icon-facebook icon-line icon-blockdit icon-twitter icon-instagram

ดาวน์โหลดเลย

ดาวน์โหลด qr-code
iconดาวน์โหลดแอปฯ MorDee
background
Bubble
Bubble
Bubble
Bubble

ผลข้างเคียงและข้อควรระวัง ก่อนใช้ “ยาคลายเครียด”

ผลข้างเคียงและข้อควรระวัง ก่อนใช้ “ยาคลายเครียด” icon

ยาคลายเครียด หรือ ยากล่อมประสาท ช่วยทำให้การทำงานของสมองในส่วนที่ควบคุมความเครียดทำงานได้ดีขึ้น ช่วยให้นอนหลับง่ายขึ้น และลดความวิตกกังวลได้ แต่การใช้ยาคลายเครียดในปริมาณมากเกินไปหรือใช้ติดต่อกันเป็นระยะเวลานาน อาจทำให้เกิดอันตรายต่อร่างกายได้

 

ยาคลายเครียดมี 2 ประเภท คือ

1) ยาคลายเครียดที่ออกฤทธิ์แรง (Major Tranquilizers) 
มีผลตั้งแต่ทำให้ร่างกายและสมองมีอาการซึมลงจนถึงหลับสนิท เช่น ยา Phenothiazines มักใช้สำหรับผู้ที่มีอาการทางจิตเวชชนิดที่มีอาการประสาทหลอน การใช้ยาประเภทนี้ต้องอยู่ในความควบคุมของแพทย์เท่านั้น เนื่องจากยาออกฤทธิ์แรง

2) ยาคลายเครียดที่ออกฤทธิ์อ่อน (Minor Tranquilizers) หรือเรียกอีกอย่างว่า “ยาคลายวิตกกังวล (Anti-anxiety) 
ยาประเภทนี้จะออกฤทธิ์ช่วยระงับความวิตกกังวล และคลายความเครียดของสมองและอารมณ์ ทำให้นอนหลับง่าย หากใช้ยาประเภทคลายเครียดที่ออกฤทธิ์อ่อนนี้ติดต่อกันเป็นเวลานาน จะทำให้ร่างกายเกิดการดื้อยาได้ และเกิดการเสพติดได้ด้วย

 

ยาคลายเครียด มี 2 ประเภท

 

 

ผลข้างเคียงจากการใช้ยาคลายเครียด

ยาคลายเครียดอาจทำให้เกิดผลข้างเคียงทั่วไป เช่น ง่วงซึม ซึ่งมักไม่เป็นอันตราย แต่หากผลข้างเคียงส่งผลต่อชีวิตประจำวัน การทำงาน หรืออาการรุนแรงขึ้น ดังนี้ ควรรีบปรึกษาแพทย์เพื่อรับมือและรักษาทันที

เกิดการดื้อยา
หากใช้ยาติดต่อกันจะมีโอกาสเสี่ยงดื้อยา ทำให้ต้องใช้ยาในปริมาณมากขึ้น ใช้ยาเท่าเดิมแล้วไม่ได้ผลดีเท่าเก่า

เกิดการติดยา
เมื่อใช้ยาเป็นระยะเวลานาน และใช้อย่างต่อเนื่อง จะทำให้เกิดการ ติดยาได้

ความต้องการทางเพศลดลง
หากใช้ยาติดต่อกันนาน ๆ มีโอกาสที่อารมณ์เพศจะลดลง หรือทำให้สมรรถภาพทางเพศเสื่อมได้

อาจทำให้น้ำหนักตัวเพิ่มขึ้นได้
ผู้ใช้ยาคลายเครียดบางราย อาจทำให้อ้วนขึ้นหรือน้ำหนักตัวเพิ่มขึ้นได้ เนื่องจากยาคลายเครียดจะออกฤทธิ์ ทำให้มีอาการอยากอาหารมากขึ้น

อาจส่งผลต่อการขับขี่และก่อให้เกิดอุบัติเหตุได้
ตัวยาจะออกฤทธิ์กดสมอง ทำให้ร่างกายและจิตใจไม่อยู่ในสภาพที่ตื่นตัว จึงมีโอกาสเสี่ยงต่อการเกิดอุบัติเหตุในการทำงานเกี่ยวกับเครื่องจักร หรือเกิดอุบัติเหตุในการขับรถได้

 

ผลข้างเคียง จากการใช้ยาคลายเครียด

 

ข้อควรระวังในการใช้ยาคลายเครียด

1. ยาคลายเครียดจำเป็นต้องสั่งจ่ายโดยแพทย์เท่านั้น ไม่ควรหาซื้อยามากินเอง
2. หากมีโรคประจำตัวควรแจ้งแพทย์ทันที รวมถึงยาและอาหารเสริมที่ใช้ในปัจจุบัน
3. ผู้ที่กำลังตั้งครรภ์หรือกำลังให้นมบุตร ควรปรึกษาแพทย์อย่างเคร่งครัดก่อนใช้ยา
4. ห้ามหยุดยาเอง เพราะร่างกายอาจปรับตัวไม่ทัน และอาจกระตุ้นอาการให้รุนแรงขึ้น
5. ห้ามใช้ยาคลายเครียดมากกว่า 1 ชนิดพร้อมกัน เพราะอาจเสี่ยงต่อผลข้างเคียงอันตราย หากรู้สึกว่ายาไม่ได้ผล ควรปรึกษาแพทย์
6. หลีกเลี่ยงการใช้ยาร่วมกับเครื่องดื่มที่มีส่วนผสมของคาเฟอีน เครื่องดื่มแอลกอฮอล์ หรือสารอื่น ๆ ที่ออกฤทธิ์ต่อสมองและระบบประสาท

 

ข้อควรระวัง ในการใช้ยาคลายเครียด


หากใช้ยาคลายเครียดแล้วพบผลข้างเคียงรุนแรง เช่น หายใจลำบาก เจ็บหน้าอก แน่นหน้าอก ไม่มีสติ อารมณ์แปรปรวน กระวนกระวาย ตัวเหลือง เห็นภาพหลอน หูแว่ว ปัสสาวะสีเข้มขึ้น หรือมีความคิดที่จะฆ่าตัวตาย ควรพบแพทย์ทันที

 

สาระสุขภาพโดย พญ.อภิสรา สุวรรณประทีป จิตแพทย์ บนแอปฯ หมอดี
 

เครียด วิตกกังวล มีข้อสงสัยเกี่ยวกับการใช้ยาคลายเครียด 
ปรึกษาจิตแพทย์ได้แบบเป็นส่วนตัว โดยไม่ต้องไปโรงพยาบาล
เพียงออนไลน์ผ่านแอปฯ หมอดี พร้อมมีบริการจัดส่งยาถึงบ้าน

 

ใช้บริการได้ด้วย 5 ขั้นตอนง่ายๆ ดังนี้
1. ดาวน์โหลดแอปฯ คลิก>> https://mordee.app.link/mordee จากนั้นเลือกเมนูโปรไฟล์ เพื่อลงทะเบียนเข้าใช้งาน
2. ไปที่หน้าแรกของแอปฯ กดแถบค้นหา แล้วเลือกแผนกจิตเวช
3. เลือกจิตแพทย์ที่ต้องการปรึกษา แล้วทำนัดหมาย โดยเลือกวันและเวลาที่ต้องการ แล้วเลือกรูปแบบการปรึกษาเป็น วิดีโอคอล โทร หรือ แชต จากนั้นทำการชำระเงิน หรือกรอกโค้ดส่วนลด (ถ้ามี)
4. เข้าห้องสนทนาในแอปฯ เพื่อทำการปรึกษาแพทย์ เมื่อถึงเวลานัดหมาย
5. รอสรุปผลการปรึกษาจากแพทย์ พร้อมใบสั่งยา(หากมี) โดยสามารถสั่งซื้อยา แล้วรอรับยาที่บ้านได้

 

สอบถามเพิ่มเติมได้ที่ Line ID: @mordeeapp

#MorDee #หมอดี #หมอประจำบ้านในมือคุณ #TrueHEALTH

#การนอนหลับ #ความเครียด #วิตกกังวล

แชร์บทความ:

บทความอื่นๆ ที่คุณอาจสนใจ

ดูทั้งหมด

ยอมรับนโยบายการใช้คุกกี้

การตั้งค่าคุกกี้
นโยบายการใช้คุกกี้นี้ จะอธิบายถึงประเภท เหตุผล และลักษณะการใช้คุกกี้ รวมถึงวิธีการจัดการคุกกี้ ของเว็บไซต์ทั้งหมด โดยท่านสามารถดูรายการคุกกี้และตั้งค่าการยอมรับการใช้งาน ดูรายละเอียดเพิ่มเติม