เทรนด์การทำ Employee Engagement ในตอนนี้คือการใส่ใจสุขภาพจิตใจของพนักงานเป็นหลัก หรือเน้นที่ Emotional Engagement โดยคำนึงถึงปัญหาเรื่องการบริหารจัดการงาน ซึ่งตัวแปรสำคัญที่จะช่วยสร้าง Emotional Engagement ได้ดี ก็คือการพัฒนาให้พนักงานมีความฉลาดทางอารมณ์ (EQ) เพราะปัญหาส่วนใหญ่จากการทำงาน ก็มักหนีไม่พ้นปัญหาเรื่องคน
“การดูแลใจพนักงาน สำคัญกว่าที่คุณคิด”
Emotional Engagement ให้ประโยชน์กับ พนักงาน และ บริษัท ได้มากกว่า…
เมื่อมีการสร้าง EQ ที่ดีให้กับพนักงาน เริ่มจากรายคน สู่ความผูกพันกับเพื่อนร่วมงานในแผนก จนกระทั่งทั้งแผนกรู้สึกรักในองค์กร ก็จะสามารถทำให้มีโอกาสที่พนักงานส่วนใหญ่ จะเกิดความรักและผูกพันต่อบริษัทหรือองค์กรได้
โดย Emotional Engagement จะเป็นสภาวะที่พนักงานรู้สึกมีพลังและแรงจูงใจที่จะมุ่งมั่นทุ่มเททำงานด้วยความกระตือรือร้น หากพูดง่าย ๆ ก็คือ เป็นการที่พนักงานรู้สึกรักในองค์กรและงานที่ทำ จนอยากทุ่มเททำงานเพื่อองค์กรอย่างเต็มที่ เป็นสาเหตุให้ช่วยเพิ่ม Productivity และ Performance กับงานได้ ส่งผลให้ผลผลิตของพนักงานมีเพิ่มมากขึ้น และทำให้องค์กรสร้างผลงานได้ดีและมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้นนั่นเอง ยิ่งไปกว่านั้น เมื่อผลงานออกมามีประสิทธิภาพดี ความพึงพอใจของลูกค้าก็จะยิ่งเพิ่มขึ้นตามมาด้วย
ทั้งนี้ การที่พนักงานมี Emotional Engagement กับบริษัทเป็นอย่างดี จะเป็นสภาวะคู่ตรงข้ามของสภาวะหมดไฟในการทำงาน หรือ Burnout Syndrome ซึ่งแน่นอนว่าเมื่อพนักงานไม่เข้าสู่ภาวะหมดไฟในการทำงาน ก็ย่อมลดโอกาสเกิดปัญหาที่มักเกิดขึ้นเมื่อพนักงานต้องพบเจอกับสภาวะนี้ทางจิตใจได้ เช่น เครียดจนไม่มีความคิดสร้างสรรค์ เหนื่อยล้าจนอยากลางาน อยากลาออก หากพนักงานมี Emotional Engagement ที่ดีกับบริษัท ก็จะมีความสุขสบายใจในการทำงาน อยากมาทำงาน อยากเป็นพนักงานของที่นี่ไปนาน ๆ ทั้งยังมีคุณภาพชีวิตที่ดี มี Well-Being เพราะมีสุขภาพจิตที่ดีด้วยนั่นเอง
องค์กรจะเริ่มต้นสร้าง Emotional Engagement ได้อย่างไร?
ผลสำรวจจาก White Paper: The Chief People Officer of the Future ที่ศึกษาวิสัยทัศน์ของผู้บริหารระดับสูงจากองค์กรชั้นนำในต่างประเทศ เผยให้เห็นแนวโน้มว่าการสร้าง Emotional Engagement โดยการดูแลพนักงานให้มีความสุขในการทำงานนั้นส่งผลโดยตรงต่อภาพรวมขององค์กรเป็นอย่างมาก ดังนั้น องค์กรและ HR จึงจำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องปรับโฟกัสมาให้ความสำคัญกับทักษะการบริหารจัดการทางอารมณ์ของพนักงานมากขึ้น เพราะนอกจากจะช่วยสร้าง Emotional Engagement แล้ว ยังเป็นกุญแจสำคัญที่ส่งเสริมความมั่งคั่งให้กับองค์กรและพนักงานในยุคนี้อีกด้วย
การดูแลสุขภาพใจของพนักงานทำได้โดยการขับเคลื่อนของ HR และความร่วมมือระหว่างเพื่อนพนักงานด้วยกันเอง ตัวอย่างไอเดียที่องค์กรสามารถนำมาปรับใช้เพื่อสร้าง Emotional Engagement ให้กับพนักงาน ได้แก่
1. การสร้างสภาพแวดล้อมในการทำงานที่ดี จัดสรรมุมผ่อนคลาย มีพื้นที่สำหรับกิจกรรมนันทนาการ เช่น คอร์ดปิงปอง ห้องสมุด เป็นต้น
2. สร้างบรรยากาศที่ดีให้พนักงานกล้าที่จะเปิดใจพูดคุยกับหัวหน้าของตัวเอง โดยมอบหมายให้การดูแลความรู้สึกของพนักงานเป็นหนึ่งในหน้าที่รับผิดชอบของหัวหน้าและผู้จัดการ
3. จัดกิจกรรมที่ให้พนักงานได้มีความสนุกสนาน มีปฏิสัมพันธ์ที่ดีต่อกัน เช่น ปาร์ตี้ประจำเดือน
4. ประเมินและสอบถามความรู้สึกพนักงานเป็นประจำ รวมทั้งฝึกอบรมทักษะในการบริหารจัดการอารมณ์ให้กับพนักงาน
5. กำหนดสวัสดิการด้านการดูแลสุขภาพจิตของพนักงานอย่างจริงจัง ช่วยให้พนักงานได้ขอคำปรึกษาจากผู้เชี่ยวชาญด้านการปรับสภาพจิตใจและการจัดการกับความเครียดได้ง่าย เช่น การมอบสวัสดิการให้พนักงานเข้าถึงบริการแบบ Telemedicine ในรูปแบบแอปพลิเคชัน ที่จะช่วยให้พนักงานสามารถปรึกษาจิตแพทย์และนักจิตบำบัดแบบออนไลน์ได้ทุกที่ทุกเวลา เพื่อหาทางจัดการความเครียด ภาวะหมดไฟ หรือปัญหาด้านสุขภาพจิตแบบอื่น ๆ ได้อย่างง่ายดาย โดยบริษัทช่วยรับภาระด้านค่าใช้จ่ายร่วมกับพนักงานในรูปแบบของการพ่วงประกันกลุ่มที่มีอยู่แล้วกับแอปพลิเคชันดังกล่าว
เพิ่มสวัสดิการ “ดูแลสุขภาพใจพนักงาน” สร้าง Emotional Engagement
ด้วยบริการดี ๆ “ปรึกษาจิตแพทย์ หรือนักจิตบำบัดออนไลน์ ผ่าน แอปฯ หมอดี”
ให้พนักงานของคุณเลือกปรึกษา จิตแพทย์ หรือนักจิตบำบัดออนไลน์ ได้แบบเป็นส่วนตัว ในวันเวลาที่สะดวก
ไม่ต้องรอคิวนาน ๆ ไม่ต้องไปโรงพยาบาล ใช้โค้ดบริษัท เคลมประกันกลุ่มพนักงานได้* ไม่ต้องสำรองจ่าย
สนใจ ติดต่อสอบถามเพิ่มเติมได้ที่ Line OA : @mordeeapp หรือ e-mail: apisara.k@chiiwii.com
รู้จัก แอปฯ หมอดี เพิ่มเติม คลิก >> https://mordeeapp.com/th/corporate
ดาวน์โหลดแอปฯ หมอดี คลิก >> https://mordee.app.link/mordee
#หมอดี #MorDee #หมอประจำบ้านในมือคุณ #TrueHEALTH
*เมื่อผูกสิทธิ์ประกัน OPD จากบริษัทที่เป็นพาร์ทเนอร์ เงื่อนไขการเคลมประกันเป็นไปตามที่แต่ละกรมธรรม์กำหนด