icon-facebook icon-line icon-blockdit icon-twitter icon-instagram

ดาวน์โหลดเลย

ดาวน์โหลด qr-code
iconดาวน์โหลดแอปฯ MorDee
background
Bubble
Bubble
Bubble
Bubble

ตาแห้งมาก ไม่รีบรักษา อาจเสี่ยงตาบอดได้

ตาแห้งมาก ไม่รีบรักษา อาจเสี่ยงตาบอดได้ icon

อาการตาแห้ง ใคร ๆ ก็เป็นได้ และดูไม่ร้ายแรงเท่าไรนัก แต่ถ้าคุณละเลย ไม่รีบรักษาอย่างเหมาะสม ปล่อยให้ตาแห้งเรื้อรังนาน ๆ  ระวัง! คุณอาจต้องผ่าตัด หรือเสี่ยงตาบอดได้ในอนาคต

 

ในบทความนี้ คุณหมอธนภัทร ตันรัตนวงศ์ จักษุแพทย์ ประจำแอปฯ หมอดี จะชวนทุกคนทำความเข้าใจ เกี่ยวกับสาเหตุที่ทำให้เกิดโรคตาแห้ง อาการ และวิธีดูแลดวงตาเบื้องต้น  เพื่อหลีกเลี่ยงผลกระทบร้ายแรงจากภาวะตาแห้งเรื้อรัง อ่านสาระน่ารู้ดี ๆ จากคุณหมอที่นี่กันได้เลย

 

ตาแห้ง เกิดจากอะไร?

โรคตาแห้ง  เป็นภาวะที่มีปริมาณน้ำตามาหล่อเลี้ยงบริเวณผิวตาไม่เพียงพอ บางคนอาจคิดว่า สาเหตุเกิดจากการมีปริมาณน้ำตาลดลงเพียงอย่างเดียว แต่ในความเป็นจริงแล้ว ภาวะตาแห้งเกิดได้จากหลายสาเหตุ ได้แก่ 

 

  • ภาวะที่ต่อมน้ำตาผลิตน้ำตาลดลง เกิดจากความผิดปกติของต่อมน้ำตา  พบได้ในผู้ป่วยสูงอายุ โดยอายุที่มากขึ้น จะมีเปลี่ยนแปลงของฮอร์โมน ทำให้ร่างกายผลิตสารคัดหลั่งต่าง ๆ ได้ลดลง รวมถึงน้ำตา ทำให้ดวงตาขาดความชุ่มชื้น พบมากในผู้หญิงวัยหมดประจำเดือน หรือ ในโรคทางกาย เช่น Sjogren syndrome
  • การรับประทานยาบางชนิด เช่น ยารักษาสิว ยาคุมกำเนิด ยาแก้แพ้ ยาโรคซึมเศร้า ยาลดความดันโลหิตบางชนิด เป็นต้น
  • พฤติกรรมการใช้ชีวิตประจำวัน เช่น การใช้งานดวงตามากเกินไป อ่านหนังสือ มองหน้าจอคอมพิวเตอร์ หรือ สมาร์ตโฟนเป็นเวลานาน โดยไม่พักสายตา
  • การใส่เลนส์สัมผัส (Contact lens wear) เป็นระยะเวลานาน ส่งผลให้ความรู้สึกของกระจกตาลดลง ตาอักเสบมากขึ้น รวมทั้งจะทำให้น้ำตาระเหยมากขึ้น เหล่านี้ล้วนเป็นปัจจัยให้เกิดตาแห้งมากกว่าปกติ
  • ตาแห้งจากโรคประจำตัว เช่น เบาหวาน โรคภูมิแพ้
  • สภาพแวดล้อมรอบตัวเอื้อให้ตาแห้ง เช่น อยู่ในบริเวณที่อากาศแห้ง หรือ ลมแรง มีฝุ่น มลภาวะ
  • ต่อมไขมัน Meibomian ผิดปกติ (Meibomian gland dysfunction, MGD) เป็นต่อมที่อยู่ที่เปลือกตา ทำให้น้ำตาชั้นไขมันออกมาปริมาณลดลง  หรือ องค์ประกอบของไขมันเปลี่ยนแปลง ทำให้น้ำตาผิดปกติ
  •  ภาวะตาแห้งภายหลังจากการผ่าตัด มักพบในผู้ป่วยที่ได้รับการผ่าตัดดวงตาและเปลือกตา โดยเฉพาะการผ่าตัดบริเวณกระจกตา เช่น การผ่าตัดเลสิกแก้ไขสายตาผิดปกติ (LASIK)

 

อาการของโรคตาแห้ง

  • ระคายเคืองตา แสบตา คันตา
  • ตาแห้ง ฝืด ๆ ตา ลืมตาไม่ขึ้น มักเป็นบ่อยหลังตื่นนอน
  • มองภาพไม่ชัด ตามัวเป็นพัก ๆ 
  • น้ำตาไหล
  • ตาสู้แสงไม่ได้
  • ตาขาวแดง
  • รู้สึกเหมือนมีสิ่งแปลกปลอมในดวงตาตลอดเวลา
  • อาจมีอาการปวดศีรษะ หรือ ปวดตาร่วมด้วย


อันตราย..เมื่อปล่อยให้ตาแห้งเรื้อรัง

หากปล่อยให้ตาแห้งนาน ๆ เคืองตาอย่างต่อเนื่อง อาจทำให้ผิวกระจกตาไม่เรียบ เกิดเป็นแผลบริเวณกระจกตา เสี่ยงต่อการติดเชื้อ กระจกตาทะลุ รุนแรงจนนำไปสู่ตาบอดได้ในที่สุด

 

วิธีดูแลดวงตาเบื้องต้น เมื่อเผชิญโรคตาแห้ง

  • ใช้น้ำตาเทียมอย่างสม่ำเสมอ
  • เลี่ยงการใช้อุปกรณ์สมาร์ตโฟน ติดต่อกันเป็นเวลานาน
  • พักสายตาบ่อย ๆ โดยหลับตาประมาณ 5 นาที ทุก ๆ 30 นาทีถึง 1 ชั่วโมง 
  • เลี่ยงการใส่คอนแทคเลนส์ หรือใส่ไม่เกิน 8 ชม./วัน
  • ประคบเปลือกตาด้วยน้ำอุ่น
  • ดื่มน้ำให้เพียงพอ กินอาหาร วิตามิน ที่มีโอเมกา-3 สูง เพื่อบำรุงดวงตา
  • แนะนำปรึกษาจักษุแพทย์ หากอาการตาแห้งไม่ทุเลา เพื่อขอรับยาช่วยลดการอักเสบของเปลือกตาและดวงตา 

 

วิธีดูแลดวงตาเบื้องต้น เมื่อเผชิญโรคตาแห้ง

 

ถ้ามีอาการตาแห้งและดูแลตัวเองตามคำแนะนำข้างต้นแล้ว ยังรู้สึกไม่สบายตาอยู่  อย่านิ่งนอนใจ สามารถปรึกษาจักษุแพทย์ได้ง่าย ๆ ผ่านแอปฯ หมอดี  นัดได้ตามวันเวลาที่สะดวก รวดเร็ว ไม่ต้องรอคิวนาน พร้อมมีบริการจัดส่งยาถึงบ้าน

 

5 ขั้นตอน ในการใช้แอปฯ หมอดี เพื่อปรึกษาจักษุแพทย์ 
1. ดาวน์โหลดแอปฯ หมอดี คลิก >> https://mordee.app.link/mordee จากนั้นเลือกเมนูโปรไฟล์ เพื่อลงทะเบียนเข้าใช้งาน
2. ไปที่หน้าแรกของแอปฯ กดแถบค้นหา ไปที่หน้าแรกของแอปฯ กดแถบค้นหา เลือกแผนกตา เมื่อต้องการปรึกษาเรื่องโรคตาแห้ง
3. เลือกจักษุแพทย์ ที่ต้องการปรึกษา แล้วทำนัดหมาย โดยเลือกวันและเวลาที่ต้องการ แล้วเลือกรูปแบบการปรึกษาเป็น วิดีโอคอล โทร หรือ แชต จากนั้นทำการชำระเงิน หรือกรอกโค้ดส่วนลด (ถ้ามี) 
4. เข้าห้องสนทนาในแอปฯ เพื่อทำการปรึกษา เมื่อถึงเวลานัดหมาย
5. รอสรุปผลการปรึกษา พร้อมใบสั่งยาจากแพทย์ (หากมี) โดยสามารถสั่งซื้อยา แล้วรอรับยาที่บ้านได้

 

สอบถามเพิ่มเติมหรือปรึกษาหมอผ่านไลน์ ได้ที่ Line ID: @mordeeapp

 

#MorDee #หมอดี #หมอประจำบ้านในมือคุณ 
#หาหมอออนไลน์ #ตาแห้ง

แชร์บทความ:

บทความอื่นๆ ที่คุณอาจสนใจ

ดูทั้งหมด

ยอมรับนโยบายการใช้คุกกี้

การตั้งค่าคุกกี้
นโยบายการใช้คุกกี้นี้ จะอธิบายถึงประเภท เหตุผล และลักษณะการใช้คุกกี้ รวมถึงวิธีการจัดการคุกกี้ ของเว็บไซต์ทั้งหมด โดยท่านสามารถดูรายการคุกกี้และตั้งค่าการยอมรับการใช้งาน ดูรายละเอียดเพิ่มเติม