icon-facebook icon-line icon-blockdit icon-twitter icon-instagram

ดาวน์โหลดเลย

ดาวน์โหลด qr-code
iconดาวน์โหลดแอปฯ MorDee
background
Bubble
Bubble
Bubble
Bubble

ซิฟิลิส โรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ รู้เร็ว หายได้

ซิฟิลิส โรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์  รู้เร็ว หายได้ icon

ซิฟิลิส เป็นโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ที่พบได้บ่อย  โดยเฉพาะในกลุ่มวัยเจริญพันธุ์ ที่ขาดความเข้าใจในเรื่องเพศศึกษา โรคนี้ หากไม่ได้รับการรักษาอย่างเหมาะสม อาจส่งผลต่อระบบประสาท หัวใจ สมอง อวัยวะต่าง ๆ ของร่างกาย และรุนแรงถึงขั้นเสียชีวิตได้

 

ในบทความนี้ คุณหมอมนัสวี วรรธนทวาทศ อายุรแพทย์โรคติดเชื้อ จากแอปฯ หมอดี อยากชวนทุกคนมาทำความเข้าใจเกี่ยวกับสาเหตุ อาการ และวิธีการป้องกันโรคซิฟิลิสกันให้มากขึ้น 

 

โรคซิฟิลิส เกิดจากอะไร?

โรคซิฟิลิส (Syphilis) เกิดจากการติดเชื้อแบคทีเรีย Treponema pallidum เชื้อเข้าสู่ร่างกายทางเยี่อบุ เช่น บริเวณอวัยวะเพศ ช่องคลอด ทวารหนัก และปาก หรือผิวหนังที่มีรอยแผล สามารถทำให้เกิดโรคที่ระบบต่าง ๆ ของร่างกายได้หลายระบบ หรืออาจอยู่ในระยะแฝงได้เป็นระยะเวลานาน

 

โรคซิฟิลิส ติดต่ออย่างไร?

  • ติดต่อผ่านการมีเพศสัมพันธ์ทั้งทางช่องคลอด ทางปาก และทางทวารหนัก
  • สัมผัสสารคัดหลั่งจากผู้ติดเชื้อซิฟิลิส  เช่น เลือด น้ำลาย 
  • ติดต่อจากแม่สู่ลูก ระหว่างตั้งครรภ์
  • สัมผัสผ่านแผลเปิด การจูบ กับผู้ติดเชื้อ

 

ระยะอาการของโรคซิฟิลิส มีดังนี้

1. โรคซิฟิลิสระยะที่ 1 (Primary syphilis)
มีระยะเวลาฟักตัว 10 - 90 วัน จึงจะเริ่มแสดงอาการ รอยโรคเป็นผื่นสีแดงเข้ม จากนั้นจะแตกเป็นแผล มักเป็นแผลเดียว ก้นแผลสะอาด ขอบแผลนูนแข็ง เรียกแผลชนิดนี้ว่า แผลริมแข็ง (chancre) โดยจะเกิดแผลบริเวณที่เชื้อเข้าไป เช่น อวัยวะเพศ ริมฝีปาก ทวารหนัก แผลจะไม่เจ็บ

 

2. โรคซิฟิลิสระยะที่ 2 (Secondary syphilis)
หลังจากพบแผลริมแข็งประมาณ 3 -12 สัปดาห์ เชื้อซิฟิลิส จะเริ่มแพร่ไปทั่วร่างกาย ทำให้มีไข้ ผื่นแดงนูนหนาที่ฝ่ามือ ฝ่าเท้า ต่อมน้ำเหลืองโต ผมร่วง อาจพบรอยโรคเฉพาะที่มีลักษณะเป็นผื่นนูนหนา (condyloma lata) ที่อวัยวะเพศ หรือทวารหนัก 

 

3. โรคซิฟิลิสระยะแฝง (Latent syphilis)
หากไม่ได้รับการรักษาซิฟิลิสระยะที่ 2 สามารถดำเนินโรคต่อไปเป็นระยะแฝง เป็นระยะที่ไม่แสดงอาการ

 

4. โรคซิฟิลิสระยะที่ 3 (Tertiary syphilis)
พบรอยโรคลักษณะเป็นก้อน หรือผื่นนูนหนา สีชมพูถึงแดงเข้ม เรียกว่า gumma พบได้ที่ผิวหนัง เยื่อบุ อวัยวะภายใน นอกจากนี้ยังทำให้เกิดโรคซิฟิลิสระบบหัวใจ และหลอดเลือด ได้แก่ เส้นเลือดใหญ่อักเสบ เส้นเลือดใหญ่โป่งพอง ลิ้นหัวใจรั่ว เป็นต้น

 

5. โรคซิฟิลิสของระบบประสาท (Neurosyphilis)
สามารถเกิดได้ในทุกระยะของโรคซิฟิลิส ทำให้เกิดอาการทางเยื่อหุ้มสมองและเส้นเลือด เช่น เยื่อหุ้มสมองอักเสบ หรือมีอาการเหมือนผู้ป่วยเส้นเลือดสมองตีบ เส้นประสาทสมองทำงานผิดปกติ รวมถึงทำให้เกิดอาการความจำเสื่อม อารมณ์แปรปรวน บุคลิกภาพเปลี่ยนแปลง นอกจากนี้ยังอาจพบความผิดปกติทางตา เช่น ปวดตา ตาแดง ตาสู้แสงไม่ได้ และความผิดปกติทางหู

 

ระยะอาการของโรคซิฟิลิส

วิธีป้องกันโรคซิฟิลิส

  • สวมถุงยางอนามัยทุกครั้งที่มีเพศสัมพันธ์
  • งดกิจกรรมทางเพศที่อาจทำให้เสี่ยงติดโรค เช่น การเปลี่ยนคู่นอนบ่อย ๆ การมีเพศสัมพันธ์โดยไม่ป้องกัน
  • หลีกเลี่ยงการมีเพศสัมพันธ์กับคู่นอนที่มีความเสี่ยงป่วยเป็นโรคซิฟิลิส
  • ตรวจสุขภาพทั้งตัวเอง และคู่นอน สังเกตตัวเอง และคัดกรองโรคซิฟิลิสทุกปี
  • หากพบอาการน่าสงสัยคล้ายโรคซิฟิลิส เช่น มีผื่น แผลที่อวัยวะเพศ ควรปรึกษาแพทย์ เพื่อตรวจวินิจฉัยทันที

 

โรคซิฟิลิส สามารถหายขาดได้ หากตรวจพบตั้งแต่ในระยะเริ่มต้น  

ดังนั้น หากมีอาการน่าสงสัย คล้ายโรคซิฟิลิส เช่น แผลที่อวัยวะเพศ ทวารหนัก ผื่นแดงตามตัว ต่อมน้ำเหลืองโต แนะนำให้ตัวคุณเองและคู่นอนรีบปรึกษาแพทย์ ก่อนเกิดภาวะแทรกซ้อนรุนแรง  

 

โดยสามารถปรึกษาแพทย์ผู้เชี่ยวชาญทางออนไลน์ได้ง่าย ๆ ผ่านแอปฯ หมอดี  เป็นส่วนตัว นัดได้ทันทีตามสะดวก พร้อมบริการจัดส่งยาให้ถึงบ้าน

 

5 ขั้นตอน ปรึกษาแพทย์ออนไลน์กับแอปฯ หมอดี 

1. ดาวน์โหลดแอปฯ หมอดี คลิก >> https://mordee.app.link/mordee จากนั้นเลือกเมนูโปรไฟล์ เพื่อลงทะเบียนเข้าใช้งาน
2. ไปที่หน้าแรกของแอปฯ กดแถบค้นหา เลือกปุ่มอาการสุขภาพเพศชาย หรือแผนกสุขภาพผู้หญิง  หากต้องการปรึกษาเกี่ยวกับโรคซิฟิลิส
3. เลือกแพทย์ที่ต้องการปรึกษา แล้วทำนัดหมาย โดยเลือกวันและเวลาที่ต้องการ แล้วเลือกรูปแบบการปรึกษาเป็น วิดีโอคอล โทร หรือ แชต จากนั้นทำการชำระเงิน หรือกรอกโค้ดส่วนลด (ถ้ามี) 
4. เข้าห้องสนทนาในแอปฯ เพื่อทำการปรึกษา เมื่อถึงเวลานัดหมาย
5. รอสรุปผลการปรึกษา พร้อมใบสั่งยาจากแพทย์ (หากมี) โดยสามารถสั่งซื้อยา แล้วรอรับยาที่บ้านได้

 

สอบถามเพิ่มเติมหรือปรึกษาหมอผ่านไลน์ ได้ที่ Line ID: @mordeeapp

 

#MorDee #หมอดี #หมอประจำบ้านในมือคุณ 
#หาหมอออนไลน์ #โรคซิฟิลิส
 

แชร์บทความ:

บทความอื่นๆ ที่คุณอาจสนใจ

ดูทั้งหมด

ยอมรับนโยบายการใช้คุกกี้

การตั้งค่าคุกกี้
นโยบายการใช้คุกกี้นี้ จะอธิบายถึงประเภท เหตุผล และลักษณะการใช้คุกกี้ รวมถึงวิธีการจัดการคุกกี้ ของเว็บไซต์ทั้งหมด โดยท่านสามารถดูรายการคุกกี้และตั้งค่าการยอมรับการใช้งาน ดูรายละเอียดเพิ่มเติม