icon-facebook icon-line icon-blockdit icon-twitter icon-instagram

ดาวน์โหลดเลย

ดาวน์โหลด qr-code
iconดาวน์โหลดแอปฯ MorDee
background
Bubble
Bubble
Bubble
Bubble

ไข้หวัดใหญ่ อันตรายกว่า ไข้หวัดธรรมดา ตรงไหนบ้าง?

ไข้หวัดใหญ่ อันตรายกว่า ไข้หวัดธรรมดา ตรงไหนบ้าง? icon

ไข้หวัดใหญ่  เกิดจากเชื้อไวรัส Influenza เป็นโรคติดเชื้อในระบบทางเดินหายใจ  แพร่กระจายง่ายผ่านคนสู่คน  โดยมักระบาดหนักในช่วงฤดูฝน  (มิถุนายน – ตุลาคม) และฤดูหนาว (มกราคม – มีนาคม)

 

ทั้งนี้ โรคไข้หวัดใหญ่ จะมีอาการรุนแรงมากกว่าไข้หวัดธรรมดาทั่วไป และอาจทำให้เกิดภาวะแทรกซ้อนอันตรายได้มากมาย โดยเฉพาะในกลุ่มเสี่ยง เช่น เด็ก คนชรา ผู้ที่มีโรคประจำตัวต่าง ๆ   

 

แล้วอาการแบบไหนเรียกว่าไข้หวัดใหญ่? ภาวะแทรกซ้อนใดที่ควรเฝ้าระวัง? มีวิธีการป้องกันโรคนี้อย่างไรบ้าง? พบคำตอบจากคุณหมอบดินทร์ อนันตระวนิชย์ อายุรแพทย์ทั่วไป จากแอปฯ หมอดี ได้ที่นี่เลย

 

สายพันธุ์ของเชื้อไข้หวัดใหญ่

1. สายพันธุ์ A   ตัวอย่างเช่น H1N1 และ H3N2 ซึ่ง 2 สายพันธุ์นี้ เป็นสายพันธุ์ที่พบบ่อยที่สุดทั่วโลก

2. สายพันธุ์ B เช่น มาจากเชื้อตระกูล Victoria และ Yamagata พบรองลงมาจากสายพันธุ์ A

3. สายพันธุ์ C  พบได้น้อยมาก โดยหากติดเชื้อสายพันธุ์นี้ มักไม่แสดงอาการ หรือมีอาการไม่รุนแรง  และเชื้อจะแพร่กระจายน้อย  จึงไม่ค่อยมีความสำคัญ ดังจะเห็นได้จากการตรวจเชื้อไวรัสในเวชปฏิบัติจะรายงานแค่ไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์ A และ  B

 


อาการหลักของไข้หวัดใหญ่ 

ส่วนมากแล้ว จะมีอาการคล้ายไข้หวัดทั่วไป แต่จะรุนแรง และมีอาการร่วมมากกว่า ดังนี้ 

  • ไข้สูง 39 - 41 องศา ประมาณ 2 - 4 วัน 
  • ปวดศีรษะ ปวดเมื่อยตัวมาก
  • เจ็บคอ ไอแห้ง 
  • น้ำมูกใส คัดจมูก
  • อาจมีอาการท้องเสีย ท้องเดิน 
  • อ่อนเพลีย คลื่นไส้ เบื่ออาหาร


*ข้อควรระวัง* หากมีอาการเสี่ยงคล้ายไข้หวัดใหญ่ ไม่ควรรับประทานยากลุ่มแอสไพรินเด็ดขาด  เพราะอาจทำให้เกิดอันตรายต่ออวัยวะภายใน  โดยเฉพาะตับและสมองได้

 

ภาวะแทรกซ้อนอันตราย เมื่อป่วยเป็นไข้หวัดใหญ่

โรคนี้เน้นรักษาตามอาการเหมือนไข้หวัดทั่วไป รวมถึงมียาต้านไวรัสที่สามารถจัดการเชื้อโรคได้โดยตรง


อย่างไรก็ตาม สำหรับกลุ่มเด็ก ผู้สูงอายุ และผู้มีโรคประจำตัว ไข้หวัดใหญ่จะอันตรายกว่า เพราะเชื้อสามารถลุกลามง่าย ทำให้เกิดโรคแทรกซ้อนรุนแรงเหล่านี้ได้
 

  •  เยื่อหุ้มหัวใจอักเสบ : ผู้ป่วยจะมีอาการเจ็บหน้าอก เหนื่อยหอบ มีอาการคล้ายหัวใจวาย 
  •  เยื่อหุ้มสมองอักเสบ : ผู้ป่วยจะปวดหัวรุนแรง ซึมลงอย่างเห็นได้ชัด เพ้อ
  •  หลอดลมอักเสบ ปอดบวม : ผู้ป่วยจะมีอาการไอหนัก แน่นหน้าอก หายใจเร็ว  และหอบเหนื่อยร่วมด้วย


ดังนั้น หากมีไข้สูงหลายวันไม่ทุเลา พร้อมอาการร่วมน่าสงสัยเหล่านี้ ควรรีบพบแพทย์ เพื่อวินิจฉัยและเฝ้าระวังทันที  มิฉะนั้น อาจทำให้อาการหนักถึงขั้นเสียชีวิตได้

ภาวะแทรกซ้อนอันตรายของไข้หวัดใหญ่


การแพร่กระจายเชื้อไข้หวัดใหญ่

แพร่กระจาย ผ่านการไอ จาม หรือ ใช้ของใช้ร่วมกันกับผู้ป่วย

 

ป้องกันไข้หวัดใหญ่ ฉีดวัคซีนไว้อุ่นใจที่สุด

วิธีป้องกันไข้หวัดใหญ่ เบื้องต้นนั้นเหมือนวิธีป้องกันหวัดทั่วไป คือ ล้างมือบ่อย ๆ พักผ่อนให้เพียงพอ กินอาหารให้ครบ 5 หมู่ หลีกเลี่ยงสถานที่แออัด งดใช้ของส่วนตัวร่วมกับคนอื่น ฯลฯ  


แต่วิธีป้องกันไข้หวัดใหญ่ที่เห็นผลดี คือ การฉีดวัคซีนป้องกันไข้หวัดใหญ่ ปีละครั้ง โดยการฉีดวัคซีนนอกจากจะช่วยลดโอกาสติดโรคแล้ว หากติดขึ้นมา ยังจะช่วยลดอาการรุนแรงและภาวะแทรกซ้อนอันตราย  ลดโอกาสแอดมิดนอนโรงพยาบาล จึงประหยัดค่ารักษา ประหยัดเวลาในการพักพื้นได้อีกด้วย

 

ใครควรฉีดวัคซีนป้องกันไข้หวัดใหญ่บ้าง?

คำตอบคือ ทุกคน ควรได้รับการฉีดวัคซีนป้องกันไข้หวัดใหญ่ทุกปี โดยเฉพาะอย่างยิ่งในบุคคลกลุ่มเสี่ยง ดังต่อไปนี้

  •  เด็กเล็ก ทั้งวัยอนุบาล และวัยประถมศึกษา
  •  ผู้สูงอายุ อายุ 65 ปีขึ้นไป
  •  ผู้ที่มีโรคประจำตัว เช่น โรคเบาหวาน โรคหอบหืด โรคไต โรคตับ โรคหัวใจ 
  •  ผู้มีภูมิคุ้มกันอ่อนแอ หรือภูมิคุ้มกันบกพร่อง เช่น ผู้ป่วยโรคมะเร็ง ผู้ติดเชื้อ HIV
  •  ผู้ที่มีโรคอ้วน 
  •  สตรีมีครรภ์
  •  ผู้ป่วยโรคทางสมอง เช่น โรคลมชัก อัมพาต อัมพฤกษ์  พิการทางสมอง 

 

พิเศษ! จองฉีดวัคซีนไข้หวัดใหญ่กับแอปฯ หมอดี  ฉีดให้ถึงที่บ้าน* สะดวก!  ค้มค่า! ไม่ต้องเดินทาง!  ไม่มีบวกเพิ่ม ดำเนินการโดยพยาบาลวิชาชีพจากแอปฯ หมอดี 

 

ช่องทางจองบริการฉีดวัคซีนป้องกันไข้หวัดใหญ่ถึงบ้าน กับแอปฯ หมอดี 
 

1. ซื้อผ่าน MorDee Shop บนแอปฯ LAZADA  คลิก  https://s.lazada.co.th/s.9h2NU

2. จองผ่านแอปฯ หมอดี  ดาวน์โหลดแอปฯ หมอดี คลิก https://mordee.app.link/mordee จากนั้นลงทะเบียนเข้าใช้งาน แล้วคลิกที่แบนเนอร์  "บริการฉีดวัคซีนถึงบ้าน" ในหน้าแรก 

3. จองผ่าน Line OA : @mordeeapp โดยสามารถสอบถามและขอรหัสการจองจากแอดมินได้เลย

 

*หมายเหตุ : ให้บริการฉีดวัคซีนถึงบ้าน ในพื้นที่ กทม. เท่านั้น  และต้องจองล่วงหน้าอย่างน้อย 3 วัน

 

อย่างไรก็ตาม แม้จะฉีดวัคซีนป้องกันแล้ว ก็มีโอกาติดเชื้อไข้หวัดใหญ่ได้เช่นกัน  หากคุณเริ่มมีอาการไอ จาม ปวดหัว มีไข้ พร้อมอาการร่วมน่าสงสัยคล้ายไข้หวัดใหญ่ อย่าชะล่าใจ ปรึกษาแพทย์ง่าย ๆ ผ่านแอปฯ หมอดี ช่วยวินิจฉัยเบื้องต้นก่อนได้  ไม่ต้องเดินทาง หรือรอคิวนาน พร้อมรอรับยาได้ที่บ้าน

 

5 ขั้นตอนง่าย ๆ ในการใช้งานแอปฯ หมอดี 
1. ดาวน์โหลดแอปฯ คลิก >> https://mordee.app.link/mordee จากนั้นเลือกเมนูโปรไฟล์ เพื่อลงทะเบียนเข้าใช้งาน
2. ไปที่หน้าแรกของแอปฯ กดแถบค้นหา เลือกแพทย์หรือแผนกที่ต้องการปรึกษา สำหรับโรคไข้หวัดใหญ่ แนะนำ แผนกหู คอ จมูก หรือแผนกโรคทั่วไป 
3. เลือกแพทย์ที่ต้องการปรึกษา แล้วทำนัดหมาย โดยเลือกวันและเวลาที่ต้องการ แล้วเลือกรูปแบบการปรึกษาเป็น วิดีโอคอล โทร หรือ แชต จากนั้นทำการชำระเงิน หรือกรอกโค้ดส่วนลด (ถ้ามี) 
4. เข้าห้องสนทนาในแอปฯ เพื่อทำการปรึกษาแพทย์ เมื่อถึงเวลานัดหมาย
5. รอสรุปผลการปรึกษาจากแพทย์ พร้อมใบสั่งยา(หากมี) โดยสามารถสั่งซื้อยา แล้วรอรับยาที่บ้านได้

 

สอบถามเพิ่มเติมหรือปรึกษาหมอผ่านไลน์ได้ที่ Line ID: @mordeeapp 

 

#MorDee #หมอดี #หมอประจำบ้านในมือคุณ
 

แชร์บทความ:

บทความอื่นๆ ที่คุณอาจสนใจ

ดูทั้งหมด

ยอมรับนโยบายการใช้คุกกี้

การตั้งค่าคุกกี้
นโยบายการใช้คุกกี้นี้ จะอธิบายถึงประเภท เหตุผล และลักษณะการใช้คุกกี้ รวมถึงวิธีการจัดการคุกกี้ ของเว็บไซต์ทั้งหมด โดยท่านสามารถดูรายการคุกกี้และตั้งค่าการยอมรับการใช้งาน ดูรายละเอียดเพิ่มเติม