มะเร็งปากมดลูก เป็นมะเร็งที่พบบ่อยเป็นอันดับต้น ๆ ในหญิงไทย สร้างความเจ็บปวด และอันตรายถึงชีวิตได้ ทั้งยังเสียค่าใช้จ่ายในการรักษาสูงมาก
ดังนั้น ทางการแพทย์ จึงแนะนำให้ทั้งผู้หญิงและผู้ชาย ฉีดวัคซีน HPV กันไว้แต่เนิ่น ๆ เพื่อป้องกันและยับยั้งเชื้อไวรัส Human papilloma virus หรือ HPV ซึ่งเป็นสาเหตุหลักของมะเร็งปากมดลูก รวมทั้งมะเร็งและโรคทางเพศสัมพันธ์ชนิดอื่น ๆ ที่มีสาเหตุจากเชื้อ HPV เช่น มะเร็งทวารหนัก มะเร็งปากและคอ
หากคุณมีคำถามเกี่ยวกับวัคซีน HPV เช่น
วัคซีน HPV ควรฉีดเมื่อใด?
ใครควรฉีดวัคซีน HPV ?
วัคซีน HPV ช่วยป้องกันโรคอะไรได้บ้าง?
ทุกข้อสงสัยดังกล่าว คุณหมอชยวัฒน์ ผาติหัตถกร สูตินรีแพทย์และเวชศาสตร์มารดาและทารกในครรภ์ จากแอปฯ หมอดี ได้รวบรวมคำตอบที่ควรรู้มาไว้ในบทความนี้แล้ว
1.โรคที่วัคซีน HPV ช่วยป้องกันได้ มีอะไรบ้าง?
ไม่ใช่แค่มะเร็งปากมดลูก วัคซีน HPV ยังช่วยป้องกันได้อีกหลายโรค อาทิ
- มะเร็งทวารหนัก
- มะเร็งในช่องปากและคอหอย
- มะเร็งช่องคลอด
- มะเร็งองคชาติ
- หูดหงอนไก่ที่อวัยวะเพศ
2. ชนิดของวัคซีน HPV มีอะไรบ้าง?
แบ่งได้เป็น 2 ชนิด ได้แก่
2.1 Cervarix : สามารถป้องกันมะเร็งปากมดลูก ที่เกิดจากสายพันธุ์ 16 และ 18 โดยมีประสิทธิภาพป้องกันมะเร็งปากมดลูกได้ถึง 70%
2.2 Gardasil : สามารถป้องกันมะเร็งปากมดลูก ที่เกิดจากสายพันธุ์ 16 และ 18 รวมทั้งโรคหูดหงอนไก่และมะเร็งทวารหนัก ซึ่งวัคซีน HPV ชนิด Gardasil ยังแยกย่อยได้อีก 2 ชนิด คือ
- 2.2.1 Gardasil ชนิด 4 สายพันธุ์ (สายพันธุ์ 6, 11, 16 และ 18) ป้องกันมะเร็งปากมดลูกได้ 70% รวมถึงโรคหูดหงอนไก่และมะเร็งทวารหนัก
- 2.2.2. Gardasil ชนิด 9 สายพันธุ์ (สายพันธุ์ 6, 11, 16, 18, 31, 33, 45, 52 และ 58) ป้องกันมะเร็งปากมดลูกได้ 90% รวมถึงโรคหูดหงอนไก่ มะเร็งทวารหนัก
3. เมื่อใด ควรฉีดวัคซีน HPV?
- ผู้หญิง ควรฉีดตั้งแต่อายุ 9 - 45 ปี
- ผู้ชาย ควรฉีดตั้งแต่อายุ 9 - 26 ปี
ทั้งนี้ เพื่อประสิทธิภาพการป้องกันสูงสุด ควรเน้นฉีดวัคซีน HPV ในช่วงอายุ 11-12 ปี หรือฉีดก่อนมีเพศสัมพันธ์ ก่อนติดเชื้อไวรัส HPV
4. จำนวนวัคซีน HPV ที่ควรฉีด?
- ต่ำกว่า 15 ปี ควรฉีด 2 เข็ม โดยทิ้งระยะห่างระหว่างเข็มแรกกับเข็มที่ 2 6-12 เดือน
- มากกว่า 15 ปี ควรฉีด 3 เข็ม โดยฉีดเข็มที่ 2 ห่างจากเข็มแรก 1-2 เดือน ส่วนเข็มที่ 3 ควรฉีด หลังจากเข็มแรก 6 เดือน
5. วัคซีน HPV มีผลข้างเคียงหรือไม่?
- อาจพบผลข้างเคียงเล็กน้อย เช่น มีไข้ คลื่นไส้ ปวดบริเวณที่ฉีด ปวดหัว เวียนหัว ซึ่งจะหายได้เองภายใน 2-3 วัน
6. วัคซีน HPV ยังมีประสิทธิภาพหรือไม่ หากฉีดหลังมีเพศสัมพันธ์แล้ว?
- คำตอบคือ ยังมีประสิทธิภาพอยู่ โดยจะช่วยป้องกันเชื้อ HPV สายพันธุ์ที่ยังไม่ได้มีการติดเชื้อมาก่อน และยังสามารถป้องกันการแพร่เชื้อไปสู่คู่นอนได้อีกด้วย ดังนั้น จึงแนะนำให้ฉีดวัคซีนนี้ แม้จะเคยมีเพศสัมพันธ์แล้ว
7. วัคซีน HPV มีประสิทธิภาพป้องกันโรคได้นานเท่าไร?
- สามารถป้องกันเชื้อ HPV ได้นาน 10 ปี และหลังจากระยะเวลา 10 ปีไปแล้ว ยังมีประสิทธิภาพป้องกันอยู่ถึง 100%
รู้ข้อมูลเกี่ยวกับวัคซีน HPV มาพอสมควรแล้ว สนใจอยากฉีดให้ตัวเองและครอบครัวที่รักบ้าง พบทางเลือกใหม่ที่สะดวกกว่า กับบริการฉีดวัคซีนถึงบ้าน จากแอปฯ หมอดี ครอบคลุมวัคซีน HPV ทุกสายพันธุ์ กำหนดเวลาเองได้เอง ปลอดภัย ดำเนินการโดยพยาบาลวิชาชีพ ไม่ต้องเสียเวลาเดินทางไปฉีดถึงโรงพยาบาล
ขั้นตอนการจองฉีดวัคซีน HPV แบบถึงบ้าน กับแอปฯ หมอดี
1. ดาวน์โหลดแอปฯ หมอดี จาก Apps Store / Play Store หรือคลิก >> https://mordee.app.link/SvBMEe2w9ub จากนั้นเลือกเมนูโปรไฟล์ เพื่อลงทะเบียนเข้าใช้งาน ด้วยเบอร์โทรศัพท์ แล้วคลิกแบนเนอร์ “บริการฉีดวัคซีน ถึงบ้าน” ซึ่งจะอยู่ที่ด้านบน ในหน้าแรกของแอปฯ
2. เลือกชนิดวัคซีน HPV และจำนวนเข็ม กด + เพิ่มวัคซีนตามต้องการ เสร็จแล้วกดเช็กตระกร้าสินค้า
3. ชำระเงิน ผ่านบัตรเครดิต หรือพร้อมเพย์ จากนั้นกดปุ่มทำนัดหมายได้เลย หรือทำภายหลัง ในเมนู นัดหมาย
4. ทำนัดหมาย กดปุ่มเลือกผู้รับบริการ ในลิสต์วัคซีนที่ได้สั่งซื้อไว้
5. เพิ่มชื่อผู้รับบริการ กดถัดไป แล้ว เลือกสถานที่ วัน เวลา ให้เรียบร้อย แล้วกดจองนัดหมาย และยืนยัน
6. ยืนยันนัดหมาย หากการนัดหมายสมบูรณ์ จะขึ้นว่า เสร็จสิ้น
เงื่อนไขการให้บริการเพิ่มเติม :
- บริการฉีดวัคซีนแบบถึงบ้าน ให้บริการเฉพาะพื้นที่กทม.เท่านั้น
- ต้องทำนัดหมายล่วงหน้าก่อนฉีดวัคซีนไม่น้อยกว่า 3 วัน
#MorDee #หมอดี #หมอประจำบ้านในมือคุณ #ฉีดวัคซีนที่บ้าน