icon-facebook icon-line icon-blockdit icon-twitter icon-instagram

ดาวน์โหลดเลย

ดาวน์โหลด qr-code
iconดาวน์โหลดแอปฯ MorDee
background
Bubble
Bubble
Bubble
Bubble

ลุยน้ำขัง ระวัง! โรคฉี่หนู เสี่ยงดีซ่าน ไตวายเฉียบพลัน

ลุยน้ำขัง ระวัง! โรคฉี่หนู เสี่ยงดีซ่าน ไตวายเฉียบพลัน icon

ใครบอกว่าโรคฉี่หนูพบได้เฉพาะพื้นที่การเกษตรเท่านั้น  จริง ๆ แล้ว ในแถบเมืองก็พบได้ โดยเกิดจากการลุยน้ำท่วมขัง เช่นตามถนนที่กำลังซ่อมแซม หากเราไปโดนน้ำสกปรก ย่ำโคลนที่ปนเปื้อน เชื้อเลปโตสไปโรซิส ซึ่งเป็นเชื้อที่มาจากฉี่ของ‘หนู’ พาหะนำโรคของโรคนี้ ก็จะทำให้เป็นโรคฉี่หนูได้

 

วันนี้ชวนคุณมารู้จักโรคฉี่หนูกันให้มากขึ้น ว่ามีที่มาอย่างไร? อาการและภาวะแทรกซ้อนอันตรายอย่างไรบ้าง? พบคำตอบได้จากคุณหมอทิพย์วิภา ประจงกิจ แพทย์เวชปฏิบัติทั่วไป จากแอปฯ หมอดี ในบทความนี้

 

ทำความรู้จักโรคฉี่หนู

โรคฉี่หนู หรือไข้ฉี่หนู (Leptospirosis - เลปโตสไปโรซิส) เกิดจากการติดเชื้อแบคทีเรียชนิดหนึ่ง ซึ่งอยู่ในปัสสาวะของหนู สุนัข วัว และควาย โดยปัสสาวะจากสัตว์พาหะเหล่านี้ มักจะปนเปื้อนอยู่ในดิน หรือแหล่งน้ำขังต่าง ๆ 

 

ระวัง คุณอาจติดเชื้อเลปโตสไปโรซิส ได้จาก 2 ทางหลัก ๆ คือ 

1. ติดเชื้อผ่านบาดแผล ที่แช่อยู่ในน้ำ หรือสัมผัสดิน ซึ่งมีเชื้อปนเปื้อน
2. ติดผ่านเยื่อบุตา จมูก ปาก เช่น มือไปสัมผัสแหล่งน้ำที่มีเชื้อ แล้วเผลอเอามือนั้นมาขยี้ตา แบบนี้ก็ติดโรคฉี่หนูได้เช่นกัน

 

อาการหลักของโรคฉี่หนู

แต่ละคน จะมีระยะฟักตัวของโรคไม่เท่ากัน บางคนอาจแสดงอาการเร็วภายใน 2 วัน ในขณะที่บางคนอาจใช้เวลาถึง 2 สัปดาห์ จึงแสดงอาการ  โดยอาการหลัก ๆ ของโรคฉี่หนู  มีดังนี้
 

  • ปวดศีรษะและปวดเมื่อยกล้ามเนื้อมากที่บริเวณขากับน่อง
  • มีไข้สูง หนาวสั่น 
  • คลื่นไส้ อาเจียน
  • บางรายอาจมีอาการตาแดง หรือเลือดออกใต้ตาขาว   


ในผู้ติดเชื้อที่มีอาการรุนแรง อาจมีอาการตาเหลือง ตัวเหลือง ร่วมด้วย ซึ่งบ่งชี้ถึงภาวะดีซ่าน ควรรีบพบแพทย์ เพื่อรับการรักษาโดยเร็ว 

อาการต่าง ๆ ของโรคฉี่หนู


ภาวะแทรกซ้อนจากโรคฉี่หนู ที่อาจอันตรายถึงชีวิต

ผู้ป่วยโรคนี้ ปกติจะมีแสดงอาการเพียงเล็กน้อย แต่หากมีอาการรุนแรง อาจทำให้เกิดภาวะแทรกซ้อนอันตรายได้ เช่น
 

  • ภาวะดีซ่าน ตับวาย
  • ไตวายเฉียบพลัน
  • เยื่อหุ้มสมองอักเสบ
  • ปอดอักเสบ เลือดออกในปอด
  • อวัยวะภายในอื่น ๆ ทำงานล้มเหลว จากภาวะเลือดออก

 

ป้องกันโรคฉี่หนู

  • ควรหลีกเลี่ยงพื้นที่ที่มีน้ำขัง ถ้าจำเป็นต้องเข้าไปย่ำในบริเวณนั้น ควรใส่รองเท้าบูท 
  • หมั่นล้างมือบ่อย ๆ ห้ามใช้มือจับต้องบริเวณดวงตา หรือขยี้ตา หากมือสกปรก
  • หากมีบางแผลตามตัว พยายามอย่าให้แผลสัมผัสโดนน้ำ หรือดินที่ไม่สะอาด

 

หากมีไข้สูง ปวดน่อง ตาแดง ตัวเหลือง คล้ายอาการของโรคฉี่หนู อย่านิ่งนอนใจ ควรรีบปรึกษาแพทย์

 

สามารถพบแพทย์ออนไลน์ได้ง่าย ๆ ผ่านแอปฯ หมอดี นัดได้ตามวันเวลาที่สะดวก ไม่ต้องรอคิวนาน พร้อมมีบริการจัดส่งยาถึงบ้าน

 

5 ขั้นตอนง่าย ๆ ในการปรึกษาแพทย์ ผ่านแอปฯ หมอดี 
1. ดาวน์โหลดแอปฯ คลิก >> https://mordee.app.link/mordee  จากนั้นเลือกเมนูโปรไฟล์ เพื่อลงทะเบียนเข้าใช้งาน
2. ไปที่หน้าแรกของแอปฯ กดแถบค้นหา เลือกแผนกโรคทั่วไปหากต้องการปรึกษาเกี่ยวกับโรคฉี่หนู
3. เลือกแพทย์ที่ต้องการปรึกษา และทำนัดหมาย โดยเลือกวันและเวลาที่ต้องการ แล้วเลือกรูปแบบการปรึกษาเป็น วิดีโอคอล โทร หรือ แชต จากนั้นทำการชำระเงิน หรือกรอกโค้ดส่วนลด (ถ้ามี) 
4. เข้าห้องสนทนาในแอปฯ เพื่อทำการปรึกษาแพทย์ เมื่อถึงเวลานัดหมาย
5. รอสรุปผลการปรึกษาจากแพทย์ พร้อมใบสั่งยา(หากมี) โดยสามารถสั่งซื้อยา แล้วรอรับยาที่บ้านได้

 

สอบถามเพิ่มเติมหรือปรึกษาหมอผ่านไลน์ ได้ที่ Line ID: @mordeeapp

 

#MorDee #หมอดี #หมอประจำบ้านในมือคุณ 
#หาหมอออนไลน์ #โรคฉี่หนู 

แชร์บทความ:

บทความอื่นๆ ที่คุณอาจสนใจ

ดูทั้งหมด

ยอมรับนโยบายการใช้คุกกี้

การตั้งค่าคุกกี้
นโยบายการใช้คุกกี้นี้ จะอธิบายถึงประเภท เหตุผล และลักษณะการใช้คุกกี้ รวมถึงวิธีการจัดการคุกกี้ ของเว็บไซต์ทั้งหมด โดยท่านสามารถดูรายการคุกกี้และตั้งค่าการยอมรับการใช้งาน ดูรายละเอียดเพิ่มเติม