icon-facebook icon-line icon-blockdit icon-twitter icon-instagram

ดาวน์โหลดเลย

ดาวน์โหลด qr-code
iconดาวน์โหลดแอปฯ MorDee
background
Bubble
Bubble
Bubble
Bubble

ปวดท้องตรงกลาง เสี่ยงเป็นโรคอะไรบ้าง? ปวดแบบไหนควรพบแพทย์

ปวดท้องตรงกลาง เสี่ยงเป็นโรคอะไรบ้าง? ปวดแบบไหนควรพบแพทย์ icon

รู้มั้ย? ตำแหน่งที่ปวดท้องบอกโรคได้ ซึ่งแพทย์เองก็ใช้วิธีนี้ ร่วมกับลักษณะอาการปวด ในการวินิจฉัยอาการของคนไข้ด้วยเช่นกัน ยกตัวอย่างเช่นอาการปวดท้องตรงกลาง ที่หลายคนอาจเป็นกันบ่อย วันนี้แอปฯ หมอดีมีคำตอบ ว่าถ้าปวดท้องตรงนี้ เสี่ยงเป็นอะไรได้บ้าง? แล้วปวดแบบไหน ควรพบแพทย์

ปวดท้องตรงกลาง บอกอาการและเสี่ยงเป็นโรคอะไรบ้าง? มาอ่านกัน!
การปวดท้องตรงกลางนั้น จริงๆ แล้วแบ่งได้เป็นหลายตำแหน่งย่อย ๆ เราสามารถดูตำแหน่งที่ปวด รวมถึงอาการร่วมต่าง ๆ ที่มี เพื่อวินิจฉัยอาการเบื้องต้นได้ ดังนี้

 

 

วินิจฉัยตามตำแหน่งที่ปวด

 

ปวดท้องตรงกลาง บริเวณสะดือ 
มักเป็นอาการเริ่มต้นของโรคที่เกิดจากอวัยวะในช่องท้อง ได้แก่ กระเพาะอาหาร ลำไส้เล็ก และลำไส้ใหญ่ การแยกสาเหตุต้องใช้ลักษณะอาการปวด และอาการร่วมอื่น ๆ ประกอบ เช่น หากมีอาการคลื่นไส้ อาเจียน มักเกิดจากโรคกระเพาะอาหาร หากมีอาการท้องเสียเป็นน้ำ มักเกิดจากลำไส้เล็ก  หากมีอาการถ่ายเป็นมูกเลือด อาจเกิดจากลำไส้เล็กหรือลำไส้ใหญ่ แต่ถ้ามีอาการปวดบิดเป็นพัก ๆ อาจมีสาเหตุจาก ความผิดปกติในท่อน้ำดี หรือท่อไต

 

ปวดท้องตรงกลาง เหนือสะดือ (ใต้ลิ้นปี่)
เกิดได้จากหลายสาเหตุด้วยกัน อาจเป็นความผิดปกติของ กระเพาะอาหาร หลอดอาหาร ตับอ่อน หรือถุงน้ำดี ในบางรายที่ปวดรุนแรงเป็นประจำ จนรู้สึกคลื่นไส้ อาเจียน อาจเกี่ยวข้องกับโรคตับอ่อนอักเสบ และบางรายก็พบว่าเป็นอาการเนื่องมาจากกรดไหลย้อน

 

ปวดท้องตรงกลาง ใต้สะดือ เหนือหัวหน่าว
เป็นไปได้จากหลายสาเหตุ ให้ลองนึกดี ๆ ว่าทำกิจกรรมที่ผิดปกติไปจากเดิมบ้างหรือไม่ เช่น ยกของหนัก ออกกำลังกายโดยใช้กล้ามเนื้อบริเวณหน้าท้องมากเกินไป และหากมีอาการร่วมที่เกี่ยวเนื่องกับตอนปวดปัสสาวะ ก็อาจเป็นสัญญาณของโรคที่เกี่ยวกับกระเพาะปัสสาวะได้เช่นกัน นอกจากนี้ สำหรับผู้หญิงก็เสี่ยงเป็นอาการที่เกี่ยวกับมดลูกและประจำเดือนอีกด้วย

 

ปวดท้องตรงกลาง ค่อนไปทางบั้นเอวขวา
หากปวดมากบริเวณนี้เสี่ยงต่อโรคที่สำคัญคือ ไส้ติ่งอักเสบ  นอกจากนั้นอาจเป็นโรคที่เกี่ยวกับท่อไต หรือปีกมดลูกในเพศหญิง ดังนั้นการปวดในตำแหน่งนี้นอกจากการซักอาการโดยละเอียด ยังต้องให้แพทย์ตรวจร่างกาย โดยเฉพาะการคลำหน้าท้อง เพื่อการวินิจฉัยที่ถูกต้องมากยิ่งขึ้น

 

ปวดท้องตรงกลาง ค่อนไปทางบั้นเอวซ้าย
หากมีอาการปวดรุนแรงมักจะเป็นอาการของลำไส้ใหญ่อักเสบ นอกจากนี้ ต้องดูอาการร่วม เช่น หากปวดร้าวถึงต้นขาก็อาจเป็นอาการของนิ่วในท่อไต หรือถ้าปวดท้องบริเวณนี้ร้าวไปจนถึงหลัง มีไข้ หนาวสั่น ปัสสาวะขุ่น อาจเป็นอาการของกรวยไตอักเสบ

 

 

 

วินิจฉัยตามอาการร่วม

 

ปวดท้องตรงกลาง ร่วมกับอาการปวดหลัง
อาการปวดหลังเป็นอาการข้างเคียงของการปวดท้องเป็นระยะเวลานาน หรือเรียกได้ว่า เกิดจากอาการเรื้อรัง ถือว่าอาการในขั้นที่ค่อนข้างหนัก ไม่ควรละเลย ควรปรึกษาแพทย์ เพราะถ้าปวดท้องแล้วลามมาปวดหลัง อาจเป็นสัญญาณของโรคกรวยไตอักเสบ ซึ่งจะแสดงอาการร่วมกับการมีปัสสาวะสีขุ่น มีไข้ หนาวสั่น นอกจากนี้ยังอาจเป็นความผิดปกติของหลอดเลือดแดงใหญ่ในช่องท้องโป่งพองได้อีกด้วย

 

ปวดท้องตรงกลาง ร่วมกับอาเจียนเป็นประจำ
อาการปวดท้อง โดยที่มีอาการร่วมเป็นการคลื่นไส้ อาเจียน อาจบ่งชี้อาการเริ่มต้นของโรคกระเพาะอาหารเรื้อรัง โรคหลอดอาหารอักเสบ โรคกรดไหลย้อน หรือนิ่วในถุงน้ำดี ควรไปพบแพทย์เพื่อทำการวินิจฉัยต่อไป

 

 

 

สังเกตอาการให้ดี หากปวดท้องตรงกลาง และปวดลักษณะนี้ ควรพบแพทย์

- ปวดนานมากกว่า 6 ชั่วโมง แล้วอาการเป็นมากขึ้น ปวดจนรับประทานอาหารไม่ได้ ไม่อยากอาหาร

- ปวดท้องและอาเจียนมาก มากกว่า 3-4 ครั้ง

- ปวดท้องมากขึ้นเมื่อขยับตัว

- ปวดที่บริเวณท้องน้อยด้านขวาอย่างหนัก

- ปวดท้องรุนแรง ปวดจนนอนไม่ได้

- ปวดร่วมกับมีเลือดออกจากช่องคลอด

- ปวดท้องแบบมีไข้ร่วมด้วย

 

สาระสุขภาพโดย นพ.กิตติศักดิ์ ฐานะสิทธิ์ แผนกอายุรกรรม บนแอปฯ หมอดี

 

ปรึกษาหมอออนไลน์ ได้ง่ายๆ ผ่านแอปฯ หมอดี พร้อมมีบริการจัดส่งยาให้ถึงบ้าน เพียงทำตาม 5 ขั้นตอนดังนี้
1. ดาวน์โหลดแอปฯ คลิก>> https://mordee.app.link/mordee จากนั้นเลือกเมนูโปรไฟล์ เพื่อลงทะเบียนเข้าใช้งาน
2. ไปที่หน้าแรกของแอปฯ กดแถบค้นหา แล้วเลือกอาการหรือแผนกที่ต้องการปรึกษา สำหรับอาการปวดท้อง แนะนำ แผนกโรคทั่วไป หรือแผนกอายุรกรรม
3. เลือกแพทย์ที่ต้องการปรึกษา แล้วทำนัดหมาย โดยเลือกวันและเวลาที่ต้องการ แล้วเลือกรูปแบบการปรึกษาเป็น วิดีโอคอล โทร หรือ แชต จากนั้นทำการชำระเงิน หรือกรอกโค้ดส่วนลด (ถ้ามี) 
4. เข้าห้องสนทนาในแอปฯ เพื่อทำการปรึกษาแพทย์ เมื่อถึงเวลานัดหมาย
5. รอสรุปผลการปรึกษาจากแพทย์ พร้อมใบสั่งยา(หากมี) โดยสามารถสั่งซื้อยา แล้วรอรับยาที่บ้านได้

สอบถามเพิ่มเติมได้ที่ Line OA: @mordeeapp

#MorDee #หมอดี #หมอประจำบ้านในมือคุณ #TrueHEALTH

#ปวดท้อง

แชร์บทความ:

บทความอื่นๆ ที่คุณอาจสนใจ

ดูทั้งหมด

ยอมรับนโยบายการใช้คุกกี้

การตั้งค่าคุกกี้
นโยบายการใช้คุกกี้นี้ จะอธิบายถึงประเภท เหตุผล และลักษณะการใช้คุกกี้ รวมถึงวิธีการจัดการคุกกี้ ของเว็บไซต์ทั้งหมด โดยท่านสามารถดูรายการคุกกี้และตั้งค่าการยอมรับการใช้งาน ดูรายละเอียดเพิ่มเติม