ผื่นคัน ผื่นแพ้ เป็นลักษณะอาการทางผิวหนัง ที่เกิดจากสภาวะของร่างกายปรับตัวเข้ากับสิ่งแวดล้อมไม่ได้ ไม่ว่าจะเป็นอากาศที่เปลี่ยนไป หรือสิ่งแวดล้อมที่ปรากฏในรูปแบบของสารเคมีในชีวิตประจำวัน เช่น สารซักล้างเสื้อผ้า ล้วนเป็นสาเหตุของความระคายเคืองผิวและทำให้เกิดผื่นคันได้
นอกจาก ผื่นคัน ผื่นแพ้ จะเป็นสิ่งที่กวนกายให้รู้สึกยุบยิบ และกวนใจ ชวนให้เกา อีกนัยหนึ่ง ผื่นก็เป็นสัญญาณของร่างกายที่กำลังบอกอาการป่วยภายในอะไรบางอย่างด้วยเช่นกัน ดังนั้น เรื่องเล็ก ๆ น้อย ๆ อย่างผื่นคัน ผื่นแพ้ จึงเป็นเรื่องที่ไม่ควรมองข้าม
พญ.กวินา อิงคไพโรจน์ แพทย์ผู้เชี่ยวชาญในแผนกโรคผิวหนัง บนแอปฯ หมอดี อธิบายว่าผื่นคัน ผื่นแพ้ แบบต่าง ๆ สามารถแบ่งย่อยได้ตามลักษณะและอาการ ซึ่งมีผื่นคัน ผื่นแพ้ 6 แบบ ที่ไม่ควรมองข้าม ต้องได้รับการดูแลและรักษาตามคำแนะนำของแพทย์ ดังนี้
ผื่นแบบที่ 1 >> ผื่นคันแดงตามตัว Exanthematous (Morbilliform)
เป็นลักษณะของผื่นคันที่พบได้ทั่วทั้งตัว และพบได้บ่อย โดยผิวหนังบริเวณที่มีอาการจะเป็นผื่นแดง ๆ หรือตุ่มใส และมีอาการคันบางครั้งอาจมีการตกสะเก็ดตามมา สาเหตุของผื่นคันแบบนี้มาจากหลายรูปแบบ เช่น เกิดจากโรคผิวหนัง การติดเชื้อบางอย่าง แมลงสัตว์กัดต่อย แพ้ฝุ่น แพ้ยา ตลอดจนการสัมผัสกับสารก่อภูมิแพ้หรือสารระคายเคือง เช่น น้ำยาทำความสะอาด เครื่องสำอาง ก็เป็นอีกสาเหตุของผื่นดังกล่าว
นอกจากนี้การพักผ่อนไม่เพียงพอ ภาวะเครียด อาจเป็นสาเหตุทำให้ผื่นคันดังกล่าวเป็นมากขึ้นได้ สามารถเลี่ยงปัจจัยเสี่ยงอย่างการสวมถุงมือป้องกันการสัมผัสสารระคายเคืองโดยตรง เลี่ยงยาที่แพ้ สามารถซื้อยาทาบรรเทาอาการได้ เช่น ยาแก้แพ้ชนิดเม็ดแบบรับประทาน ยาแก้แพ้ชนิดทา ทั้งนี้หากอาการไม่ดีขึ้น ควรปรึกษาแพทย์เพื่อหาสาเหตุที่เกิดผื่นคันนี้
ผื่นแบบที่ 2 >> ผิวหนังอักเสบชนิดตุ่มน้ำ (Dyshidrotic Eczema)
เป็นผื่นผิวหนังอักเสบชนิดหนึ่งที่มักจะเป็นเรื้อรัง เป็น ๆ หาย ๆ โดยผื่นจะมีลักษณะเป็นตุ่มใส ๆ แข็งๆ เกิดที่ฝ่ามือฝ่าเท้า หรือด้านข้าง ๆ นิ้วมือหรือ นิ้วเท้า ผื่นชนิดนี้อาจจะมีความเกี่ยวข้องกับโรคภูมิแพ้ ภาวะการระคายเคือง หรือ การแพ้สารสัมผัสก็ได้ ส่วนใหญ่มีอาการคันร่วมด้วย และน้ำใส ๆ ในตุ่มหรือผื่น อาจจะกลายเป็นหนองจากการติดเชื้อแบคทีเรียซ้ำซ้อนได้ แล้วลอกเป็นแผ่นในที่สุด
นอกจากนี้ การใช้แอลกอฮอล์เจล หรือล้างมือบ่อยเกินไป จะทำให้เกิดผื่นคันลักษณะนี้ได้ และอาจพบว่าเกิดจากการแพ้สารสัมผัสบางชนิด เช่น น้ำหอม สารบางตัวในผลิตภัณฑ์บำรุงผิว ตลอดจนการติดเชื้อราหรือเชื้อแบคทีเรียซ้ำซ้อน ก็ทำให้เกิดผื่นคันชนิดนี้ได้ด้วยเช่นกัน
ผื่นแบบที่ 3 >> ผื่นลมพิษ หรือบางครั้งเรียกโรคลมพิษ (Urticaria)
มักมีอาการคันร่วมด้วย ลักษณะเป็นผื่นหรือปื้นนูนแดง ไม่มีขุย มีทั้งผื่นคันขนาดเล็กและแบบที่ใหญ่ราว 10 ซม. มักลุกลามเร็ว โดยจะกระจายตามตัว แขนขา แต่จะปรากฏอยู่เพียงชั่วขณะ โดยมากมักไม่เกิน 24 ชั่วโมง ผื่นลมพิษเหล่านั้นก็จะราบไปโดยไม่มีร่องรอย สามารถเกิดขึ้นซ้ำได้บ่อย ๆ
ในคนที่เป็นโรคประจำตัว เมื่อพบว่ามีผื่นคันแบบผื่นลมพิษ ควรสังเกตอาการว่ามีอาการต่อไปนี้ด้วยหรือไม่ เช่น ปวดท้อง แน่นจมูกลำคอ หายใจไม่สะดวก หอบเหนื่อย ซึ่งหากพบอาการดังกล่าว ควรพบแพทย์ทันที
ผื่นแบบที่ 4 >> ผื่นแดงที่มีลักษณะเป็นเส้นใยเล็กๆ (Livedo Reticularis)
ผื่นชนิดนี้พบได้ไม่บ่อย สาเหตุเกิดจากโรคหลอดเลือดอักเสบ ทำให้ระบบไหลเวียนของเส้นเลือดผิดปกติ อาจมีลักษณะเป็นผื่นนูนเป็นจ้ำเลือด ที่เรียกว่า Purpura หรือผื่นลายร่างแหที่เรียกว่า Livedo Reticularis ตลอดจนมีตุ่มกดเจ็บใต้ผิวหนัง ผื่นแบบนี้อาจเกิดเป็นแผลเรื้อรัง และอาจจะมีการตายของเนื้อเยื่อได้ หากเกิดการขาดเลือดไปเลี้ยงอวัยวะส่วนปลาย เช่น ปลายนิ้วมือนิ้วเท้า ใบหูหรือปลายจมูก เป็นต้น หากเป็นผื่นชนิดนี้ ต้องรักษาโดยอยู่ภายใต้การดูแลของแพทย์ผู้เชี่ยวชาญเฉพาะทางเท่านั้น
ผื่นแบบที่ 5 >> ผื่นมีจุดเลือดออกใต้ผิวหนัง (Vasculitis)
ส่วนใหญ่พบบริเวณที่ขา และอาจกระจายทั่วทั้งขา เป็นอาการที่เกิดจากเส้นเลือดฝอยอักเสบ ลักษณะอาการมีหลายรูปแบบ เช่น เกิดตุ่มแดงนูน กดแล้วสีแดงไม่จาง ตุ่มพองมีเลือดออกข้างในแตกเป็นแผล เป็นผื่น สีม่วงแดง ผื่นเป็นร่างแหหรือคล้ายว่ามีตาข่ายเส้นเลือดอยู่ใต้ผิว
ต้นตอของผื่นแบบจุดเลือดที่เป็นร่างแหนี้มาจากหลายสาเหตุด้วยกัน บางกรณีอาจเกิดโดยไม่ทราบสาเหตุอย่างแน่ชัด หรือเกิดจากการที่ผู้ป่วยเป็นโรคออโตอิมมูน เช่น โรคเอสแอลอี โรคติดเชื้อ เช่น วัณโรค เชื้อแบคทีเรียบางประเภท เชื้อไวรัสตับอักเสบ ซึ่งการรักษาผื่นชนิดนี้ควรอยู่ภายใต้การดูแลของแพทย์เท่านั้น ผื่นลักษณะนี้ เป็นการเกิดผื่นในระดับรุนแรง ไม่ควรประมาท ควรพบแพทย์ทันทีที่สังเกตเห็นผื่นชนิดนี้ปรากฏขึ้นตามร่างกาย
ผื่นแบบที่ 6 >> ผื่นมีตุ่มใส พอง เหมือนมีน้ำอยู่ข้างใน (Vesiculobullous Eruption)
มีลักษณะเป็นตุ่มที่มีน้ำใส ๆ อยู่ข้างใน สังเกตเห็นได้ชัด ไม่ใช่แค่ผื่นเล็กๆ แต่พบกระจายอยู่ตามตัวโดยทั่วไป อาจมีสาเหตุ ดังนี้
1) ภูมิคุ้มกันในร่างกายต่อต้านตนเอง ทำให้ผิวหนังเกิดการแยกชั้น และมีตุ่มน้ำพองที่ผิวหนัง และที่บริเวณเยื่อบุต่าง ๆ
2) เกิดจากพันธุกรรม
3) เกิดจากการติดเชื้อบางชนิด เช่น โรคเริมและโรคอีสุกอีใส
4) การสัมผัสกับสารที่ก่อการระคายเคือง ไม่ว่าจะเป็นสารเคมี หรือเกิดจากการได้รับการเสียดสีจนมีอาการคัน ก็จัดอยู่ในกลุ่มนี้เช่นกัน บางกรณีก็พบว่าเกิดจากผื่นแดงที่ได้สัมผัสกับสิ่งกระตุ้นทางกายภาพ ในระดับที่รุนแรงขึ้น จึงทำให้เกิดตุ่มพองใส หรือตุ่มน้ำที่สามารถสังเกตเห็นได้ชัดเจน
5) ภาวะผิดปกติอื่น ๆ ที่ส่งผลให้เกิดตุ่มน้ำพองที่ผิวหนัง เช่น โรคเบาหวาน โรคอะไมลอยด์โดสิส (Amyloidosis) และโรคพอร์ไฟเรีย (Porphyria)
หากใครที่มีผื่นคันน่าสงสัยขึ้นตามร่างกาย หรือเกิดผื่นคันบ่อยจนผิดปกติ ควรไปพบแพทย์ผู้เชี่ยวชาญด้านผิวหนัง เพื่อที่จะได้วินิจฉัยและทำการรักษาได้ทันท่วงที
สำหรับใครที่มีผื่นคัน ผื่นแพ้ แต่ยังลังเล ไม่อยากไปหาหมอที่โรงพยาบาล สามารถเข้ารับการตรวจเบื้องต้นกับ #แพทย์เฉพาะทางด้านผิวหนัง ได้ง่ายๆ ผ่านแอปฯ หมดดี ไม่ต้องไป รพ. แล้วรอรับยาได้ที่บ้าน ด้วย 5 ขั้นตอน ดังนี้
1. ดาวน์โหลดแอปฯ คลิก>> https://mordee.app.link/mordee จากนั้นเลือกเมนูโปรไฟล์ เพื่อลงทะเบียนเข้าใช้งาน
2. ไปที่หน้าแรกของแอปฯ กดแถบค้นหา เลือกปรึกษาแพทย์ในแผนกโรคผิวหนัง
3. ทำนัดหมายแพทย์ โดยเลือกวันและเวลาที่ต้องการ แล้วเลือกรูปแบบการปรึกษาเป็น วิดีโอคอล โทร หรือ แชต จากนั้นทำการชำระเงิน หรือกรอกโค้ดส่วนลด (ถ้ามี)
4. เข้าห้องสนทนาในแอปฯ เพื่อทำการปรึกษาแพทย์ เมื่อถึงเวลานัดหมาย
5. รอสรุปผลการปรึกษาจากแพทย์ พร้อมใบสั่งยา(หากมี) โดยสามารถสั่งซื้อยา แล้วรอรับยาที่บ้านได้
สอบถามเพิ่มเติมได้ที่ Line ID: @mordeeapp
#MorDee #หมอดี #หมอประจำบ้านในมือคุณ #TrueHEALTH
#พบหมอ #หาหมอออนไลน์ #ตุ่ม #ผื่น #ผื่นแพ้ #ผื่นคัน