icon-facebook icon-line icon-blockdit icon-twitter icon-instagram

ดาวน์โหลดเลย

ดาวน์โหลด qr-code
iconดาวน์โหลดแอปฯ MorDee
background
Bubble
Bubble
Bubble
Bubble

ตาโปน คอพอก อาจเสี่ยงไทรอยด์เป็นพิษ รู้ทัน! ไม่อันตราย!

ตาโปน คอพอก อาจเสี่ยงไทรอยด์เป็นพิษ รู้ทัน! ไม่อันตราย! icon

เมื่อพูดถึงต่อมไทรอยด์ โรคที่พบบ่อยที่สุด คือ โรคไทรอยด์เป็นพิษ ซึ่งพบมากในเพศหญิง โรคนี้สามารถสร้างความเสียหายและความเจ็บป่วยได้ในหลาย ๆ ส่วนทั่วร่างกาย

 

โดยในบทความนี้ คุณหมอพรกมล ติรณะประกิจ แพทย์อายุรกรรม ประจำแอปฯ หมอดี  จะมาอธิบายถึงสาเหตุ อาการเบื้องต้น และวิธีรักษาโรคไทรอยด์ให้ได้ทราบกัน

 

หน้าที่ของต่อมไทรอยด์

ต่อมไทรอยด์ อยู่บริเวณลำคอ มีลักษณะคล้ายปีกผีเสื้อ คอยผลิตฮอร์โมนไทรอยด์ส่งไปทั่วร่างกาย โดยมีหน้าที่สำคัญ ดังนี้
 

  •  ส่งผลต่อการเจริญเติบโตของร่างกาย
  •  ควบคุมกระบวนการเผาผลาญต่าง ๆ
  •  กระตุ้นการทำงานของหัวใจ กล้ามเนื้อ กระดูก
  •  ควบคุมการเผาผลาญ และอุณหภูมิร่างกาย


ดังนั้น เมื่อต่อมไทรอยด์ผิดปกติไป ย่อมส่งผลต่ออวัยวะและระบบต่าง ๆ ในร่างกายได้หลายส่วน

 

ไทรอยด์เป็นพิษ คืออะไร?

โรคไทรอยด์เป็นพิษ เกิดจากร่างกายมีฮอร์โมนไทรอยด์มากเกินไป โดยมีสาเหตุจาก

1.  ต่อมไทรอยด์ สร้างฮอร์โมนมากเกินไป - โดยสาเหตุที่พบบ่อยมากที่สุด คือ โรคคอพอกเป็นพิษ หรือ โรคเกรฟส์ (Grave’s disease) หรืออาจเกิดจากก้อนหรือเนื้องอกที่ต่อมไทรอยด์
 

2. ภาวะไทรอยด์อักเสบ - โดยเกิดจากการติดเชื้อไวรัส หรือ แบคทีเรีย หรือ เกิดจากภาวะภูมิคุ้มกันผิดปกติของร่างกาย


3. ได้รับยาฮอร์โมนไทรอยด์ - เช่น ได้ยาในรูปแบบของอาหารเสริม หรือ ยาลดน้ำหนัก

 

รู้ทัน! อาการไทรอยด์เป็นพิษ

  •  ตาโต ตาโปน มากผิดปกติ
  •  คอพอก หรือคลำแล้ว มีก้อนโตที่คอ
  •  น้ำหนักลด แม้กินอาหารในปริมาณปกติ
  •  มือสั่น ต้นแขนต้นขาอ่อนแรง
  •  เหนื่อยง่าย ใจสั่น หัวใจเต้นผิดจังหวะ
  •  ถ่ายอุจจาระเหลว
  •  ผมร่วงมาก
  • ผิวหนาเป็นปื้น มักเกิดบริเวณหน้าแข้ง
  • หงุดหงิดง่าย นอนไม่หลับ

อาการของโรคไทรอยด์เป็นพิษ

อันตรายของโรคไทรอยด์เป็นพิษ

นอกจากจะทำให้ร่างกายแปรปรวนไปทั่วแล้ว  หากไทรอยด์เป็นพิษเรื้อรังนาน ๆ แล้วไม่ได้รับการรักษาอย่างเหมาะสม อาจเกิดภาวะแทรกซ้อนรุนแรง เช่น
 

  •  ตาปูดโปนออกมามากผิดปกติ หนังตาปลิ้น
  •  เสี่ยงหัวใจวาย หัวใจขาดเลือด หัวใจเต้นเร็ว จนช็อกเสียชีวิตได้

 

วิธีรักษาไทรอยด์เป็นพิษ


1. กินยาต้านฮอร์โมนไทรอยด์ (Anti-thyroid drug) : เพื่อลดปริมาณฮอร์โทนไทรอยด์ ซึ่งจะช่วยให้อาการที่เกิดจากภาวะไทรอยด์เป็นพิษดีขึ้น โดยในช่วงแรกของการเริ่มยาอาจมียาช่วยลดอาการกินควบคู่ไปด้วยในรายที่มีอาการใจสั่น เป็นยากลุ่มลดความเร็วของหัวใจ (Betablocker)
 

2. กลืนแร่กัมมันตรังสีไอโอดีน-131 : เพื่อให้สารกัมมันตรังสีทำลายต่อมไทรอยด์ และผลิตฮอร์โมนลดลง หลังกลืนแร่มีโอกาสทำให้เกิดภาวะไทรอยด์ผลิตฮอร์โมนน้อยเกินไปได้


3. ผ่าตัดต่อมไทรอยด์ : โดยตัดเอาต่อมไทรอยด์ออกบางส่วน เพื่อให้ต่อมมีขนาดเล็กลง หรือผ่าตัดออกทั้งหมด แต่วิธีนี้ อาจทำให้เกิดภาวะต่อมไทรอยด์ผลิตฮอร์โมนน้อยเกินไป เสียงแหบ หรือ ภาวะแคลเซียมต่ำเรื้อรังได้

 

หากพบว่าตัวคุณมีความเสี่ยงจากโรคไทรอยด์เป็นพิษ แนะนำให้ปรึกษาแพทย์ผ่านแอปฯ หมอดี เพื่อตรวจเช็กอาการเบื้องต้น  ทำนัดได้เลยตามวันเวลาที่สะดวก ไม่ต้องรอคิวนาน ไม่ต้องเดินทางไปโรงพยาบาล และถ้าต้องมีการจ่ายยา ก็สามารถรอรับยาได้สบาย ๆ ที่บ้าน เพราะเรามีบริการจัดส่งยาให้ถึงบ้านอีกด้วย

 

ขั้นตอนง่าย ๆ ในการปรึกษาแพทย์ ผ่านแอปฯ หมอดี 
1. ดาวน์โหลดแอปฯ คลิก>> https://mordee.app.link/mordee จากนั้นเลือกเมนูโปรไฟล์ เพื่อลงทะเบียนเข้าใช้งาน
2. ไปที่หน้าแรกของแอปฯ กดแถบค้นหา เลือกแผนกหรืออาการที่ต้องการปรึกษา สำหรับไทรอยด์เป็นพิษ  แนะนำแผนกอายุรกรรม หรือแผนกโรคทั่วไป
3. เลือกแพทย์ที่ต้องการปรึกษา และทำนัดหมาย โดยเลือกวันและเวลาที่ต้องการ แล้วเลือกรูปแบบการปรึกษาเป็น วิดีโอคอล โทร หรือ แชต จากนั้นทำการชำระเงิน หรือกรอกโค้ดส่วนลด (ถ้ามี) 
4. เข้าห้องสนทนาในแอปฯ เพื่อทำการปรึกษาแพทย์ เมื่อถึงเวลานัดหมาย
5. รอสรุปผลการปรึกษาจากแพทย์ พร้อมใบสั่งยา(หากมี) โดยสามารถสั่งซื้อยา แล้วรอรับยาที่บ้านได้

 

สอบถามเพิ่มเติมหรือปรึกษาหมอผ่านไลน์ ได้ที่ Line ID: @mordeeapp

 

#MorDee #หมอดี #หมอประจำบ้านในมือคุณ #ไทรอยด์เป็นพิษ

แชร์บทความ:

บทความอื่นๆ ที่คุณอาจสนใจ

ดูทั้งหมด

ยอมรับนโยบายการใช้คุกกี้

การตั้งค่าคุกกี้
นโยบายการใช้คุกกี้นี้ จะอธิบายถึงประเภท เหตุผล และลักษณะการใช้คุกกี้ รวมถึงวิธีการจัดการคุกกี้ ของเว็บไซต์ทั้งหมด โดยท่านสามารถดูรายการคุกกี้และตั้งค่าการยอมรับการใช้งาน ดูรายละเอียดเพิ่มเติม