icon-facebook icon-line icon-blockdit icon-twitter icon-instagram

ดาวน์โหลดเลย

ดาวน์โหลด qr-code
iconดาวน์โหลดแอปฯ MorDee
background
Bubble
Bubble
Bubble
Bubble

ยาฆ่าเชื้อ กับ 5 ความเชื่อและวิธีใช้ผิด ๆ

ยาฆ่าเชื้อ กับ 5 ความเชื่อและวิธีใช้ผิด ๆ icon

คนส่วนใหญ่ยังสับสน และใช้ยาฆ่าเชื้อกันอย่างไม่ถูกต้อง ซึ่งอาจทำให้ไตและตับทำงานหนัก และส่งผลเสียต่อร่างกายในระยะยาวได้

โดยความเข้าใจผิดที่พบบ่อยเกี่ยวกับยาชนิดนี้มีอะไรบ้าง? คุณหมอชนากานต์ วุฒิประยูร แพทย์เวชปฏิบัติทั่วไป จากแอปฯ หมอดี ได้รวบรวมไว้ดังนี้ 

 

1. (X) ไม่จริงที่ - ยาฆ่าเชื้อ กับยาแก้อักเสบ มีสรรพคุณเหมือนกัน 

ยาฆ่าเชื้อ  เป็นยาที่มีฤทธิ์ฆ่าเชื้อโรคต่าง ๆ ได้แก่ เชื้อแบคทีเรีย เชื้อรา และเชื้อไวรัส   ในขณะที่ยาแก้อักเสบ มีฤทธิ์ช่วยลดการอักเสบ ลดไข้ บรรเทาปวด ดังนั้น ยา  2 ชนิดนี้จึงมีสรรพคุณแตกต่างกันอย่างสิ้นเชิง  กินแทนกันไม่ได้  คนทั่วไปมักคิดว่าเป็นตัวเดียวกัน

 

2. (X) ไม่จริงที่ - เป็นไข้หวัด กินยาฆ่าเชื้อช่วยได้

อาการไข้หวัด เจ็บคอ จากเชื้อไวรัส ไม่มียาสำหรับใช้ฆ่าเชื้อโดยตรง ส่วนใหญ่ผู้ป่วยที่มีอาการไข้หวัด 70-80% จากเชื้อไวรัส จึงต้องการเพียงกินยารักษาตามอาการ  ดังนั้นการกินยาฆ่าเชื้อ จึงไม่ช่วยรักษาไข้หวัดเท่าไหร่ ยกเว้น เมื่อมีอาการเจ็บคอจากการติดเชื้อแบคทีเรีย ยาชนิดนี้จึงมีฤทธิ์ช่วยได้

 

ทั้งนี้ จะรู้ว่าเป็นอาการเจ็บคอจากเชื้อไวรัสหรือเชื้อแบคทีเรียหรือไม่? ควรให้แพทย์วินิจฉัย และจัดยาให้อย่างเหมาะสม ไม่ควรตัดสินใจเอง

 

3. (X) ไม่จริงที่ - ยาฆ่าเชื้อ ไม่อันตราย ซื้อกินเองได้

ไม่ควรซื้อยาชนิดนี้มากินเองเด็ดขาด ควรกินตามคำสั่งแพทย์เท่านั้น เพราะหากซื้อกินเองมั่ว ๆ อาจทำให้เกิดอาการแพ้ยา เกิดโรคแทรกซ้อน อาจจะทำให้เกิดการดื้อยาในการรักษาครั้งถัดไป  และเผลอฆ่าเชื้อโรคและแบคทีเรียดี ๆ ในลำไส้ได้

 

4. (X) ไม่จริงที่ - พอหายป่วยแล้ว สามารถหยุดยาฆ่าเชื้อเองได้

ไม่ควรหยุดยาเอง เพราะหากกินยาชนิดนี้ไม่ต่อเนื่อง ผิดขนาด  อาจทำให้โดสไม่เพียงพอที่จะฆ่าเชื้อให้ตายได้  (ยาฆ่าเชื้อแต่ละตัว สำหรับรักษาแต่ละโรคก็ใช้ระยะเวลาไม่เท่ากัน) และอาจทำให้เกิดภาวะดื้อยาในที่สุด 

 

5. (X) ไม่จริงที่ - ยาฆ่าเชื้อ เก็บไว้กินทีหลังได้ ฆ่าเชื้อได้ทั้งร่างกาย

ไม่จริง เพราะเชื้อโรค มีทั้งเชื้อแบคทีเรีย เชื้อรา เชื้อไวรัส การติดเชื้อแต่ละครั้ง จึงเป็นเชื้อคนละตัวกัน อีกทั้งแต่ละจุดที่ป่วย ก็ยังใช้ยาฆ่าเชื้อคนละตัวกันด้วย  อีกทั้ง ยาฆ่าเชื้อที่เก็บไว้อาจจะเหลือไม่ครบโดสที่ควรจะกิน  ดังนั้น ก่อนกินยาฆ่าเชื้อ หรือยาปฏิชีวนะ จึงควรปรึกษาแพทย์ หรือเภสัชกรผู้เชี่ยวชาญก่อนทุกครั้ง เพื่อให้ฆ่าเชื้อได้ตรงจุดที่สุด

 

ข้อแนะนำในการใช้ผ้าอนามัยแบบสอดอย่างปลอดภัย

 

มีข้อสงสัย หรือมีอาการแพ้ยาฆ่าเชื้อ เช่น มีผื่นคัน เป็นแผลคล้ายรอยไหม้ ปรึกษาแพทย์หรือเภสัชกรจากแอปฯ หมอดี ได้ง่าย ๆ ทำนัดได้ทันทีตามสะดวก ไม่ต้องรอคิวนาน ตรวจรักษาได้อย่างรวดเร็ว พร้อมจัดส่งยาถึงบ้าน (ถ้ามี)

 

5 ขั้นตอน ปรึกษาแพทย์หรือเภสัชกร ผ่านแอปฯ หมอดี 
1. ดาวน์โหลดแอปฯ หมอดี คลิก >> https://mordee.app.link/mordee  จากนั้นเลือกเมนูโปรไฟล์ เพื่อลงทะเบียนเข้าใช้งาน
2. ไปที่หน้าแรกของแอปฯ กดแถบค้นหา เลือกแผนกอายุรกรรม หรือแผนกเภสัชกรรม เมื่อต้องการปรึกษาเรื่องการใช้ยาฆ่าเชื้อ
3. เลือกแพทย์ที่ต้องการปรึกษา แล้วทำนัดหมาย โดยเลือกวันและเวลาที่ต้องการ แล้วเลือกรูปแบบการปรึกษาเป็น วิดีโอคอล โทร หรือ แชต จากนั้นทำการชำระเงิน หรือกรอกโค้ดส่วนลด (ถ้ามี) 
4. เข้าห้องสนทนาในแอปฯ เพื่อทำการปรึกษา เมื่อถึงเวลานัดหมาย
5. รอสรุปผลการปรึกษา พร้อมใบสั่งยาจากแพทย์ (หากมี) โดยสามารถสั่งซื้อยา แล้วรอรับยาที่บ้านได้

 

สอบถามเพิ่มเติมหรือปรึกษาหมอผ่านไลน์ ได้ที่ Line ID: @mordeeapp

 

#MorDee #หมอดี #หมอประจำบ้านในมือคุณ 
#หาหมอออนไลน์

แชร์บทความ:

บทความอื่นๆ ที่คุณอาจสนใจ

ดูทั้งหมด

ยอมรับนโยบายการใช้คุกกี้

การตั้งค่าคุกกี้
นโยบายการใช้คุกกี้นี้ จะอธิบายถึงประเภท เหตุผล และลักษณะการใช้คุกกี้ รวมถึงวิธีการจัดการคุกกี้ ของเว็บไซต์ทั้งหมด โดยท่านสามารถดูรายการคุกกี้และตั้งค่าการยอมรับการใช้งาน ดูรายละเอียดเพิ่มเติม