icon-facebook icon-line icon-blockdit icon-twitter icon-instagram

ดาวน์โหลดเลย

ดาวน์โหลด qr-code
iconดาวน์โหลดแอปฯ MorDee
background
Bubble
Bubble
Bubble
Bubble

โรคมะเร็งเม็ดเลือดขาว (ลูคีเมีย) แท้จริงแล้วคืออะไร?

โรคมะเร็งเม็ดเลือดขาว (ลูคีเมีย) แท้จริงแล้วคืออะไร? icon

เม็ดเลือดขาวมีหน้าที่สำคัญในการทำลายสิ่งแปลกปลอม เชื้อโรคต่างๆ เปรียบเสมือนทหารที่คอยปกป้องร่างกาย และที่สำคัญไปกว่านั้น ร่างกายประกอบไปด้วยเซลล์เม็ดเลือดขาวจำนวนมาก ทั้งในเลือดและอวัยวะในระบบภูมิคุ้มกัน โดยปกติเม็ดเลือดขาวจะสร้างขึ้นในไขกระดูกร่วมกับเม็ดเลือดแดงและเกล็ดเลือด

 

โรคมะเร็งเม็ดเลือดขาว หรือลูคีเมีย (Leukemia) เป็น 1 ใน 10 โรคมะเร็งที่พบบ่อยในคนไทย พบได้ในทุกช่วงวัย ทั้งในเพศหญิง และเพศชาย

 

ลักษณะของการเกิดของโรคมะเร็งเม็ดเลือดขาว คือการที่เม็ดเลือดขาวแบ่งตัวและสร้างตัวเองเพิ่มขึ้นจนมากผิดปกติ จนทำลายระบบการสร้างเม็ดเลือดตามปกติของไขกระดูก ทำให้เม็ดเลือดแดงและเกล็ดเลือดมีจำนวนลดน้อยลง อีกทั้งเม็ดเลือดขาวที่เพิ่มขึ้นมามีการทำงานที่ผิดปกติไป ทำให้เกิดการอักเสบของร่างกายมากจนเกินไปและสูญเสียหน้าที่ในการกำจัดเชื้อโรคจึงทำให้เกิดอาการไข้รวมถึงติดเชื้อได้ง่ายมากขึ้น อีกทั้งเม็ดเลือดขาวที่เพิ่มอย่างผิดปกติดังกล่าวไปแทรกซึมตามอวัยวะต่าง ๆ ของร่างกาย จึงทำให้ระบบและอวัยวะต่าง ๆเหล่านั้น ทำงานผิดปกติไป เช่น สมอง ต่อมน้ำเหลือง ตับ ม้าม เป็นต้น

 

อาการของโรคมะเร็งเม็ดเลือดขาว

1) ร่างกายสร้างเม็ดเลือดแดงได้น้อยผิดปกติ และเมื่อเม็ดเลือดแดงลดลง ผู้ป่วยอาจมีภาวะโลหิตจาง ทำให้มีอาการ อ่อนเพลียง่าย ไม่มีแรง หน้ามืด เป็นลมง่าย และสามารถสังเกตได้ว่าหน้าซีดกว่าคนปกติ

2) เม็ดเลือดขาวมีการสร้างที่ผิดปกติไป ทำให้ภูมิคุ้มกันของร่างกายเสียสมดุลไป ติดเชื้อได้ง่ายและเป็นไข้ได้ง่าย ป่วยง่าย ป่วยแล้วอาจมีอาการรุนแรงกว่าคนทั่วไป

3) ร่างกายสามารถสร้างเกล็ดเลือดได้น้อยลง ทำให้มีอาการเลือดออกง่ายกว่าปกติ มีภาวะเลือดหยุดยาก บางครั้งก็จะมีเลือดกำเดาไหลปริมาณมาก มีอาการเลือดออกตามไรฟัน มีจ้ำเลือดตามร่างกาย และฟกช้ำง่าย

4) อาจพบก้อนตามตัว เช่น ที่คอ ขาหนีบ หรือผิวหนัง เป็นต้น

5) อาการตามอวัยวะที่ไปแทรกซึม เช่น มีอาการซึมหากไปที่น้ำไขสันหลัง เป็นต้น

6) อาการอื่น ๆ เช่น เบื่ออาหาร น้ำหนักลด หรือปวดกระดูก เป็นต้น

อาการ มะเร็งเม็ดเลืิอดขาว

 

 

สาเหตุของการเกิดโรคมะเร็งเม็ดเลือดขาว

1.  ปัจจุบันยังไม่ทราบสาเหตุที่ทำให้เกิดโรคแน่ชัด มักเกิดจากหลายปัจจัยร่วมกับมีหลายปัจจัยที่เกี่ยวข้องและเป็นความเสี่ยง เช่น

2.  ผู้ที่มีความผิดปกติของโครโมโซมบางชนิดหรือสารพันธุกรรมบางอย่าง อาจทำให้เสี่ยงป่วยเป็นมะเร็งเม็ดเลือดขาวมากกว่าคนอื่น ๆ

3.  โรคทางพันธุกรรมบางอย่าง เช่น เด็กที่ป่วยเป็นดาวน์ซินโดรมก็จัดเป็นอีกสาเหตุหนึ่งของความผิดปกติที่เม็ดเลือดขาว และส่งผลให้เป็นมะเร็งเม็ดเลือดขาวได้

4.  การติดเชื้อไวรัสบางชนิด เช่น ไวรัสเอชไอวี(HIV) ไวรัสอีบีวี(EBV)  ไวรัสHTLV-1

5.  การสัมผัสสารเคมีบางชนิด เช่น เบนซิน ฟอร์มาลดีไฮด์ และสารกัมมันตรังสี

6.  การได้รับยาเคมีบำบัดเพื่อรักษาโรคมะเร็งชนิดอื่น

7.  ภาวะภูมิคุ้มกันบกพร่องบางชนิด

8.  การสัมผัสต่อสารเคมีในขณะตั้งครรภ์ของมารดา เช่น แอลกอฮอล์ บุหรี่ รวมไปถึงกัญชา

 

 

การวินิจฉัยโรคมะเร็งเม็ดเลือดขาว

1.  การเจาะตรวจไขกระดูก จะเป็นวิธีการวินิจฉัยหลัก

2.  การเจาะเลือดตรวจความสมบูรณ์ของเม็ดเลือด รวมถึงส่งตรวจโครโมโซมเพื่อการวินิจฉัยโรค

 

 

การรักษามะเร็งเม็ดเลือดขาว

1) การทำเคมีบำบัด (Chemotherapy) เป็นการใช้ยาเพื่อทำลายเซลล์มะเร็งที่แบ่งตัวอย่างรวดเร็ว เพื่อให้ไขกระดูกสามารถสร้างเม็ดเลือดปกติขึ้นมาใหม่ โดยยาเคมีบำบัดมีทั้งแบบรับประทาน ฉีดเข้าหลอดเลือดดำ และฉีดเข้าน้ำไขสันหลัง อาจทำให้ผู้ป่วยมีภาวะโลหิตจาง เม็ดเลือดขาวต่ำหรือเกล็ดเลือดต่ำ ดังนั้น ในระหว่างการรักษา ผู้ป่วยอาจต้องได้รับเลือดและเกล็ดเลือด รวมถึงยาที่ใช้รักษาตามอาการ เพื่อลดผลข้างเคียงของยาเคมีบำบัด

2) การรักษาแบบจำเพาะเจาะจงต่อเซลล์มะเร็ง (Targeted Therapy) เป็นยาที่ออกฤทธิ์ยับยั้งเซลล์มะเร็งโดยไม่ทำลายเซลล์ปกติ

3) การปลูกถ่ายเซลล์ต้นกำเนิด (Stem Cell Transplantation) แพทย์จะนำเซลล์ต้นกำเนิดจากเลือดหรือไขกระดูกของตัวผู้ป่วยเอง หรือจากญาติพี่น้องหรือผู้บริจาคที่เข้ากันได้ มาปลูกถ่ายให้ผู้ป่วยหลังจากได้รักษา จนโรคอยู่ในระยะสงบ เพื่อลดโอกาสกลับเป็นซ้ำ หลังรักษาจนโรคอยู่ในระยะสงบแล้ว

 

การป้องกันและลดความเสี่ยงการเป็นมะเร็งเม็ดเลือดขาว ทำได้ด้วยการดูแลตัวเองให้มีสุขภาพที่ดีเป็นปกติ โดยการรับประทานอาหารที่มีประโยชน์ ออกกำลังกาย คอยตรวจสุขภาพอย่างสม่ำเสมอ และที่สำคัญคือ การหลีกเลี่ยงสารกัมมันตรังสีและสารเคมีที่ก่อโรคมะเร็ง



สาระสุขภาพโดย นพ.บดินทร์ อนันตระวนิชย์ แพทย์ประจำแอปฯ หมอดี


ปรึกษาแพทย์เฉพาะทางด้านมะเร็ง เพื่อคัดกรองเบื้องต้นได้ ผ่านแอปฯ หมอดี


ใช้งานแอปฯ หมอดี ได้ง่ายๆ ด้วย 5 ขั้นตอนดังนี้
1. ดาวน์โหลดแอปฯ คลิก>> https://mordee.app.link/mordee จากนั้นเลือกเมนูโปรไฟล์ เพื่อลงทะเบียนเข้าใช้งาน
2. ไปที่หน้าแรกของแอปฯ กดแถบค้นหา เลือก แผนกมะเร็ง
3. เลือกแพทย์ที่ต้องการปรึกษา แล้วทำนัดหมาย โดยเลือกวันและเวลาที่ต้องการ แล้วเลือกรูปแบบการปรึกษาเป็น วิดีโอคอล โทร หรือ แชต จากนั้นทำการชำระเงิน หรือกรอกโค้ดส่วนลด (ถ้ามี)
4. เข้าห้องสนทนาในแอปฯ เพื่อทำการปรึกษาแพทย์ เมื่อถึงเวลานัดหมาย
5. รอสรุปผลการปรึกษาจากแพทย์ พร้อมใบสั่งยา(หากมี) โดยสามารถสั่งซื้อยา แล้วรอรับยาที่บ้านได้

สอบถามเพิ่มเติมได้ที่ Line ID: @mordeeapp


#MorDee #หมอดี #หมอประจำบ้านในมือคุณ #TrueHEALTH

 

#ลูคิเมีย

แชร์บทความ:

บทความอื่นๆ ที่คุณอาจสนใจ

ดูทั้งหมด

ยอมรับนโยบายการใช้คุกกี้

การตั้งค่าคุกกี้
นโยบายการใช้คุกกี้นี้ จะอธิบายถึงประเภท เหตุผล และลักษณะการใช้คุกกี้ รวมถึงวิธีการจัดการคุกกี้ ของเว็บไซต์ทั้งหมด โดยท่านสามารถดูรายการคุกกี้และตั้งค่าการยอมรับการใช้งาน ดูรายละเอียดเพิ่มเติม