหารที่มีส่วนผสมของไนไตรท์ เช่น ไส้กรอก แฮม เบคอน น้ำตาลเทียม การดื่มแอลกอฮอล์ การดื่มชา กาแฟ
  • สภาพอากาศเปลี่ยนแปลงแบบฉับพลัน สิ่งแวดล้อมรอบตัว เช่น มีแสงสว่างจ้า มีเสียงดัง มีกลิ่นฉุนรุนแรง มีบรรยากาศร้อนอบอ้าว หรือร้อนชื้น
  • อาการออฟฟิศซินโดรม ที่เกิดจากการนั่งหน้าคอมพิวเตอร์ หรือก้มหน้านาน ๆ หรือ อาการกล้ามเนื้อบริเวณคอตึง
  • การเปลี่ยนแปลงของฮอร์โมนในผู้หญิง เช่น อาการปวดรอบเดือนของผู้หญิงบางคนอาจเป็นสาเหตุของการปวดไมเกรนได้ หรือในภาวะหลังการคลอดบุตร โดยช่วงตั้งครรภ์ ฮอร์โมนเอสโตรเจนในร่างกายจะสูงขึ้น และลดลงหลังคลอดบุตร เมื่อฮอร์โมนลดลง ก็อาจกระตุ้นให้เกิดไมเกรนได้

ปัจจัยที่สามารถกระตุ้นอาการปวดหัวไมเกรน

 

 

ปวดหัวไมเกรน อาการเป็นแบบไหน?

การเกิดไมเกรนส่วนใหญ่มักมาจากการถูกกระตุ้นโดยสิ่งแวดล้อมต่าง ๆ ทั้งจากภายในและภายนอก โดยอาการปวดหัวไมเกรนจะมีความแตกต่างจากการปวดหัวทั่วไปค่อนข้างชัดเจน เช่น มีอาการปวดศีรษะแบบตุ๊บ ๆ เป็นจังหวะ บริเวณขมับข้างใดข้างหนึ่ง หรืออาจทั้งสองข้างก็ได้ ปวดวันละหลายรอบ อย่างน้อย 3-5 ครั้งต่อวันขึ้นไป หรืออาจปวดหลายชั่วโมงติดต่อกัน มีอาการเบื่ออาหาร คลื่นไส้ อาเจียนร่วมด้วย และในบางรายทนแสงจ้าหรือทนเสียงดังไม่ได้

ปวดหัวไมเกรนอาการเป็นแบบไหน

 

 

ปวดหัวไมเกรน รักษาอย่างไรได้บ้าง?

การรักษาที่สำคัญได้แก่ การบรรเทาอาการปวดศีรษะและป้องกันไม่ให้เกิด หรือลดความถี่ความรุนแรงของอาการปวดศีรษะ

อาการปวดหัวไมเกรนไม่ใช่โรคที่ร้ายแรง แต่ส่งผลต่อการใช้ชีวิตประจำวัน การทำงาน การเรียน ทั้งสุขภาพกายและสภาพจิตใจเป็นอย่างมาก เพราะถ้าหากปล่อยไว้มากขึ้นเรื่อย ๆ ก็ยิ่งสร้างความทรมาน แต่อย่างไรก็ตาม การรักษาอาการปวดหัวไมเกรนก็ไม่ได้เป็นเรื่องที่เข้าถึงยากนักแล้วในปัจจุบัน มีรูปแบบการรักษาให้คุณเลือก ได้แก่

 

การรักษาแบบเบื้องต้นด้วยตัวเอง
หากมีอาการปวดหัวน้อยกว่า 1-2 ครั้งต่อสัปดาห์ สามารถรับประทานยาแก้ปวดเองได้ เช่น พาราเซตามอล ยาต้านการอักเสบที่ไม่ใช่สเตียรอยด์ (NSAIDs)

รวมถึงการประคบเย็น ประคบร้อน ในรายที่อาการปวดไม่รุนแรง รวมถึงการปรับเปลี่ยนพฤติกรรม การออกกำลังกายอย่างเหมาะสมการกำจัดความเครียดอย่างเหมาะสม เป็นต้น

 

การรักษาภายใต้การดูแลของแพทย์
หากมีอาการปวดหัวถี่เกินสัปดาห์ละ 1-2 ครั้ง ควรปรึกษาแพทย์เพื่อรับการรักษาต่อเนื่องไม่ควรซื้อยาแก้ปวดกลุ่มที่ออกฤทธิ์แรงมาใช้เอง (เช่น ยากลุ่มเออร์โกตามีน ยากลุ่มทริปแทน ยาทรามาดอล เป็นต้น) เนื่องจาอาจเกิดผลข้างเคียงที่รุนแรงได้ ควรใช้ภายใต้การดูแลของแพทย์ผู้เชี่ยวชาญเท่านั้น

ปวดหัวไมเกรนรักษาอย่างไรได้บ้าง

 

สาระสุขภาพโดย พญ.ปัทมาภรณ์ เนตรมุกดา
อายุรแพทย์ระบบประสาทและสมอง บนแอปฯ หมอดี


หากมีอาการปวดศีรษะเรื้อรัง รุนแรง และกระทบการใช้ชีวิตประจำวัน แนะนำให้ปรึกษาแพทย์เพื่อทำการตรวจวินิจฉัยและจ่ายยาดีกว่า ซึ่งยารักษาอาการปวดหัวไมเกรนนั้นจะมีทั้งแบบกินเพื่อป้องกัน และกินเพื่อรักษาอาการปวด โดยแพทย์จะจ่ายให้ตามอาการและความเหมาะสมกับแต่ละบุคคล เพื่อหลีกเลี่ยงผลข้างเคียงที่ไม่พึงประสงค์

ปรึกษาแพทย์เกี่ยวกับอาการปวดหัวไมเกรน ได้ง่ายๆ ผ่านแอปฯ หมอดี แล้วรอรับยาได้ที่บ้าน พร้อมมีเภสัชกรโทรแนะนำเรื่องการใช้ยา
1. ดาวน์โหลดแอปฯ คลิก>> https://mordee.app.link/mordee จากนั้นเลือกเมนูโปรไฟล์ เพื่อลงทะเบียนเข้าใช้งาน
2.ไปที่หน้าแรกของแอปฯ กดแถบค้นหา  พิมพ์ชื่อแผนก อายุรกรรม หรือแผนก โรคทั่วไป
3. เลือกแพทย์ที่ต้องการปรึกษา แล้วทำนัดหมาย โดยเลือกวันและเวลาที่ต้องการ แล้วเลือกรูปแบบการปรึกษาเป็น วิดีโอคอล โทร หรือ แชต จากนั้นทำการชำระเงิน หรือกรอกโค้ดส่วนลด (ถ้ามี)
4. เข้าห้องสนทนาในแอปฯ เพื่อทำการปรึกษาแพทย์ เมื่อถึงเวลานัดหมาย
5. รอสรุปผลการปรึกษาจากแพทย์ พร้อมใบสั่งยา(หากมี) โดยสามารถสั่งซื้อยา แล้วรอรับยาที่บ้านได้

 

สอบถามเพิ่มเติมได้ที่ Line ID: @mordeeapp
#MorDee #หมอดี #หมอประจำบ้านในมือคุณ #TrueHEALTH

#ปวดขมับ #ปวดหัว #ไมเกรน

บทความโดย

พญ. ปัทมาภรณ์ เนตรมุกดา
อายุรกรรม

พญ. ปัทมาภรณ์ เนตรมุกดา

อายุรศาสตร์โรคระบบประสาทและสมอง

แชร์บทความ:

บทความอื่นๆ ที่คุณอาจสนใจ

ดูทั้งหมด

ยอมรับนโยบายการใช้คุกกี้

การตั้งค่าคุกกี้
นโยบายการใช้คุกกี้นี้ จะอธิบายถึงประเภท เหตุผล และลักษณะการใช้คุกกี้ รวมถึงวิธีการจัดการคุกกี้ ของเว็บไซต์ทั้งหมด โดยท่านสามารถดูรายการคุกกี้และตั้งค่าการยอมรับการใช้งาน ดูรายละเอียดเพิ่มเติม