โรคหูดหงอนไก่ เป็นโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ที่พบได้ทั้งในเพศหญิงและเพศชาย โดยมีสาเหตุมาจากการติดเชื้อไวรัส Human papilloma virus หรือ HPV ซึ่งไวรัสชื่อนี้หลายๆ คนอาจรู้จักกันในนามไวรัสที่ทำให้เกิดมะเร็งปากมดลูกนั่นเอง
แล้วหูดหงอนไก่ สามารถพัฒนาไปเป็นมะเร็งปากมดลูกได้หรือไม่? มีอาการและการติดต่อกันได้อย่างไร? ป้องกันได้ยังไงบ้าง? คุณหมอวรมา เกษมพิพัฒน์ชัย สูตินรีแพทย์ ผู้เชี่ยวชาญด้านเวชศาสตร์การเจริญพันธุ์ และเวชศาสตร์ทางเพศ ประจำแอปฯ หมอดี จะมาอธิบายให้ทราบกันในบทความนี้
สาเหตุของโรคหูดหงอนไก่
หูดหงอนไก่ เกิดจากการติดเชื้อไวรัส HPV สายพันธุ์ที่ 6 หรือ 11 ซึ่งเป็นเชื้อ HPV คนละสายพันธุ์กับที่ทำให้เกิดมะเร็งปากมดลูก
หูดหงอนไก่ สามารถพัฒนาไปเป็นมะเร็งปากมดลูกได้ไหม?
แม้ว่าเชื้อไวรัส HPV ที่ทำให้เกิดโรคหูดหงอนไก่ จะเป็นสายพันธุ์ที่ไม่ทำให้เกิดโรคมะเร็งปากมดลูกได้โดยตรง แต่ร่างกายมนุษย์เราสามารถติดเชื้อ HPV ได้หลายสายพันธุ์พร้อมกัน หากคุณมีพฤติกรรมที่เสี่ยงกับการติดเชื้อ HPV แล้ว อาจเสี่ยงการติดเชื้อ HPV ชนิดที่มีความเสี่ยงสูง อย่างสายพันธุ์ที่ 16 หรือสายพันธุ์ที่ 18 ก็มีโอกาสเป็นมะเร็งได้
การติดต่อของโรคหูดหงอนไก่
- ติดต่อผ่านการมีเพศสัมพันธ์ ทั้งทางช่องคลอด ทางปาก และทางทวารหนัก
- การสัมผัสกับอวัยวะที่มีเชื้อ HPV
- ติดต่อผ่านแม่สู่ลูก โดยทารกได้สัมผัสเชื้อจากแม่ผ่านทางช่องคลอด
อาการของโรคหูดหงอนไก่
ผู้ติดเชื้อโรคนี้ อาจไม่แสดงอาการใด ๆ ได้นานเป็นปี หรืออาจมีรอยโรคที่แทบมองไม่เห็น อย่างไรก็ตาม อาการส่วนใหญ่ที่เด่นชัดของโรคหูดหงอนไก่ ได้แก่
- มีติ่งเนื้อขรุขระงอกออกมาคล้ายหงอนไก่ หรือดอกกะหล่ำ สีเนื้อ สีขาว หรือสีชมพูแดง บริเวณอวัยวะเพศ
- ในบางราย อาจไม่ได้มีตุ่มเนื้อขรุขระ แต่มีตุ่มเนื้อผิวเรียบ ตุ่มเดียวขนาดใหญ่ หรือตุ่มเล็ก ๆ กระจุกรวมกันก็ได้
- อาจมีอาการคัน เลือดออกจากก้อนหูด
- ตกขาวผิดปกติ แสบร้อนที่อวัยวะเพศ
บริเวณที่พบบ่อยในผู้หญิง
- มักพบที่อวัยวะเพศหญิง ปากช่องคลอด หัวหน่าว ขาหนีบ
บริเวณที่พบบ่อยในผู้ชาย
- มักพบที่อวัยวะเพศชาย หนังหุ้มปลายองคชาติ หรือปากทวารหนัก ในกรณีที่เป็นคู่รักแบบชายรักชาย
นอกจากนี้ อาจพบรอยโรคหูดหงอนไก่ ได้ที่บริเวณปาก และคอหอย ได้อีกด้วย
การรักษาโรคหูดหงอนไก่
- การทายา เช่น ใช้ยาละลายเซลล์หูดให้เสื่อมสภาพ โดยแพทย์จะนัดทายาทุก 1 สัปดาห์ หรือการใช้ยากระตุ้นภูมิคุ้มกันเฉพาะที่ เป็นต้น
- จี้ชิ้นเนื้อออกด้วยไฟฟ้า หรือไนโตรเจนเหลว
- การรักษาด้วยเลเซอร์
- การผ่าตัดเอาชิ้นเนื้อออก
การป้องกันโรคหูดหงอนไก่
1. ไม่เปลี่ยนคู่นอนบ่อย
2. รักษาความสะอาดของร่างกาย ก่อนและหลังมีเพศสัมพันธ์
3. ตรวจคัดกรองโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์อย่างสม่ำเสมอ ทั้งตัวเองและคู่นอน หากพบว่าเป็นจะได้รีบรักษา ลดการแพร่กระจายเชื้อ
4. ดูแลร่างกายให้แข็งแรงจากภายใน พักผ่อนให้เพียงพอ ไม่เครียด เพื่อเสริมภูมิคุ้มกัน
5. ฉีดวัคซีนป้องกันโรคมะเร็งปากมดลูก (HPV) ชนิด 4 สายพันธุ์ หรือชนิด 9 สายพันธุ์ ซึ่งสามารถป้องกันเชื้อ HPV สายพันธุ์ที่ 6 กับ 11 อันเป็นต้นเหตุหลักของโรค
โรคหูดหงอนไก่ เมื่อเป็นแล้ว ทั้งเจ็บ ทรมาน และสร้างความอับอาย อีกทั้งยังรักษาให้หายขาดได้ยาก สามารถกลับมาเป็นซ้ำได้สูงสุดถึง 70%
ทางที่ดี จึงควรป้องกันไว้ก่อน การฉีดวัคซีน HPV เป็นวิธีป้องกันที่เห็นผลมากที่สุด แต่ถ้ายังไม่สะดวกเดินทางไปฉีดถึงโรงพยาบาล พบทางเลือกใหม่ที่สะดวกกว่า กับบริการฉีดวัคซีนถึงบ้าน* จากแอปฯ หมอดี ครอบคลุมวัคซีน HPV ทุกสายพันธุ์ กำหนดเวลาและสถานที่เองได้ ปลอดภัย ดำเนินการโดยพยาบาลวิชาชีพ ไม่ต้องรอคิวนาน ไม่ต้องเสียเวลาเดินทาง ราคาประหยัด จ่ายครั้งเดียวจบ รวมค่าบริการทุกอย่างแล้ว
หลากช่องทางการจอง บริการฉีดวัคซีน HPV แบบถึงบ้าน กับแอปฯ หมอดี
1. จองผ่านแอปฯ หมอดี โดยคลิกที่แบนเนอร์ "บริการฉีดวัคซีนถึงบ้าน" ในหน้าแรก จากนั้นเลือกจองวัคซีนป้องกันมะเร็งปากมดลูก (HPV) ตามสายพันธุ์และจำนวนเข็มที่ต้องการ
2. จองผ่าน Line OA : @mordeeapp โดยสามารถสอบถามและขอรหัสการจองจากแอดมินได้เลย
3. ซื้อผ่าน MorDee Shop บนแอปฯ LAZADA นำรหัส E-Vocuher ไปทำการจองฉีดวัคซีนถึงบ้านบนแอปฯ หมอดี โดยให้คลิกที่แบนเนอร์ "บริการฉีดวัคซีนถึงบ้าน" ในหน้าแรก กดปุ่มจองเข้ารับบริการ และใส่รหัสการจองจาก LAZADA จากนั้นก็เลือกเวลาและสถานที่ รวมทั้งข้อมูลส่วนตัวอื่น ๆ แล้วกดยืนยัน ทั้งนี้สามารถเยี่ยมชมหน้าร้าน MorDee Shop ได้ที่ https://s.lazada.co.th/s.9h2NU
ดาวน์โหลดแอปฯ หมอดี และลงทะเบียนเข้าใช้งาน คลิก >> https://mordee.app.link/SvBMEe2w9ub
เงื่อนไขการให้บริการเพิ่มเติม :
• บริการฉีดวัคซีนแบบถึงบ้าน ให้บริการเฉพาะพื้นที่ กทม.เท่านั้น
• ต้องทำนัดหมายล่วงหน้าก่อนฉีดวัคซีนไม่น้อยกว่า 3 วัน
#ฉีดวัคซีนที่บ้าน #หูดหงอนไก่ #วัคซีนHPV #วัคซีนมะเร็งปากมดลูก